ไฟเซอร์แจกสูตรยาเม็ดต้านโควิดแต่ไร้ชื่อไทย

วอชิงตัน 17 พ.ย. – ไฟเซอร์ อิงค์ บริษัทเวชภัณฑ์ของสหรัฐ ลงนามในข้อตกลงกับองค์การจัดการสิทธิบัตรยาที่ได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติ เพื่อแจกสูตรการผลิตยาเม็ดต้านโควิดที่บริษัทพัฒนาขึ้น หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ แพ็กซ์โลวิด ให้แก่ผู้ผลิตยาที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา 95 ประเทศ แต่ไม่มีประเทศไทยอยู่ในบัญชีรายชื่อนี้ บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ หรือบีบีซี รายงานว่า ข้อตกลงดังกล่าวจะทำให้ยาแพ็กซ์โลวิดที่กำลังอยู่ในระหว่างการทดลองมีโอกาสเข้าถึงประชากรร้อยละ 53 ของโลก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศในทวีปแอฟริกาและเอเชีย แต่กลับไม่มีรายชื่อของบางประเทศที่เผชิญกับการระบาดของโรคโควิด-19 อย่างหนัก เช่น บราซิล จีน รัสเซีย อาร์เจนตินา และประเทศไทย ขณะที่ไฟเซอร์ระบุในแถลงการณ์เมื่อวันอังคารตามเวลาท้องถิ่นว่า ข้อตกลงดังกล่าวจะอนุญาตให้ผู้ผลิตยาในประเทศกำลังพัฒนาผลิตยาแพ็กซ์โลวิดได้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ยาดังกล่าวเข้าถึงประชากรทั่วโลกได้มากขึ้น โดยที่ไฟเซอร์จะไม่เก็บค่าตอบแทนจากกลุ่มประเทศรายได้ต่ำที่มีรายชื่ออยู่ในข้อตกลงตราบใดที่องค์การอนามัยโลกยังคงกำหนดให้โรคโควิด-19 เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ ในขณะเดียวกัน ผู้เชี่ยวชาญหลายรายให้ความเห็นว่า ข้อตกลงดังกล่าวยังไม่เพียงพอที่จะแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงยารักษาโรคโควิด-19 และวัคซีนป้องกันโรคโควิด ด้านองค์การแพทย์ไร้พรมแดนเผยกับสำนักข่าวเอพีว่า รู้สึกผิดหวังกับข้อตกลงในครั้งนี้ที่ไม่ได้ทำให้ยาเม็ดต้านโควิดของไฟเซอร์เข้าถึงทุกคนบนโลก ทั้งนี้ ไฟเซอร์ได้เผยผลการทดลองทางคลินิกในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมาว่า ยาแพ็กซ์โลวิดช่วยลดอัตราเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลหรือเสียชีวิตในกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อวัยผู้ใหญ่ที่มีความเสี่ยงสูงได้ถึงร้อยละ 89.-สำนักข่าวไทย

เมิร์คไฟเขียวแจกสูตรยา “โมลนูพิราเวียร์” ให้ประเทศยากจน

วอชิงตัน 29 ต.ค. – เมิร์ค แอนด์ โค บริษัทเวชภัณฑ์ของสหรัฐ เผยเมื่อวันพุธตามเวลาท้องถิ่นว่า ได้ลงนามในข้อตกลงด้านสิทธิบัตรยากับองค์การจัดการสิทธิบัตรยา (MPP) ที่ได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติ หรือยูเอ็น เพื่อเปิดทางให้บริษัทยาในประเทศรายได้ต่ำถึงปานกลาง 105 ประเทศเข้าถึงยาโมลนูพิราเวียร์ เมิร์คและองค์การจัดการสิทธิบัตรยาระบุในแถลงการณ์ร่วมว่า บริษัทยาในประเทศรายได้ต่ำถึงปานกลาง 105 ประเทศสามารถยื่นเรื่องขอรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีผลิตยาโมลนูพิราเวียร์โดยไม่เสียค่าสิทธิบัตรตราบเท่าที่องค์การอนามัยโลกยังคงจัดให้การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ อย่างไรก็ดี องค์การแพทย์ไร้พรมแดน หรือเอ็มเอสเอฟ ได้แสดงความผิดหวังเกี่ยวกับการให้สิทธิบัตรยาดังกล่าวอย่างจำกัดของเมิร์ค เนื่องจากไม่นับรวมประชากรอีกเกือบครึ่งหนึ่งของโลกและประเทศที่มีรายได้ปานกลางค่อนข้างสูงที่มีกำลังการผลิตยาสูง เช่น บราซิลและจีน ขณะนี้ สำนักงานอาหารและยาของสหรัฐ หรือเอฟดีเอ กำลังพิจารณาอนุมัติใช้ยาโมลนูพิราเวียร์เป็นกรณีฉุกเฉิน โดยที่ผลการทดลองทางคลินิกระบุว่า ยาดังกล่าวช่วยลดอัตราป่วยรุนแรงและเสียชีวิตได้ร้อยละ 50 ในกลุ่มผู้ป่วยโควิดที่ได้รับยาตั้งแต่เนิ่น ๆ.-สำนักข่าวไทย

กรมทรัพย์สินปัญญามั่นใจสิทธิบัตรไม่ทำให้ราคายาสูงขึ้น

กรมทรัพย์สินฯ มั่นใจสิทธิบัตรไม่ทำให้ราคายาสูงขึ้น หลังสงกรานต์เสนอนายกฯ ใช้ ม.44 แก้ปัญหาจดสิทธิบัตรล่าช้า

อย. เผยกรณีสิทธิบัตรยาคนละระบบกับการขึ้นทะเบียนยา

อย.เผยการจดสิทธิบัตรยาและการขึ้นทะเบียนยาเป็นคนละระบบได้สิทธิบัตรแล้วก็ต้องยื่นขอจดทะเบียนยากับ อย.ส่วนเรื่องราคามีระบบจัดซื้อ-ต่อรองมีกม.กำกับอยู่

...