fbpx

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: ระวังเพจปลอม ! ชวนลงทุน แอบอ้าง AIS

7 ตุลาคม 2566 🎯 ตามที่มีการแชร์ภาพโฆษณา “AIS ชวนลงทุนผ่านสื่อออนไลน์ รับผลตอบแทนสูง” นั้น 📌 บทสรุป : ❌ ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อเพจปลอม แอบอ้างผู้บริหารของ AIS 🎯 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า บริษัท AIS ออกประกาศยืนยันว่า ข้อความและภาพโฆษณาดังกล่าวไม่เป็นความจริง และทางบริษัทฯ ไม่มีนโยบายและไม่มีการโฆษณา เชิญชวนการลงทุนผ่านช่องทางออนไลน์ หรือสื่อโซเชียลต่าง ๆ ทั้ง เฟซบุ๊ก (Facebook) หรือ ไลน์ (LINE) ทั้งสิ้น 🎯อุบายของคนร้าย จะสร้างเพจเฟซบุ๊กปลอมและจ่ายเงินซื้อโฆษณา ทำให้คนเห็นจำนวนมาก จงใจใช้ภาพโลโก้และภาพผู้บริหารของ AIS เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ รวมถึงใช้คำโฆษณาชวนเชื่อที่ไม่เป็นความจริง ทั้ง การเทรดหุ้นระยะสั้นให้ผลตอบแทนสูงและมือใหม่ก็ลงทุนได้แม้ทุนน้อย หากสนใจจะต้องติดต่อผ่านแอปพลิเคชันไลน์ ซึ่งจะมีคนร้ายอ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่คอยให้คำแนะนำ จากนั้นจะหลอกล่อให้ผู้เสียหายโอนเงินมากขึ้นเรื่อย ๆ 🎯ในข่าวประชาสัมพันธ์ของ AIS ระบุด้วยว่า การกระทำดังกล่าวเป็นการนำข้อมูลอันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: โจรอ้าง กสทช. ใช้ซิมผิดกฎหมาย หลอกโอนเงินเกลี้ยง

6 ตุลาคม 2566 ปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ถือเป็นหนึ่งในอาชญกรรมทางเทคโนโลยีที่สร้างความเสียหายให้กับคนจำนวนมาก มีรูปแบบการทำงานเป็นขบวนการ แบ่งหน้าที่กันทำ ทั้งการหลอกลวงผู้เสียหายให้เกิดความหวาดกลัว ใช้ความไม่รู้ของผู้เสียหายเป็นเครื่องมือ โดยเฉพาะการแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักของคนในสังคม เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่บริษัทขนส่งสินค้า และแจ้งไปยังผู้เสียหายว่าบัญชีธนาคาร หรือพัสดุที่จัดส่งไปยังต่างประเทศมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดกฎหมาย บัญชีธนาคารถูกอายัด หรือเกี่ยวข้องกับการค้ายาเสพติด รวมถึงหลอกสอบถามข้อมูลส่วนตัวเพื่อนำไปใช้ในการแสวงหาผลประโยชน์โดยผิดกฎหมาย นอกจากนี้แล้วยังมีการหลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชันของหน่วยงานปลอมที่สามารถควบคุมโทรศัพท์มือถือและโอนเงินออกจากบัญชีของผู้เสียหายได้ และตอนนี้อุบายล่าสุดที่คนร้ายใช้ในการหลอกผู้เสียหาย คือ การแอบอ้างเป็นพนักงานผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ และแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่สำนักงาน คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดกลโกงกระบวนการแก๊งคอลเซ็นเตอร์ อ้าง กสทช. ! เริ่มต้นมิจฉาชีพจะโทรศัพท์ไปหาผู้เสียหาย พร้อมบอกชื่อ นามสกุลอย่างถูกต้อง และแจ้งว่าผู้เสียหายได้เปิดใช้บริการซิมโทรศัพท์มือถือในพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ เช่น จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดตาก หรือจังหวัดอื่น ๆ ที่อยู่ห่างไกล โดยหมายเลขที่เปิดใช้บริการในชื่อของผู้เสียหายนั้น ถูกนำไปใช้กระทำผิดกฎหมาย หรือถูกนำไปใช้หลอกลวงบุคคลอื่น โดยแจ้งอีกว่า หากผู้เสียหายไม่ได้เป็นผู้เปิดใช้บริการ ให้ไปดำเนินการแจ้งความยังสถานีตำรวจท้องที่ที่ถูกเปิดใช้งานดังกล่าว แต่หากไม่สามารถเดินทางไปได้ สามารถทำการแจ้งความออนไลน์ผ่านช่องทางไลน์ของสถานีตำรวจดังกล่าวได้ เมื่อผู้เสียหายหลงเชื่อติดต่อไปยังไลน์สถานีตำรวจซึ่งถูกมิจฉาชีพปลอมขึ้นแล้ว ระหว่างการติดต่อ ผู้เสียหายจะได้รับแจ้งว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการฟอกเงิน ต้องทำการโอนเงินที่มีอยู่ในบัญชีมาตรวจสอบเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 : ระวังมุกใหม่ ! รับสมัครนักพากย์เสียง ที่แท้หลอกโอนเงิน

