รอง ผบ.ตร.เร่งประสานพม่านำ 92 คนไทย ที่ถูกหลอกกลับบ้านเกิด
“พล.ต.อ.สุรเชษฐ์” รอง ผบ.ตร.เร่งประสานทางการพม่านำตัว 92 คนไทยที่ถูกหลอกไปทำงานค้าประเวณีและแก๊งคอลเซ็นเตอร์ในเมืองเมียวดี กลับประเทศไทยภายในสัปดาห์นี้
“พล.ต.อ.สุรเชษฐ์” รอง ผบ.ตร.เร่งประสานทางการพม่านำตัว 92 คนไทยที่ถูกหลอกไปทำงานค้าประเวณีและแก๊งคอลเซ็นเตอร์ในเมืองเมียวดี กลับประเทศไทยภายในสัปดาห์นี้
ย่างกุ้ง 11 ก.พ.- รัฐบาลทหารเมียนมาประกาศเกณฑ์ทหารคนหนุ่มสาวทุกคน ในช่วงที่กำลังหาทางควบคุมกองกำลังติดอาวุธในหลายพื้นที่ของประเทศที่ต่อสู้เพื่อให้ได้อำนาจปกครองตนเองมากขึ้น สื่อทางการเมียนมารายงานว่า ชายอายุ 18-35 ปี และหญิงอายุ 18-27 ปี จะต้องเป็นทหารรับใช้ชาติ 2 ปี ส่วนผู้มีอาชีพพิเศษ เช่น แพทย์ อายุไม่เกิน 45 ปีจะต้องเป็นทหาร 3 ปี และสามารถขยายเป็นสูงสุด 5 ปีได้ในช่วงเวลาที่ใช้สถานการณ์ฉุกเฉินอยู่ในขณะนี้ โฆษกรัฐบาลเผยกับสื่อทางการว่า หน้าที่ในการปกปักและปกป้องประเทศชาติไม่ได้เป็นของทหารเท่านั้น แต่ได้ขยายไปถึงพลเมืองทุกคน จึงอยากให้ทุกคนปฏิบัติตามกฎหมายการเกณฑ์ทหารนี้อย่างภาคภูมิใจ เมียนมามีกฎหมายการเกณฑ์ทหารตั้งแต่ปี 2553 แต่ยังไม่เคยบังคับใช้จนกระทั่งปัจจุบัน ผู้ไม่ไปรับการเกณฑ์ทหารจะถูกจำคุกสูงสุด 5 ปี นักวิเคราะห์ชี้ว่า กองทัพเมียนมาหรือทัตมาดอว์ (Tatmadaw) กำลังมีปัญหาในการหาทหารไปสู้รบ และได้เริ่มบังคับบุคลากรที่ไม่ได้สู้รบออกไปยังแนวหน้า เมียนมาตกอยู่ในภาวะโกลาหลตั้งแต่กองทัพรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลพลเรือนเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 และนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 กองทัพได้สูญเสียกำลังพลไปมากในการสู้รบกับกลุ่มชาติพันธุ์ 3 กลุ่มที่จับมือกันเป็นพันธมิตร รวมถึงกองกำลังเรียกร้องประชาธิปไตยที่จับอาวุธขึ้นสู้กับกองทัพ.-814.-สำนักข่าวไทย
“ปานปรีย์” ระบุเดินหน้าตั้งจุดมนุษยธรรมชายแดนไทย-เมียนมา หลังพบสถานการณ์สู้รบส่งผลกระทบการค้าชายแดน ยัน ไม่มีนโยบายคว่ำบาตรเมียนมา ลั่นรัฐบาลเอาจริงอาชญากรรมข้ามชาติ ค้ามนุษย์ พนันออนไลน์ ทุนจีนสีเทากระทบทั่วโลก
“ปานปรีย์” ลงพื้นที่ดูจุดริเริ่มส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมชายแดนไทย-เมียนมา เผยประสานลงตัว คาด 1 เดือนเห็นเป็นรูปธรรม ยืนยัน ไม่ใช่ศูนย์ลี้ภัย โต้คนกังขา ประสานกาชาดเมียนมาเป็นกลางหรือไม่ เชื่อเจตนาต้องการช่วยเหลือผู้เดือดร้อน ลั่น ไม่ใช่เรื่องการเมือง มอง ปัญหาภายในไม่ขอแทรกแซง
คณะผู้แทนของสหประชาชาติเข้าร่วมการประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเมื่อวานนี้ เพื่อหารือเกี่วกับสถานการณ์ความขัดแย้งที่ยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่องในเมียนมา
“ปานปรีย์” กล่าวถ้อยแถลงวงประชุม “อียู-อาเซียน” หวังยุโรปหนุนโครงการมนุษยธรรม “เมียนมา” ชี้ ก้าวเข้าสู่ 2024 ได้เดือนเดียว แต่แนวโน้มสันติภาพ-เสถียรภาพไม่ดีนัก ย้ำต้องสร้างความร่วมมือภายใน-ระหว่างภูมิภาค เน้น 3 หลักใหญ่ รับมือความไม่แน่นอนภูมิรัฐศาสตร์-ความเชื่อมโยงทุกมิติ-แนวทางความยั่งยืน
