ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check Factsheet : รู้จัก และเข้าใจ “น้ำมันเครื่อง”

20 กุมภาพันธ์ 2567 – ตามที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับน้ำมันเครื่อง น้ำมันเครื่องทำหน้าที่อะไร และมีให้เลือกใช้กี่รูปแบบ รวมทั้งควรดูแลรักษาอย่างไร ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ (สัมภาษณ์เมื่อ 18 มกราคม 2567) น้ำมันเครื่อง: หัวใจสำคัญของเครื่องยนต์ น้ำมันเครื่องเป็นของเหลวสำคัญสำหรับการทำงานของเครื่องยนต์ มีหน้าที่หลัก 3 ประการ ได้แก่ ประเภทของน้ำมันเครื่อง การเลือกน้ำมันเครื่อง การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง การดูแลรักษาน้ำมันเครื่อง สรุป น้ำมันเครื่องเป็นส่วนสำคัญในการดูแลรักษาเครื่องยนต์ การเลือกน้ำมันเครื่องที่เหมาะสมและเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องตามระยะเวลาที่กำหนดจะช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์และประหยัดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง หมายเหตุ: ข้อมูลในบทสรุปนี้เป็นข้อมูลทั่วไปเท่านั้น ควรปรึกษาคู่มือการใช้งานรถยนต์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับคำแนะนำที่ถูกต้อง ตรวจสอบข้อเท็จจริง ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check FACTSHEET : รู้จัก ลมยางไนโตรเจน

17 กันยายน 2567 – บนสังคมออนไลน์มีข้อสงสัยเกี่ยวกับ ลมยางไนโตรเจนว่า แตกต่างจากลมยางธรรมดาทั่วไปอย่างไร และมีข้อดี-ข้อเสียอย่างไรบ้าง ? ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ดร. นภดล กลิ่นทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านยานยนต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สัมภาษณ์เมื่อ : 25 กรกฎาคม 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check FACTSHEET : รู้จัก และเข้าใจ “น้ำมันเบนซิน-แก๊สโซฮอล์”

20 สิงหาคม 2567 – บนสังคมออนไลน์มีข้อสงสัยเกี่ยวน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ว่า มีที่มาอย่างไร มีกี่ชนิด แต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร ติดตามข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในชัวร์ก่อนแชร์ MOTOR CHECK ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ สุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ รู้จักน้ำมันเบนซินกับแก๊สโซฮอล์ น้ำมันเบนซินนั้นไม่มีส่วนผสมของเอทานอล ในขณะที่แก๊สโซฮอล์คือส่วนผสมของน้ำมันเบนซิน และเอทานอล ในประเทศไทย แก๊สโซฮอล์ หมายถึงการผสมเอทานอลในระดับต่ำ (E 10, E 20) และการผสมเอทานอลในเปอร์เซ็นต์ที่สูงขึ้นด้วย (เช่น E 85) แต่ปัจจุบันน้ำมันเบนซินหาได้ยาก ในขณะที่แก๊สโซฮอล์เป็นที่แพร่หลาย ค่าออกเทน คืออะไร ? ค่าออกเทน (RON) ย่อมาจาก Research Octane Number เชื้อเพลิงที่กลั่นออกมาจากน้ำมันดิบ และนำมาปรับปรุงคุณภาพ เรียกว่า ออกเทน · น้ำมันเบนซิน 95 คือ น้ำมันเบนซินที่มีค่าออกเทน 95  ไม่มีส่วนผสมของเอทานอล มีราคาค่อนข้างสูง · น้ำมันเบนซิน 91 คือ น้ำมันเบนซินที่มีค่าออกเทน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : 5 ข้อเข้าใจผิดเกี่ยวกับยางรถยนต์ จริงหรือ ?