6 ตุลาคม 2566 จากสถิติศูนย์บริหารการรับแจ้งความออนไลน์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 – วันที่ 30 กันยายน 2566 พบว่า การหลอกลวงโอนเงินเพื่อหารายได้เสริมจากการทำกิจกรรม มีผู้เสียหายแจ้งความออนไลน์กว่า 44,250 เรื่อง หรือคิดเป็น 13.20% จากเรื่องการรับแจ้งความทั้งหมด สูงเป็นลำดับที่ 2 รองจากการหลอกลวงซื้อขายสินค้าออนไลน์ โดยมีมูลค่าความเสียหายกว่า 5,425 ล้านบาท สูงเป็นลำดับที่ 3 ของมูลค่าความเสียหายทั้งหมด รองลงมาจากการหลอกลวงให้ลงทุน และการหลอกลวงทางโทรศัพท์เป็นขบวนการ (แก๊ง Call Center) และตอนนี้หนึ่งในกลโกงที่มิจฉาชีพนำมาใช้หลอกผู้เสียหาย คือ การรับสมัครนักพากย์เสียงผ่านทางสื่อออนไลน์ โดยใช้รูปนักแสดงหญิงชื่อดังมาแอบอ้าง ทำให้มีคนหลงเชื่อและสูญเสียเงิน วันนี้ ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 จะพาทุกคนไปดูกันว่า กระบวนการของมิจฉาชีพเป็นอย่างไร สร้างเพจปลอม ยิงโฆษณา หลอกทำภารกิจและให้โอนเงินก่อน ! เริ่มจากมิจฉาชีพจะสร้างบัญชีสื่อออนไลน์ปลอม ทั้ง  Facebook Page Instagram […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 : เตือนภัย ! เว็บปลอม หลอกขายของเล่น อ้าง POP MART

3 ตุลาคม 2566 กระแสข่าวการเปิดตัวร้านขายของเล่นชื่อดังจากประเทศจีน อย่าง “POPMART” ได้สร้างเสียงฮือฮาให้กับเหล่าบรรดานักสะสมชาวไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นการเปิดตัวสาขาแรกในประเทศไทย และในร้านยังได้จำหน่ายสินค้าตัวพิเศษที่มีขายแค่ในประเทศไทยเท่านั้นและมีจำนวนจำกัด ทำให้นักสะสมและคนที่สนใจแห่ไปรอกันตั้งแต่คืนก่อนเปิดร้าน และในวันเปิดร้าน ได้เกิดเหตุความชุลมุนระหว่างการต่อคิวเข้าร้าน มีทั้งคนเป็นลมและล้ม  จากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้มิจฉาชีพได้ฉวยโอกาสนำมาสร้างเป็นมุกหลอกขายของเล่นอ้างชื่อ “POPMART” ผ่านเพจเฟซบุ๊กปลอม ซึ่งมีผู้เสียหายจำนวนมาก วันนี้ ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 จะพาทุกคนไปดูกันว่า เพจปลอมหลอกขายสินค้ามีรูปแบบและกลวิธีการหลอกอย่างไรบ้าง สร้างเพจปลอม เล่าเรื่องราวให้น่าสนใจและยิงโฆษณา ขั้นแรก มิจฉาชีพจะสร้างเพจเฟซบุ๊กปลอมขึ้นมา โดยใช้ชื่อ “Frances Cannon” อ้างตัวเป็นเพจขายสินค้าออนไลน์หลายประเภท ทั้ง เครื่องใช้ภายในบ้าน ลำโพงและของเล่น และเพจนี้ได้จ่ายเงินซื้อโฆษณาเพื่อทำให้คนเห็นโพสต์อย่างกว้างขวาง  จากนั้นมิจฉาชีพจะสร้างเรื่องราวให้น่าติดตามและเป็นเหตุเป็นผล เพื่อหลอกล่อให้คนหลงเชื่อ จากฐานข้อมูลของศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ พบว่า เพจปลอมหลอกขายสินค้า จะเปลี่ยนสถานการณ์ไปตามความสนใจของสังคม ณ ตอนนั้น เช่น ช่วงสถานการณ์โควิด-19 จะอ้างว่า ต้องปิดร้านด่วน เนื่องจากขาดทุน จึงต้องนำสินค้ามาล้างสต็อก จัดโปรโมชันลดราคาที่ถูกกว่าปกติ และนำภาพสินค้าจริง มาแอบอ้าง ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่า สินค้าเป็นของแท้ รวมถึงกรณีล่าสุด ที่อ้างว่า […]