ย่างกุ้ง 2 ก.พ.- ผู้คนทั่วเมียนมาเข้าร่วมการ “ประท้วงเงียบ” ต่อต้านรัฐบาลทหารที่ทำรัฐประหารครบรอบ 3 ปี จนท้องถนนในย่างกุ้งเงียบเหงาไร้ผู้คน ชาวเมียนมาทั้งในนครย่างกุ้งและอีกหลายเมืองทั่วประเทศ เข้าร่วมการประท้วงเงียบต่อต้านรัฐบาลทหารของพลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย ที่ทำรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือนครบรอบ 3 ปีเมื่อวานนี้ โดยชาวเมียนมาต่างพร้อมใจเก็บตัวอยู่ในบ้านไม่ออกไปทำงาน จนทำให้ท้องถนนในหลายเมืองโดยเฉพาะในนครย่างกุ้ง เมืองหลวงเก่า และเมืองเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในประเทศ ว่างโล่งแทบไร้ยวดยานพาหนะและผู้คนเกือบจะตลอดทั้งวัน ขณะเดียวกันกลุ่มผู้ประท้วงหลายร้อยคนซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวเมียนมาไปรวมตัวชุมนุมกันที่หน้าอาคารสำนักงานสหประชาชาติ บนถนนราชดำเนินในกรุงเทพฯ เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลทหารเมียนมายุติการยึดอำนาจ หลังทำรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือนของนาง ออง ซาน ซูจี ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 แกนนำผู้ประท้วงบอกว่าที่ต้องมาชุมนุมกันที่หน้ายูเอ็นก็เพราะต้องการให้โลกได้รับรู้ถึงข้อเรียกร้องของชาวเมียนมา และต้องการแสดงความไม่พอใจต่อพลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผู้นำรัฐบาลทหารเมียนมา ในวันเดียวกันรัฐบาลทหารเมียนมาได้ประกาศขยายเวลาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินออกไปอีก 6 เดือน หลังจากที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินมาโดยตลอดนับตั้งแต่วันที่ทำรัฐประหารเมื่อ 3 ปีก่อน รัฐบาลให้เหตุผลว่ายังมีภารกิจสำคัญในการนำพาประเทศกลับสู่สถานการณ์ปกติและความสงบสุข ขณะที่ในเวลานี้รัฐบาลกำลังเจอกับแรงต่อต้านครั้งรุนแรงที่สุดจากกองกำลังชนกลุ่มน้อยและฝ่ายต่อต้านรัฐบาลที่ผนึกกำลังกันต่อสู้กับกองทัพ อย่างไรก็ดี การขยายเวลาสถานการณ์ฉุกเฉินออกไป จะทำให้การเลือกตั้งต้องล่าช้าออกไปอีก เนื่องจากรัฐธรรมนูญกำหนดให้จัดการเลือกตั้งภายใน 6 เดือนหลังยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน.-815(814).-สำนักข่าวไทย
กระทรวงความมั่นคงสาธาณะของจีนรายงานว่า ตำรวจเมียนมาได้ส่งตัวแกนนำแก๊งฉ้อโกงทางโทรคมนาคม หรือ คอลเซ็นเตอร์ โกก้าง 6 ราย รวมถึงผู้ต้องสงสัยคดีอาชญากรรมใหญ่อีก 4 ราย
รัฐบาลทหารเมียนมาประกาศผ่อนคลายระเบียบการลงทะเบียนเลือกตั้งของพรรคการเมือง ก่อนที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินซึ่งใช้มาตั้งแต่รัฐประหารเมื่อเกือบ 3 ปีก่อนจะสิ้นสุดลงในอีกไม่กี่ชั่วโมงในวันนี้
