ราชวิทยาลัยชี้ยังไม่มีงานวิจัยใช้สารออกฤทธิ์ในกัญชารักษามะเร็ง

ถ.เพชรบุรี 21 พ.ค.-ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ ชี้การใช้สารออกฤทธิ์กัญชารักษาโรคในคนได้เพียงบางโรค และยังไม่พบว่ามีงานวิจัยที่ระบุว่ารักษาโรคมะเร็งได้ ทั้งนี้การใช้ต้องควบคุมมาตรฐานตั้งแต่การปลูกจนถึงขั้นตอนการสกัดเป็นยา ในการแถลงข่าว ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย เรื่อง ‘สังคมไทย :ทางไปของกัญชา’ผศ.นพ.สหภูมิ ศรีสุมะ อายุรแพทย์ ศูนย์พิษวิทยา ภาค วิชาอายุศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และตัวแทนราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในขณะนี้สังคมไทยกำลังตื่นตัวในเรื่องการใช้ประโยชน์จากกัญชากันมากจนบางครั้งเกิดความสับสนของข้อมูลและความเข้าใจของประชาชนโดยในทางการแพทย์อยากให้มองเรื่องกัญชาที่การใช้ประโยชน์จากสารออกฤทธิ์ในตัวกัญชา นั่นคือสารกลุ่มแคนนาบินอยด์ ซึ่งประกอบด้วยสาร THC และ CBD ที่ทางการแพทย์ในประเทศเปิดเสรีกัญชาหลายประเทศได้นำมาใช้เป็นยารักษาผู้ป่วยทางการแพทย์ การใช้สารTHC ในขนาดที่เหมาะสมจะมีผลในการลดปวด ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อลดอาการคลื่นไส้ แต่หากได้รับในปริมาณสูงจะทำให้มีอาการเคลิ้มใจสั่นหน้ามืดเห็นภาพหลอน รบกวนการรับรู้การตัดสินใจและความจำนอกจากนี้การใช้สารชนิดนี้ขนาดสูงสม่ำเสมอทำให้เกิดภาวะดื้อต่อสารทำให้ต้องมีการเพิ่มขนาดเพื่อจะให้ได้ผลเท่าเดิมและเกิดการติดยาได้ ส่วนสาร CBD เป็นสารที่มีฤทธิ์ต้านอาการเมาเคลิ้มและอาการทางจิตที่ เกิดจากสาร THC  จึงใช้สารCBD เพื่อควบคุมอาการชักและอาการปวดโดยพืชกัญชาแต่ละพันธุ์จะมีสารTHCและCBD ต่างกันขึ้นอยู่กับ เทคนิคการปลูกในการศึกษาในสหรัฐอเมริกา พบว่า ระดับค่าเฉลี่ยของTHCในพืชกัญชาเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ4ในปี 1995 เป็นร้อยละ 12 ในปี 2015 ขณะที่ค่า เฉลี่ยของสารCBD ลดลงจากเดิมร้อยละ 0.5 ในปี 2000 เหลือเพียงร้อยละ […]

...