ศธ. แนะครูตักเตือนเชิงสร้างสรรค์ ปมทรงผมนักเรียน
ศธ. แนะครูลงโทษทรงผมนักเรียนเกินกว่าเหตุ ขอให้ตักเตือนเชิงสร้างสรรค์ไม่ก่อความอับอายต่อเด็ก
ศธ. แนะครูลงโทษทรงผมนักเรียนเกินกว่าเหตุ ขอให้ตักเตือนเชิงสร้างสรรค์ไม่ก่อความอับอายต่อเด็ก
รมว.ศธ. ย้ำไม่มีกฎให้ครูลงโทษตัดผมนักเรียน พบเห็นการลงโทษ ใช้ความรุนแรงนักเรียน แจ้งได้ที่ MOE Safety Center
ที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณาข้อร้องเรียนของนักเรียน นักศึกษา สธ. เห็นชอบแก้ไขระเบียบทรงผมนักเรียน ข้อ 4 และ 7 นักเรียนไว้ผมยาว-สั้นก็ได้ ห้ามลงโทษกล้อนผมเด็ก พร้อมเปิดโอกาสให้แต่งกายตามเพศสภาพ ใส่ชุดอื่นตามข้อตกลงร่วมกัน
ศธ.เดินหน้าแก้ไขระเบียบทรงผมนักเรียน วาง 3 แนวทางแก้ ปัญหา ปัญหาที่เกิดจากตัวระเบียบ ปัญหาการตีความ และการลงโทษนักเรียน
ศธ.17 ก.ย.-กระทรวงศึกษาฯ จัดสัมมนา “การแต่งกายและการไว้ทรงผมของนักเรียนไทยกับสิทธิมนุษยชน” วันนี้ (17ก.ย.) ที่โรงแรมรอยัล ซิตี้ นายธีรพงษ์ สารแสน รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “การแต่งกายและการไว้ทรงผมของนักเรียนไทยกับสิทธิมนุษยชน”และกล่าวว่า การแต่งกายและการไว้ทรงผมของนักเรียนไทยเกี่ยวเนื่องกับประเพณี วัฒนธรรม เอกลักษณ์ของประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยแตกต่างจากชาติอื่น ส่วนเรื่องของสิทธิเสรีภาพก็เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเอามาพิจารณาควบคู่ไปกับกรอบของสังคมอย่างสร้างสรรค์ เนื่องจากประเด็นเหล่านี้อาจส่งผลกระทบหลายด้าน เช่น การปฏิบัติงานตามวิชาชีพครู การผลิตครู กระบวนการหล่อหลอมจิตวิญญาณความเป็นครู เป็นต้น อย่างไรก็ตามเมื่อมีเหตุผลที่ควรเปลี่ยนแปลงก็ต้องเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม ซึ่งหวังว่าจะได้ความคิดเห็นของทุกฝ่ายอย่างหลากหลาย ทั้งจากกลุ่มนักเรียน นิสิตนักศึกษา อาจารย์ สถานศึกษา หน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานภาคประชาสังคม เพื่อหาจุดที่พอดีนำสู่การปฏิบัติอย่างมีส่วนร่วม และเกิดประโยชน์ในการกำหนดระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป สำหรับการจัดสัมมนาครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการแต่งเครื่องแบบนักเรียนและการไว้ทรงผมของนักเรียนไทยกับสิทธิมนุษยชนและความหลากหลายทางเพศ รวมทั้งเพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิด ประสบการณ์ เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหา ตลอดจนหาแนวทางพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการแต่งเครื่องแบบนักเรียนและการไว้ทรงผมของนักเรียนไทยกับสิทธิมนุษยชนและความหลากหลายทางเพศ ประกอบด้วยกิจกรรมการบรรยาย โดย ศ.กิตติคุณ วิทิต มันตาภรณ์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และการอภิปรายโดยผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว และสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ มีผู้เข้าร่วมสัมมนาจำนวน 80 คน .-สำนักข่าวไทย