ผลศึกษา BA.2 ไม่หลบภูมิวัคซีน เอาอยู่ แต่ควร 3 เข็มขึ้นไป

กรมวิทย์ฯ ยันรับวัคซีน 3 เข็ม สร้างภูมิคุ้มกัน ลดความรุนแรง โชว์ผลการศึกษาภูมิคุ้มกันพบว่า BA.2 ไม่หลบภูมิวัคซีน จึงเป็นสาเหตุให้คนติดเชื้อไม่ป่วยหนัก ไม่แสดงอาการ แต่ยังแพร่เชื้อได้ หากรับวัคซีนแค่ 2 เข็ม นานเกิน 1 เดือนต้องรับเข็มกระตุ้น หรือ เข็ม 3

ที่ปรึกษาโควิดญี่ปุ่นแนะควรลดเวลากักโรค

โตเกียว 20 ก.พ.- ที่ปรึกษาเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ของญี่ปุ่นแนะนำว่า ถึงเวลาที่จะต้องเริ่มพิจารณาเรื่องลดระยะเวลากักโรคสำหรับผู้ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ นายชิเงรุ โอมิ ประธานองค์กรการดูแลสุขภาพชุมชนญี่ปุ่น ในฐานะรองประธานคณะผู้เชี่ยวชาญของรัฐบาลเรื่องการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในญี่ปุ่น ให้สัมภาษณ์รายการโทรทัศน์ของบรรษัทกระจายเสียงและแพร่ภาพญี่ปุ่นหรือเอ็นเอชเค (NHK) ว่า ควรลดระยะเวลากักโรคผู้ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อลงจาก 7 วันสำหรับคนทั่วไป และ 5 วันสำหรับคนทำงานจำเป็น เนื่องจากเป็นที่ทราบกันว่าเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอไมครอนมีระยะเวลาฟักตัวสั้นกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้านี้ จึงควรเริ่มหารือเรื่องลดระยะเวลากักโรคลงเพื่อให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น อย่างไรก็ดี นายโตชิโอะ นากางาวะ ประธานสมาคมแพทย์ญี่ปุ่นเตือนในรายการเดียวกันว่า สถานการณ์การระบาดยังไม่ดีนัก เพราะมีความเป็นไปได้สูงว่า กำลังมีการติดเชื้อในชุมชนเพิ่มขึ้นจากเชื้อไวรัสสายพันธุ์ย่อยของโอไมครอนที่เรียกว่า BA.2 และสามารถแพร่ได้เร็วกว่าโอไมครอน นายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะของญี่ปุ่นเผยเมื่อวันพฤหัสบดีว่า รัฐบาลจะเริ่มผ่อนคลายมาตรการควบคุมพรมแดนตั้งแต่เดือนมีนาคม ด้วยการเพิ่มจำนวนคนเข้าประเทศเป็นสูงสุดวันละ 5,000 คน จากที่จำกัดไว้ที่ 3,500 คนตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายนปีก่อน และลดระยะเวลากักโรคทั้งชาวญี่ปุ่นและชาวต่างชาติลงจาก 7 วันเหลือ 3 วัน หลังจากถูกแวดวงธุรกิจและวิชาการวิจารณ์ว่าเข้มงวดเกินความจำเป็น รัฐบาลเพิ่งขยายมาตรการกึ่งฉุกเฉินใน 17 จังหวัด ไปจนถึงวันที่ 6 มีนาคม ส่วนเมื่อวานนี้พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ […]

อนามัยโลกพบโอไมครอน BA.2 ระบาด 57 ประเทศแล้ว

เจนีวา 2 ก.พ. – องค์การอนามัยโลกระบุว่า พบการระบาดของเชื้อโควิดโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 ใน 57 ประเทศทั่วโลก โดยมีผลวิจัยบางส่วนชี้ว่า สายพันธุ์ย่อยดังกล่าวอาจแพร่ระบาดได้รวดเร็วขึ้นกว่าเชื้อโอไมครอนดั้งเดิม องค์การอนามัยโลกระบุในรายงานอัปเดตสถานการณ์ด้านระบาดวิทยารายสัปดาห์เมื่อวันอังคารตามเวลาท้องถิ่นว่า พบการระบาดของเชื้อโอไมครอนเป็นสัดส่วนสูงกว่าร้อยละ 93 จากกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยติดเชื้อทั้งหมดในเดือนมกราคม และพบสายพันธุ์ย่อยของเชื้อโควิดโอไมครอน 4 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ย่อย BA.1, BA.1.1, BA.2 และ BA.3 ทั้งยังระบุว่า สายพันธุ์ย่อย BA.1 และ BA.1.1 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่พบครั้งแรก ยังคงครองสัดส่วนการระบาดสูงกว่าร้อยละ 96 จากกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยติดเชื้อโอไมครอนทั้งหมดในระบบฐานข้อมูลกลางโควิดโลก (GISAID) รายงานดังกล่าวยังระบุว่า พบตัวเลขผู้ป่วยติดเชื้อโควิดสายพันธุ์ย่อย BA.2 เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด สายพันธุ์นี้มีการกลายพันธุ์ที่แตกต่างไปจากเชื้อโอไมครอนดั้งเดิม เช่น หนามโปรตีนที่อยู่บนพื้นผิวของเชื้อไวรัสที่เป็นกุญแจสำคัญในการเข้าสู่เซลล์ของมนุษย์ โดยพบการระบาดของเชื้อ BA.2 ใน 57 ประเทศแล้ว นอกจากนี้ ในบางประเทศยังพบการระบาดของเชื้อดังกล่าวเกินกว่าครึ่งหนึ่งของสายพันธุ์ย่อยโอไมครอนทั้งหมดรวมกัน องค์การอนามัยโลกระบุว่า ขณะนี้ยังมีข้อมูลเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับความแตกต่างของเชื้อโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย และเรียกร้องให้ทั่วโลกเร่งศึกษาวิจัยเกี่ยวกับลักษณะต่าง ๆ ของเชื้อเหล่านี้ […]

...