ราคายางพารายังผันผวนปรับลงอีกครั้ง
เช้าวันนี้ราคายางปรับตัวลดลงอีกครั้ง แต่ยังเป็นราคาที่เกษตรกรพอใจ แห่กรีดเทขายอย่างต่อเนื่อง ขณะที่แกนนำเกษตรกรอยากให้มีความชัดเจนในเรื่องราคา
เช้าวันนี้ราคายางปรับตัวลดลงอีกครั้ง แต่ยังเป็นราคาที่เกษตรกรพอใจ แห่กรีดเทขายอย่างต่อเนื่อง ขณะที่แกนนำเกษตรกรอยากให้มีความชัดเจนในเรื่องราคา
สงขลา 30 ต.ค. – ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ราคายางพารา โดยเฉพาะราคาน้ำยางสด เฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละ 43 บาท ราคายางแผ่นรมควัน เฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละไม่เกิน 47 บาท แต่จากปัจจัยหลายด้าน ทำให้ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ราคายางปรับขึ้นกว่าราคาเฉลี่ยในรอบ 3 ปี ถึงร้อยละ 60-70 สาเหตุมาจากอะไรบ้าง และเกษตรกรชาวสวนยางพาราจะต้องตั้งรับกับราคาที่เปลี่ยนแปลงอย่างไร ติดตามจากรายงาน. – สำนักข่าวไทย
กระทรวงพาณิชย์ ดึงเอกชนจับคู่เจรจาธุรกิจออนไลน์ สินค้ายางพาราแปรรูปขั้นต้น และ ผลิตภัณฑ์ยางพารา หลังส่งออก 8 เดือน มูลค่ากว่า 3แสนล้านบาท ปลื้ม ราคายางทะลุกิโลกรัมละ 60 บาท
เร่งนำยางพารามาใช้ปรับปรุงความปลอดภัยทางถนน ทั้งเครื่องกั้นถนนครอบยางพารา และหลักนำทางอย่างธรรมชาติ ส่งผลดีต่อราคายางเพิ่มขึ้น
จ.บึงกาฬ 26 ก.ย.-“คมนาคม” ลุยเปิดตัวหรือ kick off โครงการยางพาราเพื่อความปลอดภัยทางถนน เยือนถิ่น เลย-นครพนม และ บึงกาฬ “นครหลวงแห่งการปลูกยางพาราในภาคอีสาน” มั่นใจราคามีเสถียรภาพในระยะยาว
สถาบันวิจัยยาง การยางแห่งประเทศไทย ได้พัฒนาลูกผสมสายพันธุ์ใหม่ RRIT3904 เป็นทางเลือกให้เกษตรกร ด้วยคุณสมบัติพิเศษให้ผลผลิตเพิ่ม 2 เท่าจะเป็นอย่างไร
อสมท 9 ก.ย.-ราคายางในขณะนี้ปรับตัวสูงขึ้นแตะกิโลกรัมละ 60 บาท ส่งผลต่อชาวสวนยาง แต่การสร้างผลิตภัณฑ์ยางจากการแปรรูปก็เป็นแนวทางหนึ่งที่การยางแห่งประเทศไทย หรือ กยท. ผลักดันเพื่อสร้างความเข้มแข็งอุตสาหกรรมยางของไทย ติดตามจากรายงาน แม้ขณะนี้ราคายางพาราจะขยับสูงขึ้นในระดับกิโลกรัมละ 60 บาท สำหรับยางแผ่นรมควัน ทำให้ชาวสวนยางลืมตาอ้าปากได้ แต่อุตสาหกรรมแปรรูปยางของไทย ยังเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มของยางพาราที่การยางแห่งประเทศไทยหรือกยท.เข้าไปสนับสนุน โดยเฉพาะถุงมือยาง กยท. ตั้งเป้าหมายให้ถุงมือยางเป็นโปรดักส์แชมป์เปียนในกลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปยาง ผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตถุงมือยางธรรมชาติของโลก เนื่องจากใช้น้ำยางสดเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต ถือเป็นการส่งเสริมให้อุตสาหกรรมยางของไทยมีความเข้มแข็งในการเป็นผู้นำการผลิตและการส่งออกยางและผลิตภัณฑ์ยางของโลก โดย กยท.ได้ร่วมมือกับหลายภาคส่วนผลักดันทั้งเรื่องการตลาด การลงทุนและการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผลิตภัณฑ์ยางของไทย ข้อมูลจากศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระบุว่าทิศทางความต้องการของถุงมือยางธรรมชาติมีทิศทางที่ดีขึ้น โดยตัวเลขคาดการณ์ในปี 2563 มีความต้องการใช้กว่า 360,000 ล้านชิ้น มูลค่าไม่ต่ำกว่า 40,000 ล้านบาท ขณะที่ข้อมูลของสมาคมผู้ผลิตถุงมือยางไทยระบุว่าปริมาณการส่งออกถุงมือยางของไทย ซึ่งเป็นอันดับ 2 ของโลก มีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 8-15% จึงเป็นข้อได้เปรียบและโอกาสที่ดีของผู้ประกอบอุตสาหกรรมถุงมือยางของไทยและในภาวะของโควิด-19 ที่ยังระบาดทั่วโลกในปัจจุบัน ทำให้ความต้องการถุงมือยางจึงมีอย่างต่อเนื่องและเป็นโอกาสของประเทศไทยในการขยายตลาดนี้ให้เติบโตได้มากขึ้นไปอีก.-สำนักข่าวไทย