6 สิงหาคม 2567 – ตามที่มีการแชร์ข้อสงสัยเรื่องความเข้าใจผิดเกี่ยวกับยางรถยนต์มากมาย เช่น หากแก้มยางฉีกห้ามปะ หรือ ไม่ควรใช้ยางเก่าเก็บค้างปีนั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ดร. นภดล กลิ่นทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านยานยนต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 1.ใช้ยางรถยนต์เกิน 2 ปี ต้องเปลี่ยน จริงหรือ ? ตอบ : ไม่จริง หลายคนเข้าใจว่าเมื่อครบ 2 ปี ต้องเปลี่ยนยางรถยนต์ทันทีเพราะคิดว่ายางหมดอายุแล้ว หากใช้ต่อไปจะเกิดอุบัติเหตุ แต่ในความเป็นจริงยางที่ครบกำหนดเหล่านี้ยังสามารถใช้งานต่อไปได้อีกนาน หากว่ายางไม่มีปัญหาเสื่อมสภาพ เช่น ดอกยางสึกมากจนถึงสะพานยางที่เป็นจุดลึกสุดของร่องยาง รวมถึงยางปริแตก บวม เป็นต้น 2.ไม่ควรใช้ยางค้างปี หรือยางค้างสต็อกจริงหรือ ? ตอบ : ต้องอธิบายเพิ่มว่า ยางเก่าค้างปี หมายถึง ยางที่ถูกผลิตไม่ตรงกับปีที่ซื้อ หลายคนมองว่ายางเก่าหรือยางค้างสต็อกนั้นคงไม่ดีเ แต่ในกรณีที่เป็นยางปีเก่า ยางค้างสต็อกนั้น ถ้าถูกเก็บรักษาเป็นอย่างดีก็ไม่มีผลต่อการใช้งานอะไรอย่างแน่นอน เพราะยางเหล่านี้แค่ถูกผลิตในปีก่อนหน้า […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : 3 วิธีดับไฟไหม้แบตฯ รถยนต์ไฟฟ้า จริงหรือ ?

30 เมษายน 2567 – บนสังคมออนไลน์มีการแชร์วิธีดับไฟเมื่อไฟไหม้แบตเตอรี่ของรถยนต์ไฟฟ้า ได้แก่ ใช้น้ำ ใช้ถังเพลิง และ ใช้โฟมดับ บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายวรวุฒิ ก่อวงศ์พานิชย์ ผู้อำนวยการฝ่ายทดสอบ และวิศวกรรม สถาบันยานยนต์ สัมภาษณ์เมื่อ 24 เมษายน 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : กระดาษทิชชู ทำให้ไฟไหม้ในรถได้ จริงหรือ ?

23 เมษายน 2567 ตามที่มีการแชร์เตือนผู้ใช้งานรถยนต์ว่า เมื่อจอดรถตากแดด อย่าทิ้งกระดาษทิชชูไว้ในรถ เพราะจะทำให้รถยนต์เกิดไฟไหม้ได้นั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ดร.นภดล กลิ่นทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านยานยนต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กระดาษทิชชู่จะเริ่มติดไฟลุกไหม้ได้นั้น จะต้องได้รับความร้อนสูงถึงประมาณ ประมาณ 218 – 249 °c  ซึ่งอุณหภูมิที่อาจารย์ได้ทำการทดสอบจะอยู่ที่ 87 °c เท่านั้น ไม่เพียงพอต่อการจุดติดไฟของกระดาษทิชชูได้ การจุดติดไฟได้จะต้องมีองค์ประกอบครบ ซึ่งในที่นี้เรียกว่า สามเหลี่ยมแห่งไฟ คือ ต้องมีอากาศ ความร้อน เชื้อเพลิง ข้อสังเกตหากเกิดกรณีไฟไหม้กระดาษทิชชู มีการแชร์ว่า กระจกหลังรถจะทำตัวเป็นเลนส์รวมแสงนั้น ก็ไม่เป็นความจริง เนื่องจาก กระจกรถยนต์ถูกออกแบบไม่ได้มีความนูนหรือเว้าเพียงพอที่จะรวมแสงได้ สัมภาษณ์เมื่อ : 8 เมษายน 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check FACTSHEET : เลือกใช้ ดูแล แบตเตอรี่ 12 โวลต์รถยนต์

