พิสูจน์ซากโลมาลายแถบหาสาเหตุลอยตายกลางทะเลกระบี่

กระบี่พบโลมาลายแถบตัวยาว 2 เมตร ลอยตายกลางทะเล สภาพเริ่มอืด ส่งซากพิสูจน์เร่งหาสาเหตุ รองผู้ว่าฯ ห่วงช่วงนี้พบสัตว์ทะเลหายากตายบ่อย

ยังน่าห่วงอาการโลมาลายแถบเกยตื้นหาดภูเก็ต

ภูเก็ต 3 ธ.ค.-สัตวแพทย์ดูแลใกล้ชิดโลมาลายแถบบาดเจ็บเกยตื้นหาดในยาง ภูเก็ต เมื่อ  5 วันที่ผ่านมา อาการยังน่าห่วงต้องพยุงว่ายน้ำตลอด ให้ยาฆ่าเชื้อ พร้อมใช้เทคโนโลยีเลเซอร์ช่วยรักษา ความคืบหน้าอาการของโลมาลายแถบ เพศเมีย ขนาดลำตัวยาวประมาณ  1.5 เมตร เกยตื้นบริเวณหาดในยาง อุทยานแห่งชาติสิรินาถ ต.สาคู อ.ถลาง จ.ภูเก็ต เมื่อวันที่ 28 พ.ย.ที่ผ่านมา ในสภาพบาดเจ็บมีบาดแผลบริเวณครีบหลัง และปากที่เกิดจากเกยตื้นติดอยู่ในซอกหิน เจ้าหน้าที่กลุ่มสัตว์ทะเลหายาก ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน (ศวทม.) จึงนำอนุบาลที่บ่อเลี้ยง โดยให้ยาคลายเครียด สารน้ำ และเจาะเลือดเพื่อตรวจหาสาเหตุ พร้อมใช้ชูชีพช่วยพยุงตัว เนื่องจากโลมาไม่สามารถทรงตัวได้ และหัวมุดน้ำตลอดเวลา น.ส.พัชราภรณ์ แก้วโม่ง สัตวแพทย์ประจำกลุ่มสัตว์ทะเลหายากฯ กล่าวว่า  ล่าสุด (3 ธ.ค.) อาการของโลมายังอยู่ในขั้นวิกฤติ เนื่องจากติดเชื้อและมีบาดแผลที่ครีบ ทำให้ร่างกายอ่อนแอ ว่ายน้ำไม่ได้ เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครต้องผัดเปลี่ยนกันช่วยพยุงโลมาตลอดเวลา เพื่อให้ว่ายน้ำ ขณะเดียวกันก็ให้ยาฆ่าเชื้อ และใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีเลเซอร์เข้ามาช่วยในการรักษาบาดแผลอักเสบตรงครีบและลดอาการปวดกล้ามเนื้อของโลมา แต่อาการยังไม่พ้นวิกฤติ ซึ่งเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครทุกคนได้พยายามอย่างเต็มความสามารถในการช่วยชีวิตโลมา.-สำนักข่าวไทย

ดูแลใกล้ชิดอาการโลมาลายแถบเกยตื้นชายฝั่งสตูล

สตูล 23 ต.ค.-  สัตวแพทย์ประเมินอาการโลมาลายแถบในบ่ออนุบาลของกรมประมงทุกชั่วโมง หลังเกยตื้นชายฝั่งสตูลเมื่อ 2 วันที่ผ่านมา ล่าสุดยังว่ายน้ำเองไม่ไหวต้องใช้เครื่องพยุง พร้อมประสานทีมเชี่ยวชาญจากภูเก็ตมาช่วยวิเคราะห์การรักษา กรณีชาวบ้านพบโลมาลายแถบสภาพอ่อนแรงเกยตื้นหาดกาสิง  บ้านบ่อเจ็ดลูก  ตำบลปากน้ำ  อำเภอละงู  จังหวัดสตูล  เมื่อวันที่  21 ต.ค.ที่ผ่านมา และแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาช่วยเหลือ เบื้องต้นไม่พบบาดแผลตามลำตัว เป็นโลมาเพศผู้ ลำตัวยาวประมาณ 2 เมตร น้ำหนัก 70 กิโลกรัม และนำมาอนุบาลที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงอันดามันตอนล่าง (สตูล) กรมประมง ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู  ล่าสุด (23 ต.ค.) ทีมสัตวแพทย์จากสถาบันทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย  วิทยาเขตตรัง ยังคงเฝ้าติดตามอาการโลมาลายแถบทุกครึ่งชั่วโมง อีกทั้งยังต้องใช้อุปกรณ์ช่วยพยุงตัวโลมา เพื่อป้องกันการกระแทกขณะว่ายอยู่ในบ่ออนุบาล และวันพรุ่งนี้ (24 ต.ค.) จะมีทีมเชี่ยวชาญด้านโลมาจากจังหวัดภูเก็ตมาช่วยวางแผนการรักษา.-สำนักข่าวไทย