ย่างกุ้ง 29 ม.ค.- รัฐบาลเมียนมาจับกุมคนสัญชาติจีนมากกว่า 1,000 คน ทางตอนใต้ของรัฐฉาน สันนิษฐานว่าเป็นกลุ่มที่หนีการกวาดล้างแก๊งหลอกลวงออนไลน์ทางตอนเหนือของรัฐเดียวกัน เว็บไซต์วิทยุเอเชียเสรีหรืออาร์เอฟเอ (RFA) ภาคภาษาเมียนมารายงานว่า รัฐบาลเมียนมาประกาศเมื่อวันที่ 26 มกราคมว่า จับกุมชาวจีนทั้งหมด 1,038 คนที่ลอบเข้าเมืองน้ำสั่น (Namhsan) เมืองเอกของเขตปกครองตนเองปะหล่อง ทางใต้ของรัฐฉาน โดยลอบเข้ามาเมื่อวันที่ 23 มกราคมและถูกจับกุมใน 3 พื้นที่ แบ่งเป็นผู้ชาย 1,002 คน ผู้หญิง 36 คน ชาวบ้านเผยว่า ชาวจีนมากกว่า 200 คน ถูกควบคุมตัวชั่วคราวไว้ในสนามกีฬาในร่ม แต่ไม่ทราบว่าคนอื่น ๆ ถูกควบคุมตัวไว้ที่ใด ชาวบ้านสันนิษฐานว่า ชาวจีนเหล่านี้พัวพันกับแก๊งหลอกลวงออนไลน์และลงมาทางใต้ หนีการสู้รบระหว่างกองทัพกับกลุ่มชาติพันธุ์ติดอาวุธและกองกำลังต่อต้าน รวมถึงหนีการกวาดล้างแก๊งอาชญากรรมไซเบอร์ชาวจีนในเมืองอื่นของรัฐฉานอย่างเล่าก์ก่าย ท่าขี้เหล็ก และเมืองลา พื้นที่ทางเหนือของรัฐฉานกลายเป็นที่ตั้งของแก๊งหลอกลวงออนไลน์ชาวจีนที่มุ่งหลอกคนชาติเดียวกัน ทางการจีนเริ่มการกวาดล้างตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2566 จับกุมชาวจีนทำผิดกฎหมายในพื้นที่ชาวว้าและเมืองลาได้เป็นครั้งแรก และได้ออกหมายจับชาวจีนแล้ว 10 คนนับจากวันที่ 10 ธันวาคม 2566 […]
รมว.กต. เผยที่ประชุมรมต.ต่างประเทศอาเซียนตอบรับข้อเสนอไทย ริเริ่มสร้างจุดมนุษยธรรมชายแดนไทย-เมียนมา ด้านเมียนมายอมเปิดให้ AHA เข้าสังเกตการณ์ พร้อมกำหนดขอปล่อยตัวประกันในฉนวนกาซ่าโดยไม่มีเงื่อนไข
หลวงพระบาง 29 ม.ค.- เมียนมาส่งข้าราชการเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนที่ สปป.ลาว ในวันนี้ หลังจากไม่ส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุมอาเซียนในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา นางเรตโน มาร์ซูดี รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซียส่งข้อความสั้นถึงรอยเตอร์ว่า นายมาลาร์ ตัน ไฮค รักษาการปลัดกระทรวงต่างประเทศเมียนมาเป็นตัวแทนเมียนมาเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนที่หลวงพระบางในวันนี้ สอดคล้องกับจุดยืนของอาเซียนที่ไม่เปลี่ยนแปลงนโยบาย และไม่ให้เมียนมามีผลต่อการตัดสินใจของอาเซียน ด้านแหล่งข่าวทางการทูตอีก 2 คนยืนยันว่า เมียนมาส่งข้าราชการมาร่วมประชุม อาเซียนห้ามนายพลเมียนมาเข้าร่วมการประชุมสำคัญของอาเซียนตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2565 เนื่องจากเมียนมาไม่มีความคืบหน้าในการปฏิบัติตามฉันทามติ 5 ประการที่ตกลงกับอาเซียนในเดือนเมษายน 2564 หลังจากกองทัพเมียนมารัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลพลเรือนในเดือนกุมภาพันธ์ปีเดียวกัน อาเซียนขอให้เมียนมาส่งบุคคลที่ไม่ใช่ตัวแทนทางการเมืองมาร่วมประชุมแทน แต่รัฐบาลทหารเมียนมาไม่ส่งตัวแทนเข้าร่วมในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โดยมองว่าอาเซียนแทรกแซงกิจการภายใน.-814.-สำนักข่าวไทย