ระบุตำแหน่งอย่างไรให้ปลอดภัย| ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST | THE CYBER MINDSET

2 ตุลาคม 2566 บริการระบุตำแหน่งบนโทรศัพท์มือถือมอบความสะดวกให้กับเรามากมาย ไม่ว่าจะเป็น การนำทาง หรือการค้นหาตำแหน่งของสิ่งต่าง ๆ แต่หารู้ไม่ว่า อาจมีสิ่งที่คุณไม่คาดคิดจากเหล่าแฮกเกอร์แอบแฝงอยู่ก็ได้ มาร่วมหาวิธีป้องกัน และตั้งค่าการระบุตำแหน่งเพื่อทำให้เราปลอดภัยมากขึ้นได้ใน ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST ซีรีส์ THE CYBER MINDSET กับ “อาจารย์ปริญญา หอมเอนก” ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ ดำเนินรายการโดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ซีรีส์ THE CYBER MINDSET จะนำเสนอเนื้อหาที่ช่วยตอบข้อสงสัยและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข่าวในโลกไซเบอร์ที่อาจใกล้ตัวคุณผู้ฟังมากกว่าที่คิด เพื่อลดความเสี่ยงการถูกโจรกรรมทางออนไลน์และเสริมภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้ไม่ตกเป็นเหยื่อจากความไม่รู้เท่าทัน * สำหรับผู้ใช้งานในระบบปฏิบัติการ iOS **ในขณะรับฟัง สามารถตั้งค่าตามที่ระบุไว้ใน Podcast ได้เลย #THECYBERMINDSET #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST รู้ทันไซเบอร์ สร้างความเข้าใจ ใช้งานปลอดภัยไปกับ #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST พอดแคสต์ที่จะช่วยให้คุณรู้เท่าทันสื่อ สังคม ภัยไซเบอร์และเข้าถึงข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน จัดทำโดย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 : วัยเกษียณ ระวัง ! 3 มุกยอดฮิตภัยไซเบอร์

28 กันยายน 2566 เดือนกันยายนของทุกปี ถือเป็นช่วงครบกำหนดอายุการรับราชการ หรือที่เรียกว่า เกษียณอายุราชการ ทำให้มิจฉาชีพมักอาศัยช่วงเวลาดังกล่าวมาหลอกลวงและแสวงหาผลประโยชน์โดยผิดกฎหมาย จากสถิติการแจ้งความออนไลน์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 – 17 กันยายน 2566 พบว่า มีหลายกลโกงที่มักใช้หลอกคนวัยเกษียณ วันนี้ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 จะพาทุกคนไปดูมุกยอดฮิตของเหล่าโจรออนไลน์ว่ามีอะไรกันบ้าง 1. หลอกลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ จำนวน 26,827 เรื่อง มูลค่าความเสียหายรวมกว่า 14,313 ล้านบาท 🚨กลโกง 🚨 มิจฉาชีพจะสร้างบัญชีทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยแอบอ้างบุคคล หรือบริษัทที่มีชื่อเสียงด้านการลงุทน หลอกลวงผู้เสียหายให้ลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ เช่น ทองคำ เหรียญดิจิทัล พลังงาน เป็นต้น โดยมีการใช้คำโฆษณาสวยหรู อ้างว่าเป็นการลงทุนของผู้สูงวัยใกล้เกษียณอายุ เริ่มต้นลงทุนด้วยเงินหลักพันบาท แต่ได้ผลตอบแทนสูงในเวลาอันรวดเร็ว  อ่านกลโกงเพิ่มเติม : ชวนซื้อหุ้นบริษัทอมตะ รับผลกำไรจำนวนมาก จริงหรือ ? 2. หลอกติดตั้งแอปพลิเคชันควบคุมโทรศัพท์มือถือ จำนวน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : ภัยไซเบอร์ ข้อมูลส่วนตัวที่ต้องระวัง