กรุงเทพฯ 6 ก.ย.- คมนาคมเดินหน้า (Kick Off) โครงการใช้ยางพาราเพื่อความปลอดภัยทางถนน ลุยจังหวัดสตูล สาธิตขั้นตอนการผลิต “RFB” พบชาวสวนสุดชื่นมื่น หลังโครงการช่วยดันราคารับซื้อยางทะลุกิโลกรัมละ 60 บาทแล้ว นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นางมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ร่วมในพิธีเปิดโครงการนำน้ำยางพารา มาใช้เพื่อปรับปรุงอุปกรณ์เพิ่มความปลอดภัยทางถนน (Kick Off) ที่บริเวณทางหลวงหมายเลข 404 กิโลเมตรที่ 102+150 ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล โดยนายอนุทิน ยืนยันว่า โครงการดังกล่าว คือนโยบาย “Thai First ไทยทำ ไทยใช้ คนไทยต้องได้ก่อน”เพราะการผลิต rubber fender barriers ถือเป็นโครงการที่คิดค้นโดยคนไทย นำสินค้าที่ผลิตได้มาใช้ในประเทศ และในช่วงแรกของโครงการ เงินรายได้เข้าถึงมือเกษตรกรชาวสวนยางโดยตรง ซึ่งจะมีสัดส่วนที่ถึงมือเกษตรกรสูงถึง 70 % หรือคิดเป็นมูลค้า […]
ภูเก็ต 6 ก.ย.-กลุ่มเกษตรกรทำสวนป่าคลอก จังหวัดภูเก็ต ระบุรายจายเพิ่มขึ้นจากผลกระทบโควิด-19 เร่งหารายได้เสริม ด้านกระทรวงเกษตรฯ หาช่องทางประสาน เพื่อสร้างตลาดสินค้าเพิ่มเติม
ยุทธศาสตร์ ‘การตลาดนำการผลิต’ ทำราคายางพุ่งทะลุ 60 บาทต่อกิโลกรัมครั้งแรกในรอบ 3ปี
นายกฯ เปิดโครงการนำร่องนำยางพารามาใช้เพื่อปรับปรุงเพิ่มความปลอดภัยทางถนน พร้อมตั้งเป้าหมายใน 3 ปี ให้กรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท สามารถผลิตแบริเออร์ยางพาราไม่น้อยกว่า 12,000 กม.ทั่วไทย
จันทบุรี 25 ส.ค.-นายกรัฐมนตรี เปิดโครงการนำร่อง นำยางพารามาใช้เพื่อปรับปรุงเพิ่มความปลอดภัยทางถนน “ทล.”-“ทช.” ตั้งเป้าหมาย 3 ปี ทำ “แบริเออร์ ยางพารา” ไม่น้อยกว่า 1.2 หมื่นกิโลเมตรทั่วไทย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการนำร่องการนำยางพารามาใช้เพื่อปรับปรุงเพิ่มความปลอดภัยทางถนน (kick off) โครงการในจังหวัดจันทบุรี นายกรัฐมนตรี กล่าวว่าในการเปิดโครงการนำร่องการนำยางพารามาใช้เพื่อปรับปรุงเพิ่มความปลอดภัยทางถนน ว่า ได้รับทราบแนวทางการนำยางพารามาใช้เพื่อปรับปรุงเพิ่มความปลอดภัยดังกล่าว โดยใช้ “แผ่นยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีต” (Rubber Fender Barrier : RFB) และ “หลักนำทางยางธรรมชาติ” (Rubber Guide Post : RGP) เพื่อเพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนนให้แก่ประชาชน โดยมุ่งเน้นให้ใช้ยางพาราเป็นวัสดุในการปรับปรุง ก่อสร้าง เพื่อส่งเสริมการใช้น้ำยางพาราในประเทศ และสร้างสมดุลราคายางพาราให้เหมาะสม ทั้งนี้ สิ่งที่รัฐบาลต้องการในวันนี้ คือ ผลผลิตของยางพาราให้มีราคาสูงขึ้นซึ่งปัจจุบันราคายางพาราเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่เป็นที่พอใจเนื่องจากรัฐบาลยังต้องจ่ายค่าประกันให้กับเกษตรกรอยู่ภายใต้งบประมาณที่จำกัด แต่ในอนาคตจะต้องดำเนินการให้ยางพารามีราคาสูงโดยการใช้อย่างในประเทศถือเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้ยางพารามีราคาสูงขึ้นซึ่งถือว่า เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการดำเนินการกว่าการใช้วิธีอื่น นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า […]