fbpx

โลกร้อนขึ้นเกือบแตะขีดจำกัดแล้ว

ปารีส 5 ต.ค.- อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกช่วง 9 เดือนแรกของปี 2566 สูงกว่าช่วงก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม 1.4 องศาเซลเซียส ใกล้แตะขีดจำกัดที่นานาชาติกำหนดไว้ไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส โคเปอร์นิคัส ไคลเมต เชนจ์ เซอร์วิซ (C3S) ซี่งเป็นองค์กรติดตามตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหภาพยุโรปเผยแพร่รายงานวันนี้ว่า อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงเดือนกันยายน 2566 สูงขึ้น 1.4 องศาเซลเซียสจากช่วงปี 2392-2443 ซึ่งเป็นช่วงก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม และเกือบถึงระดับที่กำหนดไว้ใน “ความตกลงปารีส 2561 ” ไม่ให้สูงขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นระดับที่จำเป็นต่อการหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดผลหายนะที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปรากฎการณ์เอลนีโญที่ทำให้น้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้มีอุณหภูมิสูงขึ้นและทำให้อากาศร้อนขึ้นมีแนวโน้มจะทำให้ปี 2566 เป็นปีที่ร้อนที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกมาในอีก 3 เดือนข้างหน้า นักวิทยาศาสตร์คาดว่า โลกจะรู้สึกได้ถึงผลร้ายแรงที่สุดของเอลนีโญที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ในช่วงสิ้นปี 2566 ไปจนถึงปี 2567 นักวิทยาศาสต์ของยุโรปและญี่ปุ่นเพิ่งรายงานว่า เดือนกันยายนที่ผ่านมาเป็นเดือนกันยายนที่มีอุณหภูมิสูงที่สุดในประวัติศาสตร์  หลังจากเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดมากกว่าทุกเดือนเท่าที่ได้บันทึกมา ส่งผลให้สภาพอากาศเอื้อต่อการเกิดภัยธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็น คลื่นความร้อน ไฟป่า และน้ำท่วมรุนแรง.-สำนักข่าวไทย

กรีซเผชิญคลื่นความร้อนระลอกใหม่ขณะไฟป่ายังรุนแรง

กรีซเตรียมตัวเผชิญคลื่นความร้อนระลอกใหม่ในวันนี้ ในขณะที่ไฟป่ายังคงเผาผลาญเกาะ 2 แห่งที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

3 ก.ค. เป็นวันที่โลกร้อนเป็นประวัติการณ์

ปารีส 5 ก.ค.- ข้อมูลการวัดเบื้องต้นของนักอุตุนิยมวิทยาสหรัฐชี้ว่า วันที่ 3 กรกฎาคมที่ผ่านมาเป็นวันที่โลกร้อนที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกมา เนื่องจากมีอุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิเฉลี่ยที่ 17 องศาเซลเซียสเป็นครั้งแรก ศูนย์เพื่อการทำนายสภาพแวดล้อมแห่งชาติ สังกัดสำนักงานบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติหรือโนอา (NOAA) ของสหรัฐเผยว่า อุณหภูมิอากาศบนพื้นผิวโลกรายวันเฉลี่ยเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2566 อยู่ที่ 17.01 องศาเซลเซียส ลบสถิติ 16.92 องศาเซลเซียสเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2565 จึงถือว่าสูงที่สุดนับตั้งแต่เริ่มการเก็บบันทึกข้อมูลในปี 2522 อย่างไรก็ดี ตัวเลขอุณหภูมินี้ยังไม่ได้รับการยืนยันด้วยการวัดอื่น ๆ ปกติแล้วอุณหภูมิโลกเฉลี่ยมักจะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคมหรือต้นเดือนสิงหาคม แต่เมื่อต้นเดือนมิถุนายนปีนี้ สำนักงานบริการเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโคเปอร์นิคัสของสหภาพยุโรปหรืออียูระบุว่า อุณหภูมิโลกเฉลี่ยถือว่าสูงที่สุดเท่าที่มีการบันทึกมา องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกยืนยันเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคมว่า ปรากฏการณ์สภาพอากาศเอลนีโญเริ่มเกิดขึ้นแล้วในมหาสมุทรแปซิฟิก และน่าจะทำให้อุณหภูมิโลกเฉลี่ยเดินหน้าสูงขึ้นต่อเนื่องในปี 2567 ขณะที่การทำกิจกรรมของมนุษย์จะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ทำให้โลกร้อนราวปีละ 40,000 ตัน ต่อไป ส่วนใหญ่เป็นการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิล.-สำนักข่าวไทย

