“ดนุพร” ลั่นประเทศไทยเจ๊งไม่ได้ แต่นายกฯ ยุบสภา-ลาออกได้

“ดนุพร” สส.เพื่อไทย ชี้ “ชัยธวัช” ใช้วาทกรรมไม่เหมาะสม ลั่น นายกฯ ยุบสภา-ลาออกได้ แต่ประเทศไทยเจ๊งไม่ได้ ยกตัวอย่าง หากศาลยุบพรรค คือเจ๊งของจริง

อดีต ปธน.ฝรั่งเศสเตือนประเทศอาจวุ่นวาย

อดีตประธานาธิบดีฝรั่งเศสเตือนว่า การที่ประธานาธิบดีเอมานูว์แอล มาครง ตัดสินใจยุบสภาจัดการเลือกตั้งก่อนกำหนดอย่างไม่คาดคิด อาจก่อให้เกิดผลตรงข้ามกับที่คิด และทำให้ประเทศตกอยู่ในความวุ่นวาย

ไอโอซีชี้การเมืองฝรั่งเศสไม่กระทบโอลิมปิกปารีส 2024

ปารีส 10 มิ.ย. – นายโทมัส บาค ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากล หรือไอโอซี (IOC) เผยวันนี้ว่า การเมืองในฝรั่งเศสจะไม่กระทบต่อการเตรียมการจัดการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน ปารีส 2024 หลังจากประธานาธิบดีเอมานูว์แอล มาครง ของฝรั่งเศส ประกาศยุบสภาจัดการเลือกตั้งอย่างกะทันหัน นายบาคกล่าวว่า ฝรั่งเศสเคยชินกับการจัดการเลือกตั้งอยู่แล้ว รัฐบาลชุดใหม่หลังการเลือกตั้งและทุกคนจะให้การสนับสนุนโอลิมปิก ผู้นำทางการเมืองของฝรั่งเศสล้วนมีความเป็นเอกภาพในการสนับสนุนมหกรรมกีฬานี้ เขาจึงไม่คิดว่า ความเป็นเอกภาพนี้จะพังทลายลงในช่วงไม่กี่วันก่อนที่โอลิมปิกฤดูร้อนจะเปิดฉากในวันที่ 26 กรกฎาคม และดำเนินไปจนถึงวันที่ 11 สิงหาคม ด้านนางอานน์ อิดัลโก นายกเทศมนตรีกรุงปารีส กล่าวว่า ไม่เข้าใจว่าเหตุใดประธานาธิบดีจึงเลือกที่จะทำให้ประเทศตกเข้าสู่ความไม่แน่นอนทางการเมืองขณะใกล้จะถึงโอลิมปิกปารีส 2024 ขณะที่นายโทนี เอสตองเกต์ ประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขันกล่าวว่า คณะกรรมการฯ มีความมุ่งมั่นมากยิ่งขึ้นที่จะทำให้การแข่งขันประสบความสำเร็จ เพราะนับตั้งแต่กรุงปารีสประกาศตัวชิงเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อน 2024 ก็มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นแล้วนับสิบครั้ง ประธานาธิบดีมาครงประกาศยุบสภาและจัดการเลือกตั้งก่อนกำหนดรอบแรกในวันที่ 30 มิถุนายน และรอบ 2 ในวันที่ 7 กรกฎาคม หลังจากพรรคเรเนซองส์ของเขาพ่ายแพ้ให้แก่พรรคเนชันนัลสายขวาจัดในการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภายุโรปที่เสร็จสิ้นลงเมื่อวันอาทิตย์.-814.-สำนักข่าวไทย

“มาครง” ยุบสภาฝรั่งเศส-จัดเลือกตั้งใหม่ก่อนกำหนด

ประธานาธิบดี เอมมานูเอล มาครง ผู้นำฝรั่งเศส ประกาศยุบสภาและเตรียมจัดเลือกตั้งใหม่ก่อนกำหนด หลังผลเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภายุโรปชี้ พรรคฝ่ายขวาทำผลงานได้ดีเกินหน้าพรรครัฐบาล

นายกฯ อังกฤษเริ่มออกหาเสียงเลือกตั้งหลังประกาศยุบสภา

นายกรัฐมนตรีริชี ซูแน็ก ของอังกฤษ เริ่มออกหาเสียงเลือกตั้งแล้วที่ศูนย์นิทรรศการในกรุงลอนดอนเมื่อวานนี้ หลังจากเขาประกาศยุบสภาและจัดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 4 กรกฎาคมนี้

