ชัวร์ก่อนแชร์ : Cyber Resilience สู้ภัยไซเบอร์ ด้วยการพร้อม “เจอ”

ในยุคที่ภัยไซเบอร์สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา “การป้องกัน” เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ Cyber Resilience ซึ่งเน้นการพร้อมเผชิญ รับมือ และฟื้นตัว จึงเป็นแนวทางสำคัญในการรับมือ เพราะสิ่งที่สำคัญไม่ใช่เพียงการหลีกเลี่ยง แต่คือความพร้อมในการรับมือเมื่อต้องเผชิญหน้ากับภัยไซเบอร์ เหตุสัญญาณโทรศัพท์มือถือของผู้ให้บริการรายใหญ่ในประเทศไทยขัดข้อง เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2568 ถือเป็นบทเรียนสำคัญที่สะท้อนให้เห็นว่า ภัยคุกคามทางไซเบอร์ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป และไม่จำเป็นต้องเป็นการถูกโจมตีโดยตรงเท่านั้น แต่การที่เราไม่สามารถเข้าใช้งานได้ ก็เป็นอีกหนึ่งรูปแบบภัยไซเบอร์ได้เช่นกัน แนวคิดด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ จำแนกรูปแบบการดูแลความมั่นคงปลอดภัยไว้ 3 ด้าน รู้จักกันว่า “สามเหลี่ยม C-I-A” ซึ่งหมายถึง C-Confidentiality (การคงความลับ) I-Integrity (การคงความเที่ยงตรง) และ A-Availability (การคงความสามารถในการเข้าถึง) ดังนั้น การที่จู่ ๆ สัญญาณมือถือหายไป จึงนับเป็นอีกหนึ่งรูปแบบภัยทางไซเบอร์ที่เราต้องเตรียมตัว “เจอ” ไว้เช่นกัน แค่ Cyber Security อาจไม่พอ ต้องมี Cyber Resilience ร่วมด้วยแนวคิด Cyber Resilience จึงเกิดขึ้น เพราะแนวโน้มภัยในโลกยุคนี้มีความรุนแรงและไม่แน่นอน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : CYBER RESILIENCE ? — ทักษะสำคัญ เพื่อความปลอดภัยทางไซเบอร์

27 พฤษภาคม 2566 สิ่งนี้…สร้างภูมิต้านทานภัยคุกคามทางไซเบอร์ สิ่งนี้…มีความสำคัญกับสภาวะไซเบอร์ในปัจจุบันเป็นอย่างมาก และสิ่งนี้…ช่วยยกระดับประสิทธิภาพความปลอดภัยขององค์กรให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับ อาจารย์ปริญญา หอมเอนก ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัย ความหมายของ CYBER RESILIENCE CYBER RESILIENCE หมายถึง ความสามารถในการยืดหยุ่น การเตรียมตัว รับมือ กู้คืน และการตอบสนองจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ เป้าหมายของ CYBER RESILIENCE ในปัจจุบันการโจมตีทางไซเบอร์เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และสร้างความเสียหายได้มหาศาล  CYBER RESILIENCE จึงเปรียบเสมือนภูมิคุ้มกัน เพื่อเตรียมพร้อมป้องกันและรับมือกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น ดังนั้นเราจึงเล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาของการนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้เกิดการเตรียมพร้อม การรู้ทัน และสร้างเกราะป้องกันที่ดีขึ้น เพื่อรับมือภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น อาจารย์ปริญญาแนะนำแนวคิดมาปรับใช้ ดังนี้ “ปัจจุบันมีการใช้จ่ายผ่านออนไลน์มากขึ้น การใช้บัญชีเดียว บัตรเดียว มีความเสี่ยงในการถูกแฮกเงินได้ ดังนั้นจึงควรมีวิธีป้องกันเกี่ยวกับการผูกบัญชีกับแอปฯ ซื้อของออนไลน์ เช่น เราอาจจะมีบัญชีธนาคารที่มีเงินน้อย ๆ ใช้ทำธุรกรรมออนไลน์แทนบัญชีหลัก” สัมภาษณ์เมื่อ : 7 เมษายน 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย […]

...