9 เมษายน 2567 – ตามที่การแชร์ข้อสงสัยเกี่ยวกับแบตเตอรี่ 12 โวลต์ของรถยนต์ว่า ต้องเลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสม มีวิธีการดูแลและตรวจเช็กความผิดปกติที่ถูกต้องอย่างไร ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ สัมภาษณ์เมื่อ : 11 มีนาคม 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check FACTSHEET : แบตเตอรี่รถยนต์ (แบตฯ 12 โวลต์)

2 เมษายน 2567 – ตามที่มีการแชร์ข้อสงสัยเกี่ยวกับแบตเตอรี่ 12 โวลต์ของรถยนต์ว่า มีกี่รูปแบบ และมีความแตกต่างกันอย่างไรนั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ สัมภาษณ์เมื่อ : 11 มีนาคม 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check FACTSHEET : มาตรฐานระยะทางรถยนต์ไฟฟ้า

25 มีนาคม 2567 – ตามที่มีการแชร์ข้อสงสัยเกี่ยวกับมาตรฐานระยะทางของรถยนต์ไฟฟ้าว่า มีกี่รูปแบบ และมีความแตกต่างกันอย่างไร ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ มาตรฐานระยะทางรถยนต์ไฟฟ้า เป็นการวัดว่ารถยนต์ไฟฟ้าสามารถวิ่งได้ระยะทางเท่าไหร่ต่อการชาร์จแบตเตอรีหนึ่งครั้ง ปัจจุบันมีมาตรฐานที่นิยมใช้ ได้แก่ EPA , WLTP, CLTC และ NEDC ซึ่งมาตรฐานของแต่ละตัวมีความแตกต่างกัน เนื่องจากมีการทดสอบที่แตกต่างกัน รวมถึงเงื่อนไขต่าง ๆ ในการวัดก็แตกต่างกัน มาตรฐานที่ 1 : EPA (U.S. Environmental Protection Agency) เป็นมาตรฐานที่ใช้กันในประเทศสหรัฐอเมริกา ถือว่าเป็นมาตรฐานล่าสุดที่คนทั่วโลกคุ้นเคย โดยใช้วิธีการจำลองการวิ่งในแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการทดสอบวิ่งในเมือง (UDDS) และ การทดสอบวิ่งนอกเมือง (HWFET) ซึ่งจะทำสลับกันไปเรื่อย ๆ จนกว่าแบตเตอรี่จะหมด และรถไม่สามารถวิ่งต่อไปได้แล้ว จากนั้นก็จะทำการบันทึกระยะทางที่รถยนต์ไฟฟ้าวิ่งได้สูงสุดเอาไว้ มาตรฐานที่ 2 : WLTP (Worldwide Harmonised Light […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : สัญญาณแร็กพวงมาลัยเสีย จริงหรือ ?

19 มีนาคม 2567 – บนสังคมออนไลน์มีการแชร์อาการที่บอกว่า แร็กพวงมาลัยของรถยนต์เสีย เช่น พวงมาลัยหนักขึ้น และ มีน้ำมันรั่วซึม ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ 00:49 อาการที่ 1 : วิ่งทางขรุขระ ช่วงล่างมีเสียงดัง 01:21 อาการที่ 2 : หักเลี้ยวสุดแล้วมีเสียงดัง 02:36 อาการที่ 3 : มีน้ำมันรั่วซึม 03:38 อาการที่ 4 : พวงมาลัยหนัก สัมภาษณ์เมื่อ : 11 มีนาคม 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : สัญญาณเตือนผ้าเบรกใกล้หมด จริงหรือ ?