โลมาลายแถบเกยตื้นพังงาต้องใช้เครื่องพยุงตัว ส่งเลือดตรวจหาสาเหตุป่วย

ภูเก็ต 27 มิ.ย.- แม่โลมาลายแถบเกยตื้นที่พังงายังทรงตัวไม่ได้ต้องใช้ชูชีพพยุง สัตวแพทย์ห่วงภาวะติดเชื้อจากบาดแผลประเมินอาการใกล้ชิด พร้อมเก็บตัวอย่างเลือดส่งห้องแล็บตรวจหาสาเหตุป่วย ระบุลูกโลมาที่เกยตื้นด้วยถูกปล่อยสู่ทะเล เพราะได้วิเคราะห์ความเหมาะสมหลายด้านแล้ว นางสาวพัชราภรณ์ แก้วโม่ง สัตวแพทย์ประจำกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน (ศวทม.) จ.ภูเก็ต นายนเรศ ชูผึ้ง ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล สำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 9 หรือ สบทช.9 และเจ้าหน้าที่ยังคงดูแลโลมาลายแถบอย่างใกล้ชิดในบ่ออนุบาล ศวทม. เป็นโลมาเพศเมียความยาวลำตัว 214 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 70 กิโลกรัม หลังจากวานนี้ (26 มิ.ย.) เจ้าหน้าที่ได้ช่วยเหลือพร้อมโลมาอีกตัว เพศผู้ คาดว่าเป็นลูก ขณะเกยตื้นหาดคลองสน เกาะยาวใหญ่ จังหวัดพังงา โดยพบว่าโลมาตัวแม่มีสภาพอ่อนแรง ส่วนตัวลูกปกติและปล่อยกลับสู่ทะเล นางสาวพัชราภรณ์ กล่าวว่า อาการของโลมาลายแถบตัวแม่ขณะนี้ ยังไม่สามารถทรงตัวได้เอง เจ้าหน้าที่ต้องใช้ชูชีพพยุงตัวอยู่ตลอดเวลา ขณะที่อาการป่วยที่เกิดจากการติดเชื้อก็ยังอยู่ในระยะวิกฤติ ต้องดูแลอย่างใกล้ชิดไม่ต่ำกว่า 5-6 วัน อีกทั้งยังพบบาดแผลบริเวณโคนหาง ซึ่งเป็นผลจากการติดเชื้อ นอกจากนี้ ได้เก็บตัวอย่างเลือดไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ รวมถึงการเพาะเชื้อหาสาเหตุการป่วยให้ชัดเจน ช่วงนี้ได้ให้ยาไปตามอาการ  […]

สุดยื้อ “โลมา” เกยตื้นภูเก็ตติดเชื้อในกระแสเลือดตายแล้ว

ภูเก็ต 11 มิ.ย.-  โลมาลายแถบคลื่นซัดเกยหาดกมลา-ภูเก็ตเมื่อ 5 วันก่อน ตายแล้วติดเชื้อในกระแสเลือด  แม้สัตวแพทย์รักษาเต็มที่ดูแลทุกชั่วโมง ผลผ่าพิสูจน์ไม่พบสิ่งแปลกปลอมระบบภายใน ส่วนซากวาฬหัวทุยแคระที่หาดบ้านเกาะพร้าวพบติดเชื้อเช่นกัน รอผลตรวจชิ้นเนื้ออีกครั้ง กรณีเจ้าหน้าที่กลุ่มสัตว์ทะเลหายาก ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน ต.วิชิต อ.เมือง จ.ภูเก็ต นำโลมาลายแถบเพศผู้ มาอนุบาลในบ่อพัก เนื่องจากถูกคลื่นซัดขึ้นมาเกยตื้นหน้าหาดกมลาเมื่อวันที่ 6 พ.ย.ที่ผ่านมา ในสภาพอ่อนแรง ต้องใช้เสื้อชูชีพพยุงไว้ตลอดเวลา พร้อมให้น้ำเกลือและเจาะเลือดเพื่อประเมินผลการรักษาและดูอาการเป็นรายชั่วโมง สัตวแพทย์หญิงชวัชญา  เจียกวธัญญู และนายสัตวแพทย์ปฐมพงศ์ จงจิตต์ สัตวแพทย์ประจำกลุ่มกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก กล่าวว่า ล่าสุดโลมาตายแล้วจากการติดเชื้อในกระแสเลือด พบม้ามอักเสบ และหลุมในกระเพาะอาหาร จากการผ่าพิสูจน์ไม่พบสิ่งแปลกปลอมในกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นการป่วยตายตามธรรมชาติ ส่วนวาฬหัวทุยแคระ เพศผู้ ที่ชาวบ้านเกาะมะพร้าว หมู่ 6 ต.เกาะแก้ว อ.เมือง จ.ภูเก็ต พยายามช่วยกันส่งกลับลงทะเลหลังว่ายเข้าหาฝั่ง เมื่อวันที่ 9 มิ.ย.ที่ผ่านมา และตายในเวลาต่อมานั้น ผลจากการผ่าพิสูจน์พบว่าวาฬหัวทุยแคระ ป่วยตายตามธรรมชาติ ซึ่งอาการป่วยมีภาวะช็อก สำลักน้ำ มีลักษณะของการติดเชื้อ พบแผลหลุมที่กระเพาะอาหาร มีฟองอากาศในหลอดลมค่อนข้างมาก […]