หากกู้เงินดิจิทัลวอลเล็ตไม่ผ่านวาระแรก ต้องลาออก​-ยุบสภาฯ  

ทำเนียบ 25 ธ.ค. –“วิษณุ”​ ไ​ม่ขอ​พยากรณ์​การเมืองปีหน้า​ บอก​ พ.ร.บ.กู้เงินไม่ผ่านวาระแรก นายกฯต้องลาออก​ หรือ​ ยุบสภาฯ  แม้จะเป็นเพียงธรรมเนียมปฏิบัติ ไร้ กม.บังคับ​

ปากีสถานจะยุบสภาวันนี้

อิสลามาบัด 9 ส.ค.- ปากีสถานจะยุบรัฐสภาในวันนี้ เพื่อเปิดทางให้รัฐบาลรักษาการที่นำโดยนักวิชาการดูแลการเลือกตั้ง ซึ่งจะไม่มีนายอิมราน ข่าน อดีตนายกรัฐมนตรีเข้าร่วมเพราะถูกตัดสินลงโทษจำคุก กฎหมายปากีสถานกำหนดให้ต้องจัดการเลือกตั้งภายใน 90 วันหลังการยุบสภา แต่มีข่าวลือสะพัดมาหลายเดือนว่า การเลือกตั้งอาจต้องเลื่อนออกไป ปากีสถานสำรวจสำมะโนประชากรครั้งล่าสุดเมื่อเดือนพฤษภาคม และเพิ่งเปิดเผยข้อมูลเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ รัฐบาลระบุว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องการเวลาในการกำหนดเขตเลือกตั้งใหม่ตามผลการสำมะโนประชากร  นักวิเคราะห์มองว่า การชะลอการเลือกตั้งอาจช่วยให้พรรคสันนิบาตมุสลิมปากีสถาน-นาวาซ (PML-N) และพรรคประชาชนปากีสถาน (PPP) มีเวลาในการหาทางรับมือกับพรรคปากีสถาน เตห์รีค-อี-อินซาฟ (PTI) ของนายข่าน แต่ในความเป็นจริงแล้วจะยิ่งทำให้ประชาชนไม่พอใจและปลุกกระแสต่อต้านขึ้นมาอีกครั้งหลังจากถูกกวาดล้างมาหลายเดือน ขณะที่รัฐบาลรักษาการจะต้องระวังตัวไม่ให้ถูกดึงเข้าไปอยู่ในการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างนักการเมืองกับกองทัพปากีสถาน ปากีสถานตกอยู่ในความวุ่นวายทางการเมืองตั้งแต่นายข่าน อดีตนักคริกเก็ตชื่อดังถูกลงมติไม่ไว้วางใจให้พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อเดือนเมษายน 2565 สถานการณ์ตึงเครียดถึงจุดสูงสุดเมื่อเขาถูกจำคุก 3 ปีเมื่อวันที่ 5 สิงหาคมในความผิดฐานทุจริต ขณะที่รัฐบาลชุดปัจจุบันไม่ได้รับความนิยมจากประชาชน เศรษฐกิจของประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 5 ของโลกแห่งนี้ยังคงซบเซา แม้ว่าได้รับความช่วยเหลือครั้งใหม่จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟ (IMF) เพราะมีหนี้สินต่างประเทศสูง อัตราเงินเฟ้อสูง และคนว่างงานสูงเพราะโรงงานต้องหยุดเดินเครื่องเนื่องจากไม่มีสกุลเงินต่างประเทศซื้อวัตถุดิบมาผลิต.-สำนักข่าวไทย

