จุฬาฯ เตรียมทดสอบวัคซีน ChulaCov19 ในอาสาสมัคร

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เตรียมทดสอบวัคซีน ChulaCov19 ในอาสาสมัคร ปลายเดือน เม.ย. หรือต้นเดือน พ.ค. หลังทดสอบในลิงเมื่อปีที่แล้วสร้างภูมิคุ้มกันได้ดี

คลัสเตอร์จุฬาฯ ติดโควิด-19 รวม 22 ราย ยังคุมได้

โฆษก กทม. เผยคลัสเตอร์จุฬาฯ พบผู้ติดโควิด-19 รวม 22 ราย ตรวจพบเชื้อบริเวณเครื่องสแกนนิ้วมือของ รปภ. สถานการณ์โดยรวมยังควบคุมได้

จุฬาฯ ปิดชั่วคราว 12-28 ก.พ. ลดการแพร่ระบาดโควิด-19

จุฬาฯ ประกาศปิดทำการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 12-28 ก.พ. 64 หลังบุคลากรติดโควิด-19 ให้จัดการเรียนการสอนออนไลน์แทน ลดการแพร่ระบาด

ผลวิจัยพบ “แสมทะเล” แก้ปัญหาผมร่วง-ศีรษะล้าน

พาไปดูผลงานวิจัยจากจุฬาฯ ที่ค้นพบสารจากแสมทะเลที่อยู่ตามป่าชายเลน และนับเป็นครั้งแรกที่มีการศึกษาวิจัยพบสารนี้จากแสมทะเล ช่วยเรื่องแก้ปัญหาผมหลุดร่วงได้

จุฬาฯ พบสูตรพิชิตผมร่วงจาก “แสมทะเล”

คณะเภสัชฯ จุฬาฯ พบสูตรพิชิตผมร่วงจาก “แสมทะเล” วช. ยืนยันผลงานสุดล้ำ รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ระดับดีมาก ปี 2564 คาดจะออกสู่ตลาดภายในปีนี้

ทดลองฉีดวัคซีนโควิดของไทย เฟสแรกหลังสงกรานต์

จุฬาฯ เตรียมทดลองฉีดวัคซีนโควิด-19 ของไทย ในอาสาสมัครเฟสแรกหลังสงกรานต์ ขณะวัคซีนที่ผลิตในไทยคาดแล้วเสร็จภายในปลายปีนี้ ย้ำโรคโควิด-19 น่ากลัวกว่าการฉีดวัคซีน

รับบริจาคทุนวิจัยวัคซีนโควิด-19 จากใบยาสูบ

กรุงเทพฯ 14 ธ.ค. – วันนี้ ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการเปิดตัวโครงการ “วัคซีนเพื่อคนไทย” ขอรับบริจาคจากคนไทย 5 ล้านคน คนละ 500 บาท เพื่อนำมาใช้เป็นทุนวิจัยวัคซีนโควิด-19 จากใบยาสูบ ผลงานจากบริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด สตาร์ทอัพจากคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งขณะนี้เตรียมนำไปทดลองในคน กลางปีหน้า หลังทดลองในสัตว์ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ. – สำนักข่าวไทย

“อนุทิน”เผยจุฬาฯร่วมด้วยกัญชาทางการแพทย์

กรุงเทพฯ 30 พ.ย.-รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ตัดดอกกัญชาที่จุฬาฯ ร่วมด้วยปลูกเพื่อใช้ทางการแพทย์ ปลอดภัยได้มาตรฐาน ไร้สารตกค้าง มุ่งถ่ายทอดความรู้สู่ประชาชน วันนี้ (30 พ.ย.) ที่ศูนย์วิจัยยาเสพติด โครงการพัฒนาที่ดินจุฬา-สระบุรี จ.สระบุรี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า การพัฒนากัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์เป็นนโยบายสำคัญของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้ผู้ป่วยมีทางเลือกในการรักษา รวมถึงสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจและสร้างรายได้ให้กับประชาชน การที่วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้พัฒนาสายพันธุ์ไทย พัฒนาการปลูกในรูปแบบชีวภาพ ตั้งแต่การผสมดิน ปุ๋ย เพาะเมล็ด การไล่แมลง การลดสารปนเปื้อนทั้งในดินและในต้น ให้ได้สารสำคัญจากกัญชาที่ปลอดภัยนำไปรักษาโรค และเพื่อนำองค์ความรู้ในการปลูก วิจัยพัฒนาสายพันธุ์ไปถ่ายทอดไปยังประชาชน ยังช่วยผลักดันนโยบายกระทรวงสาธารณสุขและช่วยสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนว่ากัญชาสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ได้จริง นายอนุทิน กล่าวต่อว่า กัญชาที่ทางจุฬาฯ นำมาปลูกนั้นเป็นกัญชาสายพันธุ์ไทยจาก 9 จังหวัดได้แก่ เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ สกลนคร มุกดาหาร นครราชสีมา เพชรบุรี นครศรีธรรมราช และตรัง ที่นักวิชาการได้ลงพื้นมาศึกษาวิจัยโดยได้รับความร่วมมือจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ในการเก็บเมล็ดและลำต้น และสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ พบว่ามีอยู่ 6 […]

