ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : รถสีขาว เก่าง่าย หมองไว จริงหรือ ?

14 มกราคม 2568 – ตามที่มีการแชร์ว่า รถยนต์ที่เป็นสีขาว สีจะหมอง เหลืองไว และดูเก่าง่ายกว่ารถสีอื่นนั้น บทสรุป : จริง แชร์ได้ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ดร. นภดล กลิ่นทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านยานยนต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สัมภาษณ์เมื่อ 16 ธันวาคม 2567  รถสีขาวจะดูเก่าและหมองง่ายกว่าสีอื่น ๆ เพราะอะไร ? เหตุผลที่รถสีขาวดูเก่าง่ายกว่า วิธีการดูแลรถสีขาว สรุป แม้ว่ารถสีขาวจะมีแนวโน้มที่จะดูเก่าและหมองง่ายกว่าสีอื่น ๆ แต่ก็สามารถดูแลรักษาให้สีรถดูใหม่และเงางามอยู่ได้ด้วยวิธีการที่ถูกต้อง หากคุณกำลังพิจารณาที่จะซื้อรถสีขาว ควรคำนึงถึงข้อดีข้อเสียของสีขาว และเลือกวิธีการดูแลรักษารถที่เหมาะสม  คำแนะนำเพิ่มเติม ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : หัวเชื้อน้ำมันเชื้อเพลิง เพิ่มสมรรถนะ ช่วยประหยัดน้ำมัน จริงหรือ ?

7 มกราคม 2568 – ตามที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับหัวเชื้อน้ำมันเชื้อเพลิงว่า เมื่อเติมแล้ว จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพกับเครื่องยนต์ และทำให้ประหยัดน้ำมันขึ้นได้นั้น  สรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ สุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ หัวเชื้อน้ำมันเชื้อเพลิง คืออะไร ? หัวเชื้อน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นสารเคมีที่เติมลงในน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือการเพิ่มค่าออกเทน เพิ่มการหล่อลื่น และทำความสะอาดเครื่องยนต์  ประสิทธิภาพของหัวเชื้อน้ำมันเชื้อเพลิง วิดีโอได้กล่าวถึงประสิทธิภาพของหัวเชื้อน้ำมันเชื้อเพลิงในด้านต่าง ๆ ดังนี้  ความเสี่ยงของการใช้หัวเชื้อน้ำมันเชื้อเพลิง วิดีโอได้กล่าวถึงความเสี่ยงของการใช้หัวเชื้อน้ำมันเชื้อเพลิงปลอม ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อเครื่องยนต์ได้ ข้อสรุป วิดีโอสรุปว่าประสิทธิภาพของหัวเชื้อน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของหัวเชื้อและความเหมาะสมกับเครื่องยนต์ของแต่ละบุคคล ผู้ขับขี่ควรเลือกใช้หัวเชื้อน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีคุณภาพและเหมาะสมกับเครื่องยนต์ของตนเอง และควรระมัดระวังในการเลือกซื้อหัวเชื้อน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อป้องกันการใช้หัวเชื้อปลอม สัมภาษณ์เมื่อ : 27 พฤศจิกายน 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check FACTSHEET : เตรียมรถยนต์เดินทางไกลช่วงเทศกาล (ตอนที่ 1)

24 ธันวาคม 2567 – บนสังคมออนไลน์มีข้อสงสัยว่า เมื่อต้องใช้รถยนต์เดินทางไกลในช่วงเทศกาล จะต้องเตรียม และตรวจเช็กสิ่งใดบ้าง เพื่อให้รถยนต์พร้อมใช้งาน ติดตามข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญใน ชัวร์ก่อนแชร์ MOTOR CHECK ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ คุณธนเทพ ธเนศนิรัตศัย (พี่จิมมี่) นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญด้านรถยนต์ และ Website Director www.Headlightmag.com สิ่งที่ต้องตรวจเช็คก่อนเดินทางไกลในช่วงเทศกาล: นอกจากนี้ พี่จิมมี่ยังแนะนำให้ตรวจเช็กส่วนอื่น ๆ ของรถยนต์เพิ่มเติม เช่น ระบบไฟส่องสว่าง ยางรถยนต์ และระบบเบรก เพื่อความปลอดภัยในการเดินทางในช่วงเทศกาลปีใหม่อีกด้วย ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : คลิปน้ำมันฉุกเฉิน จริงหรือ ?