เร่งช่วยโลมาลายแถบเกยตื้นหาดกมลา แพทย์สังเกตอาการ 24 ชม.

ภูเก็ต 7 มิ.ย.- สัตวแพทย์ศูนย์วิจัยฯ ชายฝั่งอันดามันเฝ้าสังเกตุอาการโลมาลายแถบ 24 ชั่วโมง หลังถูกนำส่งเมื่อคืนที่ผ่านมาขณะเกยตื้นในสภาพอ่อนแรงชายหาดกมลา ตามตัวไม่พบบาดแผล คาดเจ็บป่วยระบบภายใน ภูเก็ต 7 มิ.ย.- ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอันดามัน แหลมพันวา ต.วิชิต อ.เมือง จ.ภูเก็ต สัตวแพทย์ประจำกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก  เฝ้าดูอาการของโลมาในบ่ออนุบาลตลอด 24 ชั่วโมง หลังให้การรักษาฉีดยาปฏิชีวนะและยาบำรุง ซึ่งโลมาดังกล่าวชาวบ้านพบเกยตื้นอยู่บริเวณหาดกมลา ใกล้สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 100 ปี หรือสวนสาธารณะอนุสรณ์สึนามิกมลา ม.3 ต.กมลา อ.กะทู้ เมื่อคืนที่ผ่านมา (6 มิ.ย.) จึงรีบแจ้งหน่วยกู้ชีพ อบต.กมลา และชุดปฏิบัติการกู้ภัยทางน้ำ กองกำกับการ 8 กองบังคับการตำรวจน้ำภูเก็ต ช่วยเคลื่อนย้ายส่งให้สัตวแพทย์เร่งรักษา เนื่องจากอาการที่พบอยู่ในสภาพอ่อนแรง หายใจช้า และลักษณะเกร็งเป็นระยะ เจ้าหน้าที่ต้องใช้วิธีการกดนวดเพื่อกระตุ้นหัวใจ  เบื้องต้นคาดว่าเป็นโลมาลายแถบ (Striped dolphin) ยังไม่ทราบเพศ ลำตัวยาวประมาณ 1.5 – 1.7  เมตร ไม่มีบาดแผล […]

ช่วยไม่ทันโลมาลายแถบเกยหาดกะรน

ภูเก็ต 31 ก.ค.- โลมาลายแถบเกยหาดกะรนสภาพอ่อนแรง จนท.ศูนย์วิจัยฯ ชายฝั่งอันดามันเร่งช่วยเต็มที่ แต่ไม่รอด เตรียมผ่าพิสูจน์หาสาเหตุ วันนี้ (31 ก.ค.) เจ้าหน้าที่กลุ่มสัตว์ทะเลหายาก ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน เร่งช่วยเหลือโลมาเกยตื้นชายหาดกะรน อ.เมือง จ.ภูเก็ต หลังรับแจ้งจากชาวบ้าน โดยพบว่าเป็นโลมาชนิดลายแถบ เพศผู้ อายุประมาณ 20 ปี สภาพอ่อนแรงและมีแผลบริเวณใต้ปาก จึงนำกลับไปอนุบาลที่สถาบันวิจัยฯ แต่โลมาตัวดังกล่าวตายในเวลาต่อมา คาดว่ามีการติดเชื้ออย่างรุนแรง ซึ่งเจ้าหน้าที่จะต้องผ่าพิสูจน์หาสาเหตุให้แน่ชัด จากการสอบถามนักท่องเที่ยวบริเวณชายหาดทราบว่าเห็นโลมา 3 ตัว ว่ายเข้ามาชายฝั่ง เจ้าหน้าที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเลหรือบีชการ์ดได้เข้าไปช่วย แต่อีก 2 ตัวได้ว่ายออกไปกลางทะเลแล้ว เหลือเพียงตัวเดียวที่ขึ้นเกยตื้น.-สำนักข่าวไทย

...