โลกร้อนขึ้น 0.2 องศาเซลเซียสในช่วง 10 ปี

ปารีส 8 มิ.ย.- กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำเตือนว่า การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มากเป็นประวัติการณ์ และปริมาณมลภาวะทางอากาศที่ลดลง ได้กลายเป็นปัจจัยเร่งให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น 0.2 องศาเซลเซียสในช่วงปี 2556-2565 กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำ 50 คน ระบุในรายงานด้านสภาพภูมิอากาศฉบับปรับปรุงที่เผยแพร่ในวารสารเอิร์ธ ซิสเต็ม ไซเอินซ์ ดาตา (Earth System Science Data) ว่า ช่วงเวลาดังกล่าวมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเป็นประวัติการณ์เฉลี่ยปีละ 54,000 ล้านตัน หรือคิดเป็นวินาทีละ 1,700 ตัน แม้โลกยังไม่ร้อนขึ้น 1.5 องศาเซลเซียสจากช่วงก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่โลกจะปลอดภัยตามที่กำหนดไว้ในข้อตกลงปารีสปี 2558 แต่ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่มนุษย์จะปล่อยได้สูงสุดหรือคาร์บอนบัดเจ็ต (carbon budget) มีวี่แววว่าจะหมดสิ้นไปในอีกไม่กี่ปี เพราะได้หมดไปแล้วครึ่งหนึ่ง นับจากคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือไอพีซีซี (IPCC) เริ่มเก็บข้อมูลสำหรับการจัดทำรายงานปี 2564 รายงานของกลุ่มนักวิทยาศาสตร์พบข้อมูลใหม่ว่า ความสำเร็จด้านสภาพภูมิอากาศอย่างหนึ่งในช่วงทศวรรษที่ผ่านมากลับกลายเป็นปัจจัยเร่งให้โลกร้อนขึ้น โดยพบว่าการที่โลกมีมลภาวะทางอากาศลดลงเพราะลดการใช้ถ่านหินในการผลิตไฟฟ้า ทำให้โลกได้รับความร้อนจากแสงอาทิตย์โดยตรง เพราะไม่มีอนุภาคมลภาวะที่เคยปกคลุมชั้นบรรยากาศโลก รายงานระบุด้วยว่า พื้นที่ที่เป็นผืนดินเริ่มมีอุณหภูมิสูงขึ้นมาตั้งแต่ปี 2543 โดยพบว่า ช่วงปี 2556-2565 มีอุณหภูมิสูงขึ้นจากช่วงก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรมเฉลี่ยปีละ 1.72 […]