17 ธันวาคม 2567 – ตามที่มีการแชร์คลิปแนะนำผู้ใช้รถยนต์ว่า เมื่อน้ำมันเชื้อเพลิงใกล้หมด ให้กดปุ่มไฟฉุกเฉินติดกันสามครั้ง จะมีน้ำมันเชื้อเพลิงฉุกเฉินเพิ่มระดับขึ้นมานั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌  ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ดร.นภดล กลิ่นทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านยานยนต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (สัมภาษณ์เมื่อ 16 ธันวาคม 2567) ดร.นภดล ซึ่งได้อธิบายว่า ระบบน้ำมันเชื้อเพลิงและระบบไฟฉุกเฉินเป็นคนละส่วนกันโดยสิ้นเชิง การกดไฟฉุกเฉินจะไม่ส่งผลใด ๆ ต่อระบบน้ำมันเชื้อเพลิง อันตรายจากการปล่อยให้น้ำมันใกล้หมดบ่อย ๆ ซึ่งอาจทำให้ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงสึกหรอและชำรุดได้ง่าย ลูกถังน้ำมันมีปัญหา และอาจเกิดหยดน้ำในถังน้ำมันได้ ดร.นภดล ได้แนะนำให้ผู้ขับรถยนต์ว่าให้ตรวจสอบระดับน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นประจำ เพื่อป้องกันไม่ให้รถยนต์หมดน้ำมันฉุกเฉิน และควรเติมน้ำมันให้เต็มถังทุกครั้งที่ไปปั๊มน้ำมัน ข้อควรระวัง หากรถยนต์ของคุณหมดน้ำมันฉุกเฉิน ควรโทรแจ้งศูนย์บริการรถยนต์เพื่อขอความช่วยเหลือ อย่าพยายามเติมน้ำมันเอง เพราะอาจเป็นอันตรายได้ ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check FACTSHEET : รู้จัก ระบบเบรกรถยนต์

19 พฤศจิกายน 2567 – บนสังคมออนไลน์มีข้อสงสัยเกี่ยวกับระบบเบรกของรถยนต์ว่า มีหน้าที่อย่างไร แบ่งเป็นกี่รูปแบบ และมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันอย่างไร ติดตามข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญใน ชัวร์ก่อนแชร์ MOTOR CHECK กับคุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ จากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ 🎯 ตรวจสอบกับ สุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ สัมภาษณ์เมื่อ : 25 ตุลาคม 2567 🔎 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : สิ่งที่สามารถใช้แทนน้ำยาล้างรถได้ จริงหรือ ?

12 พฤศจิกายน 2567 – บนสังคมออนไลน์มีการแชร์ สิ่งของที่สามารถใช้แทนน้ำยาล้างรถได้ เช่น น้ำยาล้างจาน และ แชมพูสระผม เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามได้ใน ซีรีส์ ชัวร์ก่อนแชร์ มอเตอร์เช็ก กับคุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ จากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.ดร ณัฐชา เพ็ชร์ยิ้ม อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเคมีและวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สิ่งของที่ใช้แทนน้ำยาล้างรถได้ (แต่ไม่ควรใช้บ่อย) คำแนะนำ ข้อควรระวัง สัมภาษณ์เมื่อ 17 กันยายน 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : อาการบอกคลัตช์เริ่มเสื่อมสภาพ จริงหรือ ?

10 กันยายน 2567 – ตามที่มีการแชร์อาการที่บอกว่า คลัตช์ของรถยนต์เริ่มเสื่อมสภาพแล้ว เช่น คลัตช์ลื่น และ เปลี่ยนเกียร์ยากขึ้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ สุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ คลัตซ์ใกล้เสีย อาการที่ 1 คลัตซ์ลึกขึ้น จริงหรือ ? อาการคลัตซ์ลึกขึ้น เกิดจากการเสื่อมสภาพของระบบการทำงานของคลัตซ์ บางครั้งไม่ใช่ผ้าคลัตซ์หมด แต่อาจจะเกิดจากระบบไฮดรอลิค (Hydraulic)  ก็ได้ คลัตซ์ใกล้เสีย อาการที่ 2 เข้าเกียร์ยากขึ้น จริงหรือ ? คลัตช์คืออุปกรณ์ที่ทำงานควบคู่ไปกับเกียร์ การเปลี่ยนเกียร์จะต้องทำไปพร้อม ๆ กับการเหยียบคลัตช์เพื่อตัดกำลังจากเครื่องยนต์เข้าสู่เกียร์ ซึ่งหากระบบคลัตช์มีปัญหาก็จะทำให้การตัดกำลังทำได้ยาก ส่งผลให้เข้าเกียร์ยากหรือมีช่วงสะดุดในระหว่างการปรับเกียร์ได้ คลัตซ์ใกล้เสีย อาการที่ 3 ครัตซ์ลื่น จริงหรือ ? เป็นอาการเริ่มต้นก่อนคลัตซ์จะหมด อาการคลัตซ์ลื่นสามารถเกิดได้ 2 กรณี คือ 1. […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check FACTSHEET : รู้จัก และเข้าใจ “น้ำมันดีเซล”