จุฬาฯ พร้อมระดมทุกฝ่าย คลี่ปมความเห็นต่าง

กรุงเทพฯ 28 ส.ค.-จุฬาฯ พร้อมคลี่ปมความเห็นต่าง ระดมวิชาการและข้อเท็จจริง พร้อมรับฟังความเห็นที่หลากหลาย เปิดพื้นที่เสรีภาพ มุ่งหน้าส่งเสริมการสร้างปัญญาสาธารณะในการแก้ปัญหาสังคม เพจเฟซบุ๊ก Chulalongkorn University โพสต์เรื่องจุฬาฯ พร้อมคลี่ปมความเห็นต่าง พร้อมแชร์ข่าวจาก CHULA.AC.TH โดยมีรายละเอียดว่าจากปัญหาข้อขัดแย้งในด้านความเห็นทางการเมืองที่เกิดขึ้น ศาสตราจารย์ (กิตติคุณ) สุริชัย หวันแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เห็นความสำคัญของการคลี่คลายปมเงื่อนของความแตกต่างขัดแย้งด้วยหลักความบริสุทธิ์ใจ และใช้ข้อมูลความรู้ในการแก้ปัญหาโดยอยู่บนพื้นฐานความรับผิดชอบต่อสังคม โดยตระหนักว่าปัจจุบันสังคมไทยเผชิญกับสิ่งท้าทายรอบด้าน ดังนั้นจึงต้องการให้การทำกิจกรรมในมหาวิทยาลัยมีส่วนช่วยในการตอบโจทย์ของสังคมและสาธารณะโดยสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญและหลักนิติธรรม ทั้งนี้จากการประชุมเพื่อหาแนวทางดำเนินการเกี่ยวกับกิจกรรมการแสดงออกและการใช้สิทธิเสรีภาพของชาวจุฬาฯ ได้ข้อสรุปเชิงหลักการว่า 1.การยอมรับความหลากหลายทางความคิดและการสร้างความเชื่อมั่น ไว้วางใจต่อกันเป็นเงื่อนไขสำคัญของการย่างก้าวสู่อนาคตของการอยู่ร่วมกัน 2.ความขัดแย้งไม่ใช่ปัญหาแต่ประเด็นปัญหาคือ การทำให้ความแตกต่างขัดแย้งกลายเป็นความรุนแรง ดังนั้นการแก้ไขจึงไม่ควรอาศัยแต่เครื่องมืออำนาจและระเบียบบังคับแต่อย่างเดียว หากต้องใช้เครื่องมือที่สามารถเพิ่มพูนสมรรถภาพในการแก้ปัญหาร่วมกัน 3.การตัดสินกันด้วยความชอบ-ไม่ชอบ เพราะคิดเห็นต่างกันและการสร้างความเกลียดชังต่อกัน สามารถเป็นปัจจัยทำให้เกิดความรุนแรงและนำสังคมไปสู่ทางตันได้ ดังนั้น ต้องคลี่คลายปมความเห็นต่างด้วยการขยายความรู้ความเข้าใจร่วมกัน การพิจารณาประเด็น เช่น ช่องว่างระหว่างรุ่นอายุและความแตกต่างในการให้คุณค่านั้นจำต้องใช้วิชาการรวมถึงสหวิชาการจึงจะสามารถคลี่คลายปมปัญหาได้ ในส่วนของแนวทางการดำเนินการอาจแบ่งออกเป็น 3 ระยะดังนี้ ระยะสั้น การสร้างความเชื่อมั่นไว้วางใจในการแลกเปลี่ยนเพื่ออนาคตด้วยบรรยากาศเปิดกว้างในการรับฟังความคิดเห็นและหารือกันเกี่ยวกับกติกาและเสรีภาพในการแสดงออกในมหาวิทยาลัยจากภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งคณาจารย์ นิสิตและนิสิตเก่าในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น เวทีเสวนา การระดมความคิด […]

ห้องปฏิบัติการทดสอบชุด PPE สู้ภัยโควิด-19

ห้องปฏิบัติการของคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ตอนนี้สามารถทดสอบประสิทธิภาพชุด PPE สำหรับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ ที่ใช้รับมือกับโรคโควิด-19 และยังสามารถผลิตชุดที่ได้มาตรฐานสากลภายในประเทศได้แล้ว

จุฬาฯ เดินหน้าทดสอบวัคซีนโควิด-19 ในคน ต.ค.นี้

ทีมพัฒนาวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เผยความก้าวหน้าของการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA ซึ่งทดสอบในลิงได้ผลดี สัปดาห์หน้าเตรียมส่งวัคซีนให้โรงงานผลิตลอตแรก 10,000 โดส ก่อนเริ่มทดสอบในคน เดือน ต.ค.นี้

จุฬาฯ ค้นพบ “กะท่างน้ำดอยภูคา” กะท่างชนิดใหม่ของโลก

จุฬาฯเผยแพร่ภาพการค้นพบ “กะท่างน้ำดอยภูคา” กะท่างน้ำชนิดใหม่ของโลก จากอุทยานแห่งชาติดอยภูคา จ.น่าน ตัวชี้วัดสุขภาพป่าที่สมบูรณ์และไร้สารเคมีปนเปื้อน

1 2 3 4 5 6 8
...