ลุ้นผลิตวัคซีนโควิด สิ้นปีรู้ผล

สำนักข่าวไทย 14 ก.ย.-“นพ.ยง” ลุ้นประวัติศาสตร์การผลิตวัคซีนโควิด-19 สิ้นปีนี้รู้ผล เร็วกว่าปกติถึง 10 เท่า ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ว่า โควิด-19 การพัฒนาวัคซีน ถ้ามองย้อนไปถึงสมัย เอดเวิร์ด เจนเนอร์ ได้ปลูกฝีให้กับเด็กคนแรก ในปี 2339 เพื่อป้องกันฝีดาษ โดยสังเกตจากหญิงรีดนมที่เป็น ฝีดาษวัว แล้วไม่เป็นฝีดาษคน และเป็นผู้ใช้ศัพท์คำว่าวัคซีน ซึ่งมาจากภาษาลาตินแปลว่า วัว ต่อมาในสมัย หลุยส์ ปาสเตอร์ เมื่อกว่าร้อยปีที่แล้ว ได้มีคิดค้นวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า สามารถสร้างภูมิต้านทานป้องกันโรคได้ ทั้งที่ท่านไม่ได้เป็นแพทย์ ท่านก็ไม่ได้มีวิธีการขั้นตอน เริ่มจากสัตว์ทดลอง แล้วมาทดลองในคนระยะที่ 1 2 3 แต่วัคซีน ที่ใช้แบบสมัยของหลุยส์ ปาสเตอร์ หลายคนคงเคยรู้ว่า ฉีดรอบสะดือ 17-21 เข็ม และมีอาการข้างเคียงมากสามารถป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าได้ แต่อาการข้างเคียงก็อาจทำให้เสียชีวิตได้เช่นกัน […]

“หมอยง” โควิด-19 กับการพัฒนาวัคซีน

กรุงเทพฯ 4 ก.ย.-“นพ.ยง” ชี้การพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ของไทย อุปสรรคคือการศึกษาในคน ระยะที่ 3 ซึ่งต้องใช้กลุ่มประชากรหลักหมื่นและทำในแหล่งระบาดของโรค ต้องไปจ้างต่างประเทศผลิต มีค่าใช้จ่ายจำนวนมาก ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ว่า โควิด-19 กับการพัฒนาวัคซีน ในยามปกติการพัฒนาวัคซีน จะใช้กับป้องกันโรคให้กับคนปกติ จะมี ลำดับขั้นตอน ดังนี้ การศึกษาในห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน เพื่อพิสูจน์หลักการทดสอบในสัตว์ทดลองที่เป็นสัตว์ขนาดเล็กก่อน เช่น หนู กระต่าย ทดสอบความปลอดภัยและผลของภูมิต้านทานในสัตว์ใหญ่ เช่นลิง ทดสอบประสิทธิภาพในสัตว์ เช่น ให้วัคซีนในสัตว์ แล้วให้เชื้อที่ทำให้เกิดโรค ดูว่าป้องกันโรคได้ หรือไม่ (ถ้าทำได้) ทุกขั้นตอนจะต้องทำในสถานที่ที่ได้มาตรฐาน GLP (Good Laboratory Practice) และวัคซีนที่ผลิตมาทดลอง ก็จะต้องได้มาตรฐานคงที่ จากห้องปฏิบัติการที่มีมาตรฐาน GLP ข้อมูลทั้งหมดจะต้องถูกนำมาขึ้นทะเบียน องค์กรอาหารและยา FDA เป็น […]

“หมอยง” โควิด-19 เป็นแล้วเป็นอีกได้

กทม.31ส.ค.-“นพ.ยง”เผยโควิด-19 เป็นแล้วเป็นอีกได้ พร้อมร่วมกับคณะ -กทม.-ศูนย์บริการโลหิตฯ ศึกษาติดตามภูมิต้านทานในผู้หายป่วยจากโควิด ระยะยาว 1 ปี ขณะนี้เข้าสู่เดือนที่ 6 เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาวัคซีน ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง “โควิด-19 เป็นแล้วเป็นอีกได้หรือไม่” โดยระบุว่า เพิ่งให้สัมภาษณ์วารสารชื่อดัง ถึงเรื่องการเป็นซ้ำของ โควิด-19 ขณะนี้ทั่วโลก มีการยืนยันว่าเป็นแล้วเป็นอีก 4 ราย คือใน ฮ่องกง เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์และรัฐเนวาด้า ประเทศสหรัฐอเมริกา มีการยืนยันว่าเป็นแล้วเป็นอีกในฮ่องกงระยะห่างกัน 4 เดือนครึ่ง ผู้ป่วยในอเมริกาเป็นครั้งที่ 2 ห่างจากครั้งแรกไม่ถึง 50 วัน ผู้ป่วยเป็นครั้งที่ 1 ไม่รุนแรง ส่วนการเป็นครั้งที่ 2 ส่วนใหญ่ก็ไม่รุนแรง ยกเว้นในผู้ป่วยของอเมริกา ที่เป็นครั้งที่ 2 มีอาการปอดอักเสบ ส่วนครั้งแรกไม่รุนแรง การติดเชื้อโควิด-19 ซ้ำ ต้องแยกจากการตรวจพบเชื้อซ้ำ […]

