มูลนิธิอุทกพัฒน์ลงพื้นที่ชุมชนเกษตรกรเพชรน้ำหนึ่ง

มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดงาน “เทิด ด้วย ทำ ปี พ.ศ.2565 โครงสร้างพื้นฐานทางสังคม และเศรษฐกิจใหม่ บนหลักของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่” เพื่อถ่ายทอดความสำเร็จ การมีส่วนร่วมสนับสนุนด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริ

ครบรอบ 69 ปี อสมท คู่สังคมไทย 9 เมษายน 2564

เนื่องในโอกาสครบรอบ 69 ปี อสมท ขอเชิญชวนร่วมสมทบทุนมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานการบริหารจัดการน้ำเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน

พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำชุมชน

ชัยภูมิ 5 พ.ย.63 – มูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ และ สสน. เปิดพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำชุมชน จ.ชัยภูมิ แหล่งเรียนรู้การจัดการน้ำและบริหารพื้นที่เกษตรวิถีใหม่ ให้ชุมชนมีน้ำใช้เพาะปลูกได้ทั้งปี และพัฒนาพื้นที่รับน้ำหลากในฤดูฝนแก้ปัญหาน้ำท่วมอย่างยั่งยืน เกษตรกรบ้านโนนแต้ ต.หนองขาม อ.คอนสวรรค์ จ.ชัยภูมิ ปรับเปลี่ยนรูปแบบการเพาะปลูกทางการเกษตรใหม่ จากพื้นที่ที่เคยปลูกทำนาทั้งหมด เปลี่ยนเป็นผสมผสานหยิบป่ามาไว้ในที่นา เป็นวิถีเกษตรใหม่ที่สร้างผลผลิตสร้างรายได้เกิดขึ้นตลอดทั้งปี นายสายยันต์ เหล็กพรม เกษตรกรบ้านโนนแต้ บอกว่า มูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ(องค์การมหาชน) ได้น้อมน้ำแนวพระราชดำริในหลวงรัชกาลที่ 9 เรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ มาเป็นหลักคิดประยุกต์ใช้ในพื้นที่ ทำให้ตนเองเกิดความคิดนำแนวพระราชดำริ ลองมาปรับใช้กับพื้นที่เกษตร แบ่งส่วนของพื้นที่ทำกินใหม่ลดที่ทำนาเหลือ 4 ไร่ สร้างสระน้ำหัวใจของการเพาะปลูก 1 ไร่ พื้นที่เกษตรผสมผสาน 1.5 ไร่ พื้นที่ปศุสัตว์ 0.5 ไร่ และป่าน้อย 1 ไร่  ซึ่งป่าน้อยนี้ใช้การเพาะปลูกเลียนแบบธรรมชาติ ลงไม้ยืนยันไม้ใหญ่พืชท้องถิ่น เช่นยางนา ประดู่ พะยูงและไม้สัก ผสมกับพืชป่า เช่น หวาย ไผ่ และผักหวานป่า ไม่กี่ปีพืชเจริญเติบโตไม้ใหญ่โตให้ร่มเงา เริ่มมีผลผลิตคล้ายป่า สามารถเก็บเห็ดป่าที่จะขึ้นเฉพาะพื้นที่สมบูรณ์ และมียางนามนพื้นที่ ขายราคากิโลกรัมละ 200-300 บาท ส่วนผักหวานป่าเก็บได้ทุกปี กิโลกรัมละ 200 บาท เน้นกินอะไรก็ปลูกอย่างนั้น แถบไม่ต้องซื้อวัตถุดิบมาปรุงอาหารในแต่ละวัน ลดรายจ่ายของครอบครัวได้จำนวนมาก ที่สำคัญครอบครัวมีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิมด้วยการเก็บพืชป่าในที่ของตัวเองกว่า 20,000 – 30,000 บาทต่อปี โดยพื้นที่นี้ตลอด 10 ปี ที่เริ่มปลูกเปลี่ยนเป็นหนึ่งหัวนาป่าไร่น้อย ไม่เคยประสบปัญหาขาดแคลนน้ำอีกเลย ด้วยมีบ่อน้ำเตรียมไว้สำหรับเก็บน้ำในฤดูฝน น้ำเต็มบ่อสามารถนำไว้ใช้ได้ในช่วงแล้งของทุกปี รวมทั้งการเตรียมบ่อน้ำบาดาลไว้เพิ่มเติม ซึ่งได้จากการเรียนรู้แนะนำจากทั้ง 2 หน่วยงาน จึงมีน้ำใช้อย่างพอเพียงเป็นตัวอย่างให้กับเพื่อนบ้านเริ่มปรับพื้นที่สู่เกษตรวิถีใหม่มากขึ้น ซึ่งมูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ(องค์การมหาชน) ได้ชูให้เป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำชุมชน บ้านโนนแต้ ดร.รอยล จิตรดอน กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ กล่าวว่า น้ำเป็นหัวใจสำคัญของทุกๆด้าน มีน้ำการเกษตรก็เจริญงอกงาม มีน้ำชุมชนก็ชุ่มชื้นไม่แล้งแค้น ซึ่งพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำชุมชน บ้านโนนแต้จ.ชัยภูมิ เป็นอีกพื้นที่สามารถเป็นตัวอย่าง เป็นพี่เลี้ยงให้ชุมชนแห่งอื่นนำกระบวนการจัดการน้ำไปประบใช้อย่างเหมาะสม ทั้งด้านเกษตรวิถีใหม่ การบริหารจัดการด้วยแก้มลิง การสร้างเครือข่ายน้ำชุมชน ได้พื้นที่เก็บกักน้ำกว่า 13 ล้านลูกบาศก์เมตร ยังช่วยฟื้นลำน้ำที่เคยตายไปแล้วกลับมามีชีวิตอีกครั้ง ชาวบ้านได้ประโยชน์ในระยะยาว ปัญหาที่เคยมีจากน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก แต่กลับขาดแคลนน้ำในฤดูแล้งก็หายไปชุมชนไม่ต้องหลีกหนีจากพื้นที่ไปหางานทำในที่ไกลบ้าน มีอู่ข้าวอู่น้ำเป็นทรัพยากรที่ชุมชนนำมาใช้ประโยชน์เกิดการพัฒนาตัวเอง และสร้างมูลค่าเศรษฐกิจชุมชนได้อย่างยั่งยืน สำหรับพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำชุมชน บ้านโนนแต้ จ.ชัยภูมิ มีจุดเรียนรู้ด้านการจัดการ 4 แห่ง แบ่งเป็นจุดที่1.หนึ่งหัวนาหนึ่งป่าน้อย 2.เชื่อมน้ำชี สร้างแก้มลิง เปลี่ยนชีวิต 3.สระน้ำเพื่อชีวิต สำรองน้ำ พึ่งพาตนเองและ 4. ติดตามสถานการณ์น้ำ มองใหญ่ทำเล็ก โดยเปิดให้ผู้สนใจเข้ามาเรียนรู้ด้านการจัดการน้ำและแนวทางตามแนวพระราชดำริ ได้ตลอดทั้งปี และขยายโครงการสู่ชุมชนอื่นทั่วประเทศ

