นักวิจัย​ชี้บุหรี่ไฟฟ้าควรจัดการด้วยภาษี-ข้อมูล ไม่ใช่แค่แบน

กรุงเทพฯ 19 พ.ค.​– ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยผลการศึกษาวิจัยเชิงเศรษฐศาสตร์เรื่อง “บุหรี่ไฟฟ้า” เสนอรัฐทบทวนมาตรการห้ามนำเข้าและจำหน่าย พร้อมใช้เครื่องมือทางภาษีและฐานข้อมูลผู้ใช้เป็นกลไกควบคุมหลักแทนการแบนแบบเบ็ดเสร็จ รศ. อุ่นกัง แซ่ลิ้ม อาจารย์ประจำภาควิชาเศรษฐศาสตร์ ผู้วิจัยหลัก ระบุว่า จากการรวบรวมและวิเคราะห์งานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ พบว่า การห้ามโดยไม่มีช่องว่างให้กับสินค้าทดแทน ไม่สามารถป้องกันการใช้งานบุหรี่ไฟฟ้าได้จริง ขณะที่ความยืดหยุ่นของราคาบุหรี่ไฟฟ้าต่อความต้องการใช้อยู่ในระดับต่ำ (Inelastic) การจัดเก็บภาษีและการควบคุมช่องทางจำหน่ายจึงมีโอกาสได้ผลมากกว่าการแบน งานวิจัยแบ่งประเด็นศึกษาเป็น 3 ด้านหลัก ได้แก่ 1. แนวทางการกำกับดูแลในปัจจุบัน แม้จะมีกฎหมายห้ามนำเข้า แต่ยังไม่มีระบบติดตาม ตรวจสอบ หรือประเมินความเสี่ยงอย่างเป็นระบบ สินค้าหลายชนิดเล็ดลอดเข้ามาทางออนไลน์และกลายเป็นที่นิยมในกลุ่มเยาวชน โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์แบบใช้แล้วทิ้ง ซึ่งมีราคาถูก ใช้งานง่าย และเข้าถึงง่าย 2. ความรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรม ยังไม่มีงานวิจัยเชิงระบาดวิทยาหรือสุขภาพประชากรในประเทศไทยที่ศึกษาผลกระทบจากบุหรี่ไฟฟ้าอย่างเป็นทางการ จำเป็นต้องมีการจัดทำฐานข้อมูลผู้ใช้ และส่งเสริมการเก็บข้อมูลต่อเนื่องเพื่อนำไปสู่การกำหนดนโยบายที่มีประสิทธิภาพ รศ.​ อุ่นกังยังเสนอว่า หากรัฐไทยจะทบทวนมาตรการ ควรเริ่มจากการออกแบบระบบภาษีบุหรี่ไฟฟ้าให้มีความยืดหยุ่น เช่น การจัดเก็บภาษีแบบเฉพาะ (ad valorem หรือ specific tax) ที่สะท้อนต้นทุนทางสาธารณสุข […]

...