fossils of Soropod's footprints found in Tibet, China

ทิเบตพบรอยเท้าไดโนเสาร์กินพืชเล็กสุดในโลก

ปักกิ่ง 13 ม.ค.- คณะนักวิทยาศาสตร์จีนเปิดเผยการค้นพบแหล่งรอยเท้าไดโนเสาร์จำนวน 2 แห่งที่หมู่บ้านในเมืองชางตู เขตปกครองตนเองทิเบต (ซีจ้าง) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน หนึ่งในนั้นเป็นแหล่งฟอสซิลรอยเท้าไดโนเสาร์กินพืชขนาดเล็กที่สุดในโลกที่มีอายุกว่า 166 ล้านปี สำนักข่าวซินหัวของทางการจีนรายงานว่า ทีมนักธรณีวิทยาค้นพบร่องรอยลักษณะคล้ายสัตว์เลื้อยคลานบนพื้นที่ริมถนนของหมู่บ้านเมื่อเดือนกรกฎาคม 2566 จึงประสานงานกับคณะนักบรรพชีวินวิทยาเพื่อวิเคราะห์เชิงลึกจนสามารถระบุว่า เป็นรอยเท้าของไดโนเสาร์กลุ่มซอโรพอด (Sauropod) ที่เป็นไดโนเสาร์กินพืช และกลุ่มเทโรพอด (Theropod) ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อจากยุคจูราสสิกกลาง วารสารฮิสทอริคัล ไบโอโลจี (Historical Biology) ได้เผยแพร่ผลการศึกษานี้ทางออนไลน์เมื่อปลายเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ผลการศึกษาพบว่า แหล่งรอยเท้าไดโนเสาร์หนึ่งแห่งมีร่องรอยการเดินของไดโนเสาร์กลุ่มเทโรพอดขนาดใหญ่ต่อเนื่องกัน 3 รอย แต่ละรอยยาวราว 42 เซนติเมตร คาดว่าเป็นของกลุ่มฟอสซิลรอยเท้ายูบรอนเตส (Eubrontes) ซึ่งพบไม่บ่อยในบันทึกรอยเท้าไดโนเสาร์ยุคจูราสสิกของทิเบต รอยเท้าเหล่านี้บ่งชี้ว่า ภูมิภาคนี้เคยเป็นที่อยู่ของไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดกลางที่อาจมีลำตัวยาวถึง 6 เมตร ขณะอีกหนึ่งแห่งมีรอยเท้าไดโนเสาร์กลุ่มซอโรพอดขนาดเล็กที่อยู่กระจัดกระจาย ขนาด 8.8-15.5 เซนติเมตร คาดว่าเป็นของไดโนเสาร์มากกว่า 6 ตัว ซึ่งมีลำตัวยาวไม่เกิน 2 เมตร นักวิชาการของมหาวิทยาลัยธรณีศาสตร์แห่งประเทศจีน (ปักกิ่ง) ผู้เขียนหลักของการศึกษานี้ระบุว่า การพบรอยเท้าซอโรพอดขนาดเล็กเช่นนี้ถือว่าหายาก […]

พบฟอสซิลไดโนเสาร์สมบูรณ์ที่สุดที่เคยพบในอังกฤษใน 100 ปี

พบซากฟอสซิลไดโนเสาร์กินพืชที่ประมาณการว่ามีชีวิตอยู่บนโลกเมื่อประมาณ 125 ล้านปีก่อนที่บริเวณเกาะไอล์ออฟไวต์ (Isle of Wight) ในอังกฤษ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเป็นตัวอย่างฟอสซิลที่มีความสมบูรณ์ที่สุดที่เคยพบในอังกฤษในรอบ 1 ศตวรรษ

...