แคนาดา-สหรัฐเตรียมเผชิญกระแสลมวนขั้วโลกครั้งใหญ่

นิวยอร์ก 4 ก.พ.- แคนาดาและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐเตรียมเผชิญกับกระแสลมวนขั้วโลก (Arctic blast) ครั้งใหญ่ที่อาจทำให้บางพื้นที่มีอุณหภูมิต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์ สำนักงานอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติของสหรัฐประจำภูมิภาคอเมริกาเตือนว่า หลายพื้นที่ของรัฐเมนในสหรัฐอาจมีกระแสลมเย็นจัดติดลบ 60 องศาเซลเซียส นครบอสตันประกาศปิดโรงเรียนรัฐเมื่อวันศุกร์ และคาดว่าจะมีกระแสลมเย็นจัดติดลบ 34 องศาเซลเซียส ส่วนนครนิวยอร์กที่อยู่ถัดลงมาทางใต้คาดว่าจะมีอุณหภูมิติดลบ 23 องศาเซลเซียส สำนักงานฯ ระบุว่า กระแสลมวนขั้วโลกครั้งนี้เป็นครั้งมหากาพย์ที่เกิดขึ้นในหนึ่งชั่วอายุคน หากเผชิญกับสภาพอากาศแบบนี้โดยไม่เตรียมเครื่องกันความหนาวให้เพียงพอ อาจถูกหิมะกัดเป็นอันตรายต่อผิวหนังได้ภายในเวลาเพียง 5 นาที คาดว่าสภาพอากาศจะเลวร้ายที่สุดช่วงคืนวันศุกร์ถึงเช้าวันเสาร์ตามเวลาท้องถิ่น สำนักงานฯ ยังได้ประกาศเตือนภัยสภาพอากาศทั่วรัฐควิเบกและภาคตะวันออกของแคนาดา เพราะคาดว่ากระแสลมเย็นจัดจะทำให้อุณหภูมิในนครมอนทรีออลในช่วงบ่ายวันศุกร์มีความเย็นเหมือนติดลบ 41 องศาเซลเซียส และน่าจะทำให้รัฐควิเบกมีอุณหภูมิติดลบ 50 องศาเซลเซียส  ส่วนที่กรุงออตตาวาของแคนาดามีหิมะตกและกระแสลมแรง 60-70 กิโลเมตรต่อชั่วโมงตั้งแต่คืนวันพฤหัสบดีจนถึงวันศุกร์ ทำให้ทัศนวิสัยลดลงเกือบเป็นศูนย์ คาดว่ากระแสลมที่อุ่นขึ้นจะพัดเข้าสู่ภูมิภาคนี้ในเช้าวันอาทิตย์ตามเวลาท้องถิ่น.-สำนักข่าวไทย

ธารน้ำแข็งครึ่งโลกจะหายไปภายในปี 2643

วอชิงตัน 6 ม.ค.- ผลการศึกษาใหม่พบว่า ธารน้ำแข็งครึ่งโลกจะละลายหายไปหมดภายในสิ้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 คือสิ้นปี พ.ศ.2643 อันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และหากช่วยกันจำกัดภาวะโลกร้อนก็จะช่วยรักษาธารน้ำแข็งที่เหลืออยู่อีกครึ่งหนึ่งไว้ได้ ผลการศึกษาที่เผยแพร่ในวารสารไซเอินซ์ฉบับวันที่ 5 มกราคมวิเคราะห์ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับธารน้ำแข็งจากฉากทัศน์ที่อุณหภูมิโลกสูงขึ้นในองศาเซลเซียสที่แตกต่างกัน 4 ฉากทัศน์ ได้แก่ 1.5, 2, 3 และ 4 องศาเซลเซียส ผลการศึกษาพบว่า ยิ่งองศาเพิ่มขึ้นยิ่งทำให้ธารน้ำแข็งละลายมากขึ้น แม้แต่ฉากทัศน์ที่อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นน้อยที่สุด 1.5 องศาเซลเซียสจากยุคก่อนอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นเป้าหมายในข้อตกลงปารีส ปี 2558 ธารน้ำแข็งร้อยละ 49 จากที่มีอยู่ทั้งหมด 215,000 แห่งในเวลานี้จะละลายหายไปภายในปี 2643 คิดเป็นร้อยละ 26 ของปริมาณธารน้ำแข็งทั้งหมด เพราะธารน้ำแข็งขนาดเล็กที่สุดจะละลายก่อนเป็นอันดับแรก ส่วนใหญ่อยู่ตามเทือกเขาแอลป์และเทือกเขาคอเคซัสในยุโรป เทือกเขาแอนดีสในอเมริกาใต้ แต่หากอุณหภูมิโลกสูงขึ้น 4 องศาเซลเซียส ธารน้ำแข็งทั่วโลกจะละลายหายไปมากถึงร้อยละ 83 ภายในสิ้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นคริสต์ศตวรรษนี้ อย่างไรก็ดี ประเมินกันว่าอุณหภูมิโลกในขณะนี้จะเพิ่มขึ้น 2.7 องศาเซลเซียส ซึ่งจะทำให้ธารน้ำแข็งในยุโรปกลาง […]