ครบรอบ 68 ปี อสมท มุ่งมั่นสื่อคุณภาพเพื่อสังคม

อสมท ทำบุญครบรอบ 68 ปีการก่อตั้ง อสมท โดยปีนี้จัดเป็นการภายใน เนื่องมาจากสถานการณ์โรคโควิด-19 พร้อมเชิญชวนหน่วยงานและประชาชน ร่วมบริจาคสมทบทุนมูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ

เนื่องในโอกาสครบรอบ 68 ปี อสมท ขอเชิญชวนร่วมสมทบทุนมูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ

เนื่องในโอกาสครบรอบ 68 ปี อสมท เชิญชวนหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมแสดงความยินดีด้วยการสมทบทุน “มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์” เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการน้ำ

จิตอาสาร่วม “เทิด ด้วย ทำ ประจำปี2563”

กทม.-มูลนิธิอุทกพัฒน์ฯจัดกิจกรรมเรียนรู้สู่การลงมือทำตามแนวพระราชดำริในหลวงรัชกาลที่ 9 นำประชาชน เยาวชน จิตอาสา ร่วมเก็บผักตบชวาถางหญ้า กำจัดวัชพืช คลองลำปลาดุก

บมจ.อสมท สืบสานต่อยอดศาสตร์พระราชา

บมจ.อสมท ร่วมกับมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกันสืบสาน รักษา ต่อยอด ศาสตร์พระราชา อนุรักษ์แหล่งน้ำ ในคลองมหาสวัสดิ์ คลองลัดมะยม คืนน้ำใส สร้างน้ำใจให้ชุมชนบ้านศาลาดิน จ.นครปฐม

มูลนิธิอุทกพัฒน์ จัดเสวนาแลกเปลี่ยนแก้ปัญหาน้ำ

มูลนิธิอุทกพัฒน์ จัดงานแลกเปลี่ยนความรู้การจัดการน้ำชุมชน หวังนำข้อมูลจากทุภาคส่วนระดับท้องถิ่น และประเทศ มาแก้ไขปัญหา

260 เยาวชนผ่านคัดเลือกได้เข้าโครงการพี่นำน้องรักษ์น้ำ สนองแนวพระราชดำริ

เยาวชน 260 ที่ผ่านการคัดเลือกทั่วประเทศ จาก 27 โรงเรียน เข้าร่วมโครงการพี่นำน้องรักษ์น้ำ สนองแนวพระราชดำริ เพื่อสร้างประสบการณ์ตรงในการเรียนรู้บริหารจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน นำไปพัฒนาและต่อยอดให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศสูงสุด

เปิดพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริ ลำดับที่ 21

มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำริ ลำดับที่ 21 ของประเทศไทย ในพื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานี

ครบรอบ 67 ปี อสมท เชิญชวนร่วมสบทบทุนมูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ

บมจ.อสมท จัดงาน “ครบรอบ 67 ปี อสมท” เชิญชวนประชาชนและหน่วยงานต่างๆ ร่วมสมทบทุนมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สนับสนุนการดำเนินงานของมูลนิธิฯ ในการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน

1 2
...