“นพ.ยง” ขอคนไทยอดทนโควิดอยู่ไม่น้อยกว่า1 ปี

กทม. 28 ส.ค.-แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสฯ ชี้ไทยยังอยู่กับโควิด-19 อีกไม่น้อยกว่า 1ปี ขอทุกคนช่วยกันเข้มแข็ง-อดทน ดูแลป้องกันไม่ให้เกิดการระบาด หรือหากเกิด ให้อยู่ในวงจำกัดที่ควบคุมได้ ทุกคนจะได้อยู่ได้ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ว่า บรรยากาศหลังโควิด-19 ขณะนี้เริ่มมีการผ่อนปรนในประเทศไทย ให้มีการการประชุมวิชาการได้ แต่ยังอยู่ในจำนวนจำกัด มีการควบคุมการประชุม เช่นการประชุมใหญ่ต้องไม่เกิน 500 คน และทุกคนต้องมีมาตรการในการป้องกันแบบเข็มแข็ง บรรยากาศได้กลับมามีการประชุมที่โรงแรมได้ ได้ไปประชุมวิชาการเทคนิคการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2563 ที่จังหวัดกาญจนบุรี ได้ทราบผลกระทบของทางโรงแรม และบุคลากรทำงานในโรงแรมอย่างมาก และเงินประกันสังคมที่ช่วยเดือนนี้เป็นเดือนสุดท้ายอยากให้พวกเราช่วยกันเข้มแข็ง อดทน ช่วยกันดูแลป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดของโควิด-19 หรือถ้าเกิดก็ให้อยู่ในวงจำกัดที่ควบคุมได้ ทุกคนจะได้อยู่ได้ เราจะต้องช่วยกันอีกยาวนานไม่น้อยกว่า 1 ปี .-สำนักข่าวไทย

“นพ.ยง” โควิด-19 เป็นแล้วเป็นซ้ำได้

สำนักข่าวไทย 27 ส.ค.-แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยาคลินิก ชี้การพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ซ้ำครั้งที่ 2 มีความเป็นไปได้ ล่าสุดพบที่ฮ่องกง เนเธอร์แลนด์และเบลเยี่ยม แต่เป็นคนละสายพันธุ์กับครั้งแรก ข้อมูลดังกล่าวมีผลต่อการศึกษาวัคซีน ระบบภูมิต้านทาน และการคงอยู่ของระบบภูมิต้านทานของโควิด-19 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก เรื่อง “โควิด-19 การติดเชื้อซ้ำครั้งที่ 2” โดยระบุว่า มีข้อมูลการติดเชื้อซ้ำครั้งที่ 2 จากฮ่องกง เนเธอร์แลนด์ และเบลเยียม การติดเชื้อที่ฮ่องกงแสดงได้ชัดเจนว่าการติดเชื้อครั้งแรก เป็น สายพันธุ์ V การติดเชื้อครั้งที่ 2 เป็นสายพันธุ์ G คนละสายพันธุ์กับครั้งแรก การติดเชื้อห่างกัน 4 เดือนครึ่งในการติดเชื้อครั้งแรก มีการตรวจวัดภูมิต้านทาน ไม่สามารถตรวจพบภูมิต้านทานในช่วง10 วันแรกของการติดเชื้อครั้งแรก มาตรวจอีกครั้งหนึ่งใน 3วันแรกของการติดเชื้อครั้งที่ 2 ก็ยังไม่พบภูมิต้านทาน ภูมิต้านทานเริ่มเกิดขึ้นหลังวันที่ 5 ไปแล้ว ของการติดเชื้อครั้งที่ 2 อย่างไรก็ตามทั้ง […]

“นพ.ยง” โพสต์ 4 ความเป็นไปได้ พบเชื้อโควิดหลังกักตัว 14 วัน

“นพ.ยง” ชี้การพบเชื้อโควิด-19 หลังกักตัว 14 วันมีความเป็นไปได้ คาดติดเชื้อมาจากต่างประเทศ มาถึงเมืองไทย เชื้อปริมาณน้อย ตรวจไม่พบ แต่ต่อมาตรวจพบ จำนวนน้อยโอกาสแพร่กระจายโรคไปสู่ผู้อื่นก็น้อยมากๆ

“นพ.ยง” โควิดแพร่กระจายโรคได้ดีในกลุ่มคนหมู่มาก

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัส ชี้โรคโควิด-19 แพร่กระจายโรคได้ดีในกลุ่มคนหมู่มาก กิจกรรมทางศาสนา สถานบันเทิง สนามกีฬา การชุมนุมทางการเมือง

“นพ.ยง” ลุ้นไทยปลอดโควิดเกิน 100 วัน

“นพ.ยง”ลุ้นไทยปลอดโควิด-19เกิน 100 วัน ห่วงสภาพอากาศในฤดูนี้ชื้นเย็นเชื้อไวรัสอยู่นาน แพร่ระบาดโรคทางเดินหายใจได้ง่าย ขอทุกคนคงเข้มมาตรการล้างมือ–ใส่หน้ากาก-กำหนดระยะห่าง และเน้นมาตรการสุ่มตรวจเชิงรุกให้วินิจฉัยได้ตั้งแต่เริ่มแรก

1 2 3 4
...