เตือนฝรั่งเศสจะเกิดคลื่นความร้อนเร็วกว่าปกติ

ปารีส 13 มิ.ย.- สำนักอุตุนิยมวิทยาฝรั่งเศสเตือนว่า ฝรั่งเศสจะเกิดคลื่นความร้อนเร็วกว่าปกติในสัปดาห์นี้ โดยคาดว่าพื้นที่ทางใต้อาจมีอุณหภูมิแตะ 38 องศาเซลเซียส สำนักอุตุนิยมวิทยาฝรั่งเศสพยากรณ์ว่า อุณหภูมิสูงสุดจะอยู่ที่ 35-38 องศาเซลเซียสตั้งแต่กลางสัปดาห์นี้ ส่วนอุณหภูมิต่ำสุดจะสูงกว่า 20 องศาเซลเซียส พื้นที่ทางใต้จะเผชิญความร้อนก่อนเป็นแห่งแรก แต่ยังไม่แน่ชัดว่าจะแผ่ขึ้นไปทางเหนือไกลเพียงใด คลื่นความร้อนน่าจะรุนแรงที่สุดระหว่างวันพฤหัสบดีถึงวันเสาร์ ถือว่ามาเร็วกว่าทุกปี เพราะฝรั่งเศสเพิ่งเข้าสู่ฤดูร้อนในเดือนนี้ แต่อุณหภูมิช่วงร้อนสุดของฤดูร้อนปีนี้จะไม่ต่างไปจากที่ผ่านมา สาเหตุที่ทำให้คลื่นความร้อนปีนี้มาเร็วกว่าปกติ เป็นผลจากความกดอากาศต่ำที่เคลื่อนตัวอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติกระหว่างหมู่เกาะอะโซร์สกับเกาะมาเดราของโปรตุเกส ทำให้เกิดอากาศร้อนทั่วยุโรปตะวันตก ประเทศเพื่อนบ้านฝรั่งเศสอย่างสเปนก็กำลังเกิดคลื่นความร้อนช่วงต้นฤดูร้อนที่ร้อนที่สุดในรอบ 20 ปี อุณหภูมิในเมืองเซบียา ทางใต้ของสเปนแตะ 40 องศาเซลเซียสเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา.-สำนักข่าวไทย

คลื่นความร้อนทำตะวันตกเฉียงเหนือของสหรัฐร้อนทุบสถิติ

คลื่นความร้อนแผ่ปกคลุมภาคตะวันตกเฉียงเหนือของสหรัฐทำให้หลายเมืองมีอุณหภูมิสูงกว่าสถิติเดิม เป็นอันตรายต่อผู้คน พืช และสัตว์ในภูมิภาคนี้ปกติแล้วเคยชินกับสภาพอากาศปานกลาง

เซี่ยงไฮ้เตือนภัยความร้อนสีส้ม

เซี่ยงไฮ้ 20 ส.ค.- นครเซี่ยงไฮ้ของจีนยังคงเผชิญภาวะคลื่นความร้อนในวันนี้ อุณหภูมิสูงเกิน 36 องศาเซลเซียส ทางการต้องประกาศเตือนภัยระดับสีส้ม สูงสุดเป็นระดับสองจากทั้งหมดสามระดับ สำนักอุตุนิยมวิทยาแจ้งว่า อุณหภูมิในนครเซี่ยงไฮ้วันนี้สูงเกิน 35 องศาเซลเซียสเป็นวันที่ 12 ติดต่อกันแล้ว และคาดว่าจะสูงต่อไปอีก 5 วัน ผู้ใหญ่พากันถือร่มบังแดด ขณะที่เด็ก ๆ คลายร้อนด้วยการเล่นน้ำพุหรือยืนหน้าพัดลมไอน้ำ ชายวัย 32 ปีเผยว่า คลื่นความร้อนปีนี้ยาวนานกว่าปกติเล็กน้อย อุณหภูมิสูงเกิน 36 องศาเซลเซียสตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา อากาศร้อนมากโดยเฉพาะช่วงเที่ยง ทั้งร้อนและแล้งไม่มีฝนตกเลย ขณะที่เด็กหญิงวัย 3 ขวบบอกว่า อากาศร้อนมาก ร้อนจนไอศกรีมละลาย ขณะที่สตรีวัย 28 ปีรู้สึกว่า ปีนี้อากาศร้อนขึ้น แสงแดดแผดเผามากขึ้น ร่มและแว่นตากันแดดเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ การสวมหน้ากากอนามัยช่วยปกป้องใบหน้าได้ดี แต่ยังคงต้องทาครีมกันแดดตามตัวอยู่.-สำนักข่าวไทย

...