13 กันยายน 2566 – สำเนาบัตรประชาชน สลิปเงินเดือน ใบแจ้งหนี้ ข้อมูลส่วนตัวที่ต้องปกปิด เพราะหากรั่วไหลออกไป อาจถูกมิจฉาชีพนำข้อมูลเหล่านี้มาทำร้ายเรา ?! ร่วมเรียนรู้กลโกงของมิจฉาชีพที่แฝงตัวอยู่ในโลกไซเบอร์ และศึกษาหาทางสร้างภูมิคุ้มกันกับชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 5 : ระวัง ! โมเดลลิ่งเก๊ หลอกพริตตี้ถ่ายโป๊ ขายออนไลน์  เตือนสาว ๆ ที่ใฝ่ฝันอยากเข้าวงการบันเทิงหรือเป็นพริตตี้ ระวังโมเดลลิ่งเก๊ที่มีสาวประภทสองเป็นนกต่อ ที่หากคุณพลาดหรือเสียรู้ อาจถูกหลอกให้ถ่ายภาพโป๊ ซ้ำภาพเหล่านั้นยังถูกเผยแพร่อยู่ในโลกออนไลน์ ! พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รองผู้กำกับการ และโฆษกกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) มอบข้อคิด ข้อเตือนใจง่าย ๆ ในการป้องกันหรือรับมือกับมิจฉาชีพในโลกไซเบอร์ เพื่อเตรียมพร้อมให้เราทุกคนสามารถอยู่ได้อย่างปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สิน กลโกงคนร้ายจะทำการสมัครเฟซบุ๊ก ปลอมโปรไฟล์ว่าเป็นโมเดลลิ่งหานางแบบ นักแสดง เข้าวงการบันเทิง ก่อนจะเลือกติดต่อไปยังผู้เสียหายที่เป็นพริตตี้ หรือเน็ตไอดอล ที่มีผู้ติดตามจำนวนมาก ชักชวนมาแคสติ้งงาน พร้อมกับให้แอดไลน์ตัวเองที่ทำปลอมขึ้นมา โดยใช้วิธีพูดคุยเป็นเดือนเพื่อให้ผู้เสียหายตายใจ ก่อนขอดูสัดส่วน สรีระ เพื่อพิจารณาหางานให้แคสติ้ง จนผู้เสียหายยอมถอดเสื้อผ้า ก่อนที่จะนำภาพลับผู้เสียหายเหล่านั้นไปโพสต์ลงกลุ่มลับ […]

ระวัง ! โจรอ้างกรมบัญชีกลางลวงอัปเดตข้อมูลดูดเงินหมดบัญชี | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

14 กันยายน 2566 วิธีหลอก : แอบอ้างกรมบัญชีกลางอุบาย : โทรศัพท์หาประชาชนเพื่อหลอกให้อัปเดตข้อมูลส่วนตัวผ่านระบบ Digital Pension ชักจูงให้แอดไลน์ปลอมและหลอกดาวน์โหลดแอปพลิเคชันปลอมช่องทาง : แอปพลิเคชันไลน์, เว็บไซต์ปลอม, แอปพลิเคชันปลอม แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ภัยร้ายทางไซเบอร์ นับวันจะยิ่งมีกลโกงที่แนบเนียนและใช้หลายวิธีเพื่อลวงให้เราหลงเชื่อ หนึ่งในนั้น คือ การแอบอ้างชื่อหน่วยงานราชการ อย่าง  “กรมบัญชีกลาง” โดยอ้างว่า ตอนนี้กรมบัญชีกลางมีระบบใหม่ ผู้รับเงินบำนาญต้องเข้าไปอัปเดตข้อมูลต่าง ๆ ให้เป็นปัจจุบัน หากไม่ดำเนินการ จะถูกตัดสิทธิ์ ซึ่งสร้างความตกใจจนทำให้หลายคนหลงเชื่อและเสียเงินจำนวนมาก วันนี้ ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨จึงได้รวบรวมกลโกงที่แอบอ้างกรมบัญชีกลาง มาเตือนภัยให้ทุกคนไม่ตกเป็นเหยื่อจากมิจฉาชีพ  สารพัดกลโกงแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่กรมบัญชีกลาง  คนร้ายจะโทรศัพท์และอ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่จากกรมบัญชีกลาง พร้อมชี้แจงรายละเอียดว่า ขณะนี้กรมบัญชีกลางได้เปลี่ยนเป็นระบบแบบใหม่ ชื่อว่า Digital Pension และมีนโยบายให้ผู้รับเงินบำนาญทุกคนเข้ามาอัปเดตข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน ทั้ง ข้อมูลส่วนตัว บัญชีเงินเดือน เบี้ยหวัดบำนาญ หรือ ติดต่อเพื่อขอรับบำเหน็จตกทอด จากนั้นมิจฉาชีพจะหลอกให้แอดไลน์ปลอมและลวงให้กดลิงก์ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันปลอม Digital Pension และให้สแกนใบหน้า    🚨หากได้รับโทรศัพท์ในลักษณะนี้ อย่าบอกข้อมูลส่วนตัว […]