ญี่ปุ่นเปิดฉากหาเสียงเลือกตั้งท้องถิ่นทั่วประเทศ

โตเกียว 23 มี.ค.- ญี่ปุ่นเริ่มการหาเสียงอย่างเป็นทางการแล้วในวันนี้สำหรับการเลือกตั้งท้องถิ่นทั่วประเทศ ผลการเลือกตั้งอาจมีผลต่อการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรีฟุมิโอะ คิชิดะว่าจะยุบสภาจัดการเลือกตั้งก่อนกำหนดหรือไม่ในช่วงที่คะแนนนิยมไม่ดีนัก การเลือกตั้งท้องถิ่นทุก 4 ปีจะมีขึ้นในวันที่ 9 เมษายน 2566 เป็นการเลือกตั้งรอบแรก ผู้สมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด 9 จังหวัดได้เปิดตัวหาเสียงในวันนี้ ส่วนผู้สมัครชิงตำแหน่งนายกเทศมนตรี 6 เมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น 41 จังหวัด และ 17 เมืองใหญ่จะเปิดตัวภายในเดือนนี้ ประเด็นหลักที่คาดว่าจะใช้ในการหาเสียงคือ แผนการขึ้นภาษีของรัฐบาลเพื่อสนับสนุนงบประมาณด้านกลาโหมที่เพิ่มขึ้น มาตรการแก้ปัญหาอัตราเด็กเกิดใหม่ต่ำ ค่าครองชีพที่สูงขึ้น และปัญหาระดับท้องถิ่นอื่น ๆ มีกระแสข่าวลือหนาหูว่า นายกรัฐมนตรีคิชิดะอาจจะยุบสภาผู้แทนราษฎรและจัดการเลือกตั้งทั่วไปก่อนที่เขาจะครบวาระการเป็นหัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตยหรือแอลดีพี (LDP) ในเดือนกันยายน 2567 เพื่อสกัดผู้อื่นชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งทั่วไปที่มีกำหนดต้องจัดขึ้นภายในเดือนตุลาคม 2568 พรรคแอลดีพีตั้งเป้าจะได้ที่นั่งในการเลือกตั้งสภาระดับจังหวัดเกินครึ่งจากทั้งหมด 2,260 ที่นั่ง แต่หากพลาดเป้าก็จะทำให้คิชิดะมีอิทธิพลทางการเมืองลดลง และยากจะนำพาพรรคชนะการเลือกตั้งทั่วไปได้ ผลการหยั่งเสียงของสำนักข่าวเกียวโดนิวส์ในเดือนนี้พบว่า รัฐบาลคิชิดะมีคะแนนนิยมร้อยละ 38.1 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 33.6 เมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์.-สำนักข่าวไทย

ครม. เห็นชอบแนวทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร

ครม. มีมติเห็นชอบแนวทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร ที่เกี่ยวข้องกับคณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรี สถานะของคณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรี

สรุปไทม์ไลน์ “ยุบสภา” 14 ครั้ง แห่งประวัติศาสตร์การเมืองไทย | ชัวร์ก่อนแชร์ เลือกตั้ง 66

สรุปไทม์ไลน์ “ยุบสภา” 14 ครั้ง แห่งประวัติศาสตร์การเมืองไทย | FACTSHEET

ชัวร์ก่อนแชร์ เลือกตั้ง 66 โดย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ | กัญญาลักษณ์ ยอดเยี่ยมแกร, ปพิชยา นัยเนตร, พีรพล อนุตรโสตถิ์ การยุบสภาในวันที่ 20 มีนาคม 2566 นับเป็นการยุบสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 14 ของประวัติศาสตร์การเมืองไทย หลังเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา ซึ่งการยุบสภาในแต่ละครั้ง มีสาเหตุและบริบทแวดล้อมที่แตกต่างกันไป ดังข้อมูลและข้อเท็จจริงที่รวบรวมมานำเสนอในบทความนี้ รู้จัก “ยุบสภา”          “ยุบสภา” หรือคำเต็มคือ การยุบสภาผู้แทนราษฎร ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Dissolution of Parliament หมายถึง การทำให้การดำรงสภาพของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงพร้อมกันก่อนครบกำหนดตามวาระ โดยพระมหากษัตริย์ทรงตราพระราชกฤษฎีกาตามคำกราบบังคมทูลของนายกรัฐมนตรี มีผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งสภาพ้นจากตำแหน่งพร้อมกัน เพื่อนำไปสู่จัดการเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหม่         ประเทศไทย เคยมีการประกาศ “ยุบสภา” มาแล้ว 15 ครั้ง โดยแบ่งเป็น การยุบสภาผู้แทนราษฎร 14 ครั้ง และ การยุบสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 1 ครั้ง การยุบสภานิติบัญญัติแห่งชาติ […]

1 2 3 4 18
...