ชาวสวนยางร้อง รมว.เกษตรฯ คนใหม่เร่งฟื้นวิกฤตราคายางพารา

ระยอง 1 ก.ค. – สมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย ส่งหนังสือ​ถึง ​รมว.เกษตรฯ​ คนใหม่ เพื่อให้เร่งฟื้นฟูอุตสาหกรรมยางพาราที่กำลังเผชิญวิกฤตราคาตกต่ำอย่างรุนแรง พร้อมเสนอข้อเรียกร้องเร่งด่วน 5 ข้อ และขอให้เรียกประชุม กนย.​โดยด่วนที่สุด นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า​ ได้​ส่งหนังสือ​ด่วน​ถึง​นายอรรถ​กร​ ศิริลัทยากร​ รัฐมนตรี​ว่าการ​กระทรวง​เกษตร​และ​สหกรณ์ ​เพื่อ​ให้​เร่งรัดแก้ไขปัญหา​ราคายางพาราที่ตกต่ำติดต่อกัน โดยมีสาเหตุจากการนำเข้าน้ำยางราคาถูก การแข่งขันจากยางสังเคราะห์ ค่าเงินบาทแข็งตัว และภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ซึ่งล้วนส่งผลกระทบโดยตรงต่อรายได้และต้นทุนของเกษตรกรสวนยาง สยท. จึงยื่นข้อเสนอเร่งด่วน 5 ข้อต่อรัฐมนตรีเกษตรฯ ดังนี้ นอกจากนี้ สยท. ยังเรียกร้องให้รัฐมนตรีเกษตรฯ แต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมยางให้ครบถ้วนโดยเร็วตามมาตรา 11 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมยาง พ.ศ. 2542 และผลักดันให้นายกรัฐมนตรีเรียกประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) เพื่อแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ หากปล่อยไว้อาจนำไปสู่การล่มสลายของอุตสาหกรรมยางพาราไทย ทั้งนี้ สมาคมฯ ยินดีเปิดรับข้อเสนอจากนักวิชาการหรือหน่วยงานภาครัฐที่มีแนวทางแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำที่เป็นไปได้จริง และพร้อมให้ความร่วมมือกับรัฐบาลอย่างเต็มที่เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกรอย่างยั่งยืน. -512-สำนักข่าวไทย

จี้รัฐแจงน้ำยางข้นนำเข้า กระทบเกษตรกรไทยราคาดิ่ง

ระยอง 22 พ.ค. – สมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย ร่อนจดหมายเปิดผนึกถึง รมว.เกษตรฯ จี้ถามนโยบายนำเข้าน้ำยางข้นจากต่างประเทศ ชี้สวนทางนโยบายรัฐบาล ซ้ำซ้อนกระทบราคายางในประเทศจนเกษตรกรแบกรับไม่ไหว นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สมาคมฯ ได้ทำหนังสือเปิดผนึกถึง ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อสอบถามข้อเท็จจริงและนโยบายอย่างเป็นทางการ หลังจากได้รับรายงานจากการประชุมคณะกรรมการสมาคมฯ ว่ามีการอนุญาตให้นำเข้าน้ำยางข้นจากต่างประเทศในปริมาณที่สูงผิดปกติ ข้อมูลจาก “หนังสือสถิติยาง ปี 2567” ที่แนบมากับจดหมาย พบว่ามีการนำเข้าน้ำยางข้นคิดเป็นเนื้อยางแห้งถึง 5,615 ตัน หรือเทียบเท่าน้ำยางข้น 60% ประมาณ 9,358 ตัน ทั้งที่รัฐบาลประกาศชัดเจนว่าจะไม่อนุญาตให้นำเข้ายางธรรมชาติจากต่างประเทศ และมีการกวาดล้างการลักลอบนำเข้าตามแนวชายแดนอย่างเข้มงวด “การอนุญาตให้นำเข้า​ โดยระบุว่า​เป็น ‘สูตรเฉพาะ’ ทั้งที่นักวิจัยไทยก็สามารถพัฒนาสูตรเหล่านี้ได้เอง อาจเป็นเพียงข้ออ้างเพื่อหลีกเลี่ยงต้นทุนภายในประเทศที่สูงกว่า และกลายเป็นช่องทางให้นำเข้าน้ำยางข้นทั่วไปในราคาต่ำ” นายอุทัย กล่าว สมาคมฯ ระบุว่า สถานการณ์ดังกล่าวกำลังทำให้ผู้ประกอบการในประเทศประสบปัญหา ขายน้ำยางข้นยาก หลายโรงงานเริ่มหยุดผลิตหรือชะลอการรับซื้อยางจากเกษตรกร โดยเฉพาะในช่วงที่ราคายางพาราตกต่ำอย่างรุนแรงจนเกษตรกรหลายรายประสบภาวะขาดทุน ทั้งนี้ สมาคมฯ เรียกร้องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติควบคุมยาง […]

...