การตั้งค่าความเป็นส่วนตัวบนระบบ iOS| ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST | THE CYBER MINDSET

1 กันยายน 2023 คุณรู้หรือไม่ว่า สมาร์ทโฟนของคุณอาจมีช่องโหว่จากการตั้งค่า ที่อาจทำให้เหล่าแฮกเกอร์เข้ามาโจมตีข้อมูลส่วนตัวของคุณได้ มาร่วมเรียนรู้วิธีการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวของข้อมูลของคุณได้ใน ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST ซีรีส์ THE CYBER MINDSET กับ “อาจารย์ปริญญา หอมเอนก” ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ ดำเนินรายการโดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ซีรีส์ THE CYBER MINDSET จะนำเสนอเนื้อหาที่ช่วยตอบข้อสงสัยและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข่าวในโลกไซเบอร์ที่อาจใกล้ตัวคุณผู้ฟังมากกว่าที่คิด เพื่อลดความเสี่ยงการถูกโจรกรรมทางออนไลน์และเสริมภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้ไม่ตกเป็นเหยื่อจากความไม่รู้เท่าทัน * สำหรับผู้ใช้งานในระบบปฏิบัติการ iOS16 **ในขณะรับฟัง สามารถตั้งค่าตามที่ระบุไว้ใน Podcast ได้เลย #THECYBERMINDSET #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST รู้ทันไซเบอร์ สร้างความเข้าใจ ใช้งานปลอดภัยไปกับ #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST พอดแคสต์ที่จะช่วยให้คุณรู้เท่าทันสื่อ สังคม ภัยไซเบอร์และเข้าถึงข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน จัดทำโดย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: ระวังเว็บแจ้งความออนไลน์ปลอม หลอกเหยื่อโอนเงินเข้าเว็บพนัน

28 สิงหาคม 2566 ทีมข่าวไซเบอร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับตำรวจไซเบอร์ บช.สอท. พบว่า มีมิจฉาชีพยิงโฆษณาเว็บไซต์รับแจ้งความออนไลน์ปลอม หลอกลวงว่าสามารถนำเงินกลับคืนมาได้ โดยการโจมตีระบบเว็บไซต์พนันออนไลน์แหล่งที่เงินผู้เสียหายถูกฟอกอยู่  เริ่มต้นจากที่มีผู้เสียหายหลายรายได้รับความเดือดร้อน จากการถูกมิจฉาชีพหลอกให้โอนเงินในรูปแบบต่าง ๆ ทั้ง ซื้อสินค้าหรือบริการออนไลน์ การถูกหลอกลวงให้กู้เงิน การถูกหลอกลวงให้ลงทุน หรือการถูกหลอกลวงให้ติดตั้งแอปพลิเคชันควบคุมโทรศัพท์ ผู้เสียหายจึงได้ใช้คำว่า “แจ้งความออนไลน์” เป็นคีย์เวิร์ด (Keyword) ในการสืบค้นข้อมูลผ่านเว็บไซต์ค้นหา (Search Engine Site) ยอดนิยมต่าง ๆ เช่น Google.com, Bing.com ทำให้พบเว็บไซต์การรับแจ้งความออนไลน์ของปลอมที่มิจฉาชีพจ่ายเงินเพื่อซื้อโฆษณา ทำให้ขึ้นมาเป็นลำดับแรก ๆ ของการค้นหา เมื่อผู้เสียหายหลงเชื่อและกดเข้าไปยังเว็บไซต์ปลอมดังกล่าว มิจฉาชีพจะหลอกให้กดเพิ่มเพื่อนทางไลน์ ซึ่งแอบอ้างเป็นที่ปรึกษากฎหมาย หรือทนายความ จากนั้นจะหลอกถามข้อมูลต่าง ๆ เช่น ข้อมูลส่วนบุคคล รายละเอียดการถูกฉ้อโกงหรือหลอกลวง มูลค่าความเสียหาย และขอเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น ชื่อเว็บไซต์หรือชื่อแพลตฟอร์ม หลักฐานการโอนเงิน ประวัติการสนทนากับมิจฉาชีพ เป็นต้น รวมถึงมีการทำหนังสือมอบอำนาจปลอมเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ โดยให้ทนายปลอมดังกล่าวเป็นผู้มีอำนาจดำเนินการทางคดีที่เกี่ยวข้องแทนผู้เสียหาย โดยมีค่าดำเนินการ […]