5 มีนาคม 2567 – ตามที่มีการแชร์สัญญาณที่เตือนว่า ผ้าเบรกของรถยนต์ใกล้หมดแล้ว เช่น เบรกแล้วมีเสียงดัง และ น้ำมันเบรกในกระปุกน้ำมันเบรกลดลงนั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ สัญญาณบอกอาการผ้าเบรกหมด มีดังนี้ 1. แป้นเบรกลึกขึ้น ระยะของผ้าเบรกอยู่ห่างจากจานเบรกมากขึ้น จึงทำให้ต้องเหยียบเบรกลึกขึ้น กรณีหากมีการตรวจเช็กแล้วว่าไม่มีรอยรั่ว ก็อาจจะทำให้ระดับของน้ำมันเบรกหายไปด้วย แต่อาการเหยียบแป้นเบรกลึกขึ้น อาจจะไม่ใช่อาการผ้าเบรกหมดซะทีเดียว อาจจะบอกถึงความเสื่อมสภาพของซีลยางของตัวชุดปั๊มเบรก หรือซีลยางในตำแหน่งต่าง ๆ ได้ด้วยเช่นกัน 2. เบรกแล้วมีเสียงดัง ส่วนมากเกิดมาจากผ้าเบรกและจานเบรก หากผ้าเบรกหมดจะทำให้เหล็กผ้าเบรกและจานเบรกที่เป็นเหล็กทั้งคู่เสียดสีกันจนทำให้เกิดเสียง หากผ้าเบรกบางลงจำเป็นที่จะต้องถอดออกมาเปลี่ยนใหม่ เพราะถือว่าเป็นความเสื่อมสภาพของตัวผ้าเบรกจนทำให้เหยียบเบรกแล้วมีเสียงดังเกิดขึ้น 3. น้ำมันเบรกในกระปุกลดลง หากน้ำมันเบรกลดต่ำกว่าปกติ แต่ตรวจเช็กแล้วไม่พบรอยรั่วใด ๆ อาจเป็นไปได้ว่าความหนาของผ้าเบรกลดลง จนทำให้น้ำมันเบรกเข้าไปอยู่ตามสายเบรกและลูกสูบเบรก เพราะลูกสูบที่อยู่ในคาลิปเปอร์เบรก จะเลื่อนตัวออกมามาก เพื่อดันให้ผ้าเบรกจับกับจานเบรกน้ำมันเบรกในกระปุกจึงลดลง สัมภาษณ์เมื่อ : 20 กุมภาพันธ์ 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : […]

ชัวร์ก่อนแชร์ MotorCheck : อันตรายจากการใช้ยางที่เสื่อมสภาพ จริงหรือ ?

27 กุมภาพันธ์ 2567 – ตามที่มีการแชร์ข้ออันตรายของการใช้ยางรถยนต์ที่เสื่อมสภาพ เช่น การยึดเกาะถนนที่ลดลง และ เสี่ยงแตกหรือระเบิดขณะใช้งานนั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ Q : ดอกยางเหลือน้อยจะทำให้การเกาะถนนลดลง ระยะเบรกเพิ่มขึ้น ?A : เมื่อยางรถยนต์เสื่อมสภาพ ก็จะทำให้ดอกยางนั้นลึกลงไปจนแทบไม่เหลือดอกยาง ทำให้ระยะของการเบรกนั้นผิดปกติจากที่เคยเป็น หรืออาจทำให้ระยะเบรกยาวขึ้น  Q : หากยางเก่ามาก เนื้อยางจะแข็งกระด้าง ขาดความนุ่มนวล ?A : ยางเก่าเก็บ หรือ ยางหมดอายุการใช้งาน เช่น แก้มยางมีรอยแตกลายงา บวม ฉีกขาด ดอกยางหมดสภาพ ส่งผลให้เนื้อยางแข็งกระด้าง ขาดความนุ่มนวล และไม่ดูดซับแรงกระแทกจากผิวจราจรที่ขรุขระ ระยะเบรกจะยาวขึ้น เพราะหน้ายางไม่เกาะถนนแล้ว Q : เสี่ยงยางแตกหรือระเบิดขณะใช้งาน ?A : ยางรถยนต์ระเบิดนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ […]

1 2 3 4
...