13 สิงหาคม 2567 – บนสังคมออนไลน์มีข้อสงสัยเกี่ยวน้ำมันดีเซลว่า มีที่มาอย่างไร มีกี่รูปแบบ เลือกใช้ให้เหมาะสมอย่างไร ติดตามข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ สุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ เครื่องยนต์ดีเซลทำงานอย่างไร ? หลักการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล จะอาศัยการจุดระเบิดโดยหลักการอัดอากาศ และฉีดเชื้อเพลิงด้วยความดันสูงจนเชื้อเพลิงนั้นสามารถติดไฟได้  โดยมีเลขซีเทนเป็นตัวเลขที่ใช้บอกคุณภาพของน้ำมันดีเซล โดยบ่งบอกถึงคุณสมบัติการจุดติดของเชื้อเพลิงภายในเครื่องยนต์ ปัจจุบันน้ำมันดีเซลในประเทศ มี 3 ประเภทด้วยกัน   แต่ละประเภทมีคุณภาพเหมือนกัน แต่มีความแตกต่างกันที่สัดส่วนผสมไบโอดีเซล ดังนี้  1. น้ำมันดีเซล B7 ดีเซล B7 จะเป็นน้ำมันดีเซลทั่วไป มีสัดส่วนน้ำมันไบโอดีเซลประมาณ  7%  ส่วนที่เหลือเป็นน้ำมันดีเซล ปัจจุบันน้ำมันดีเซล B7 ยังคงมีจำหน่ายอยู่ 2. น้ำมันดีเซล B20 ดีเซล B20 มีสัดส่วนของไบโอดีเซล 20% และดีเซล 80% ซึ่งในปัจจุบันเป็นน้ำมันทางเลือกสำหรับรถบรรทุกขนาดใหญ่ รถโดยสารสาธารณะ ผลกระทบจากการใช้ดีเซล B20 2.1 เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องไวขึ้น รวมไปถึงไส้กรองน้ำมัน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check FACTSHEET : รู้จัก และเข้าใจ “เกียร์ออโต้” ของรถยนต์

11 มิถุนายน 2567 – บนสังคมออนไลน์มีข้อสงสัยเกี่ยวกับเกียร์ออโต้ของรถยนต์ว่า แตกต่างจากเกียร์ธรรมดาอย่างไร ทำหน้าที่อะไร และแบ่งออกเป็นกี่ประเภท ติดตามข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญใน ชัวร์ก่อนแชร์ MOTOR CHECK รู้จัก และเข้าใจ “เกียร์ออโต้” ของรถยนต์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ดร. นภดล กลิ่นทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านยานยนต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สัมภาษณ์เมื่อ : 30 เมษายน 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย ซ ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : สาเหตุเครื่องยนต์สั่น กระตุก จริงหรือ ?

21 พฤษภาคม 2567 – บนสังคมออนไลน์มีการแชร์สาเหตุที่ทำให้เครื่องยนต์สั่น กระตุก และรอบเครื่องยนต์ไม่นิ่งเช่น หัวฉีดสกปรก และ คอยล์จุดระเบิดเสื่อมสภาพ บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ สุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ สัมภาษณ์เมื่อ 20 พฤษภาคม 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : สิ่งที่ควรทำเมื่อจอดรถตากแดด จริงหรือ ?

14 พฤษภาคม 2567 – บนสังคมออนไลน์มีการแชร์ข้อแนะนำเมื่อต้องจอดรถตากแดดเป็นเวลานาน ๆ เช่น หมั่นล้างและเคลือบสีรถ และ ใช้ม่านบังแดดปิดกระจกไว้ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ธนเทพ ธเนศนิรัตศัย นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญด้านรถยนต์ และ Website Director www.Headlightmag.com สัมภาษณ์เมื่อ 29 เมษายน 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : สาเหตุ “รถกินยาง” ยางรถยนต์สึกไม่เท่ากัน จริงหรือ ?

7 พฤษภาคม 2567 – บนสังคมออนไลน์มีการแชร์สาเหตุที่ทำให้ยางของรถยนต์สึกไม่เท่ากัน หรือที่เรียกว่าอาการ “รถกินยาง” เช่น ช่วงล่างหลวม เสื่อมสภาพ และ ศูนย์ล้อของรถยนต์ไม่ตรง บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ดร.นภดล กลิ่นทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านยานยนต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สัมภาษณ์เมื่อ 30 เมษายน 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์

1 2
...