ออสเตรเลียพัฒนาวัคซีนโควิดแบบแผ่นแปะ

บริสเบน 30 ต.ค.- คณะนักวิจัยในออสเตรเลียพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 แบบแผ่นแปะ ผลการทดลองกับหนูให้ผลน่าพอใจ วารสาร Science Advances เผยแพร่ผลการทดลองนำแผ่นแปะขนาด 1 ตารางเซนติเมตรที่เต็มไปด้วยหนามเชื้อไวรัสโคโรนาที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าและถูกเคลือบด้วยวัคซีนซับยูนิตที่อยู่ระหว่างการทดลองจำนวนมากกว่า 5,000 หนาม ไปติดบนตัวหนูเป็นเวลา 2 นาทีพบว่า หนูที่รับวัคซีนแบบแผ่นแปะครบ 2 โดส มีระดับแอนติบอดีต่อสู้กับเชื้อโรคสูงกว่าหนูที่รับวัคซีนแบบฉีดครบ 2 โดส รวมทั้งแอนติบอดีในปอดที่จะหยุดยั้งเชื้อลงปอดด้วย อีกทั้งยังพบว่า หนูที่รับวัคซีนแบบแผ่นแปะเพียงโดสเดียวที่เพิ่มสารกระตุ้นภูมิต้านทานก็ไม่มีอาการป่วยแม้แต่น้อย นักวิจัยของมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ที่ทำการทดลองนี้อธิบายว่า วัคซีนแบบฉีดส่วนใหญ่ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ซึ่งไม่มีเซลล์ภูมิต้านทานมากพอจะตอบสนองต่อวัคซีน ขณะที่วัคซีนแบบแผ่นแปะมีหนามเชื้อไวรัสที่ไปทำให้ผิวหนังตายเฉพาะจุด จึงกระตุ้นให้ภูมิต้านของร่างกายตอบสนอง เตรียมทดลองกับคนในเดือนเมษายนปีหน้า หากได้ผลดีก็จะเป็นประโยชน์อย่างมาก เพราะนอกจากเหมาะสำหรับคนกลัวเข็มแล้ว ยังเก็บรักษาง่าย อยู่ได้นาน 30 วันที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส 7 วันที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส และไม่ต้องอาศัยบุคลากรทางการแพทย์ที่ผ่านการฝึกฝนเป็นพิเศษ.-สำนักข่าวไทย

อย.เตือนอย่าซื้อ “แผ่นแปะ” อ้างรักษาเบาหวาน

อย.21 ก.ย.-อย.เตือน ผู้บริโภคอย่าซื้อผลิตภัณฑ์แผ่นแปะ DiaRemedium โฆษณาเกินจริงทางเว็บไซต์ อ้างรักษาโรคเบาหวาน สั่งระงับโฆษณาและดำเนินคดีตามกฎหมายแล้ว เภสัชกรหญิงสุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคให้ตรวจสอบโฆษณาผลิตภัณฑ์ DiaRemedium ทางเว็บไซต์ https://th-reviews.com/diaremedium/ และ http://www.diaremediumasia.com/th_official_a1/พบภาพผลิตภัณฑ์ และข้อความโฆษณา เช่น ผลิตภัณฑ์แผ่นแปะป้องกันโรคเบาหวาน ไม่จำเป็นต้องฉีดอินซูลีนอีกต่อไป…อาการโรคเบาหวานทั้งหมดหายไป ไม่มีผลข้างเคียงจากการใช้ เป็นต้น พร้อมปรากฏข้อความแนะนำจากแพทย์ ระบุชื่อ สุพจน์ เวชชาญชัย เมื่อตรวจสอบจากฐานข้อมูลแพทยสภาแล้ว ไม่ปรากฏข้อมูลแพทย์ในชื่อดังกล่าว จึงประสานงานกระทรวง ดิจิตัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ดำเนินการระงับเว็บไซต์ดังกล่าวแล้ว ซึ่งผลิตภัณฑ์แผ่นแปะ DiaRemedium ยังไม่ได้รับอนุญาต จาก อย. แต่อย่างใด รองเลขาธิการ อย.กล่าวต่อไปว่า ขอให้ผู้บริโภครู้เท่าทันการโฆษณาผลิตภัณฑ์รักษาโรคเรื้อรังต่าง ๆ ผู้ประกอบการ มักอ้างบุคลากรทางการแพทย์ หรือการรีวิวของผู้ใช้ว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าว สามารถรักษาโรคได้จริง โดยไม่ต้องพึ่งยาหรือการรักษา ทำให้ผลิตภัณฑ์ดูน่าเชื่อถือ หากหลงเชื่อซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมาใช้ อาจทำให้โรคที่เป็นอยู่มีความรุนแรงขึ้น ดังนั้น ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง ก่อนซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพสามารถตรวจสอบข้อมูลการอนุญาตผลิตภัณฑ์ […]

...