ภัยแฝงจากการผูกบัญชีกับแอปออนไลน์ | ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST | THE CYBER MINDSET

25 สิงหาคม 2566 ใครจะไปคิดว่า การจ่ายเงินด้วยการผูกบัญชีธนาคารกับแอปพลิเคชันต่าง ๆ อาจทำให้เงินของคุณหายไปโดยไม่รู้ตัว บางคนอาจจะแค่หลักร้อย แต่บางคนอาจโดนถึงหลักล้านก็เป็นได้ มาร่วมหาวิธีป้องกันการโดนโจรกรรมเงินในบัญชีธนาคารของคุณจากผูกบัญชีกับแอปต่าง ๆ ได้ใน ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST ซีรีส์ THE CYBER MINDSET กับ “อาจารย์ปริญญา หอมเอนก” ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ ดำเนินรายการโดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ซีรีส์ THE CYBER MINDSET จะนำเสนอเนื้อหาที่ช่วยตอบข้อสงสัยและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข่าวในโลกไซเบอร์ที่อาจใกล้ตัวคุณผู้ฟังมากกว่าที่คิด เพื่อลดความเสี่ยงการถูกโจรกรรมทางออนไลน์และเสริมภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้ไม่ตกเป็นเหยื่อจากความไม่รู้เท่าทัน #THECYBERMINDSET #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST รู้ทันไซเบอร์ สร้างความเข้าใจ ใช้งานปลอดภัยไปกับ #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST พอดแคสต์ที่จะช่วยให้คุณรู้เท่าทันสื่อ สังคม ภัยไซเบอร์และเข้าถึงข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน จัดทำโดย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท

ชัวร์ก่อนแชร์ : เตือนภัย SIM SWAP ทำให้บัญชีธนาคารว่างเปล่า จริงหรือ ?

20 สิงหาคม 2566 – บนโซเชียลแชร์เตือนว่า บัญชีธนาคารของคุณสามารถว่างเปล่าได้ โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ขณะนี้มีการหลอกลวงทางเทคโนโลยีขั้นสูงที่เรียกว่า SIM SWAP FRAUD หากโดนมือถือจะเริ่มต้นที่ไม่มีสัญญาณ สักพักจะมีคนโทรเข้า และหลอกให้เรากด 1 ก่อนจะแฮกเงินในบัญชีออกไปอย่างง่ายดาย บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ อาจารย์ปริญญา หอมเอนก ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอซิส โปรเฟสชั่นนัล เซ็นเตอร์ จำกัด SIM SWAP คือ การที่มิจฉาชีพหลอกค่ายมือถือเพื่อขอซิมใหม่เบอร์เดิมของเหยื่อ เมื่อได้รับซิมการ์ดก็จะใช้ข้อมูลส่วนตัวของเหยื่อ เริ่มทำการเข้าถึงแอปพลิเคชันต่าง ๆ เช่น แอปพลิเคชันธนาคาร ที่ลงทะเบียนด้วยเบอร์โทรศัพท์ รวมไปถึงระบบยืนยันตัวตน OTP จากนั้นสวมรอยโอนเงินออกจากบัญชีธนาคารของเรา ดังนั้นโทรศัพท์มือถือไม่ได้โดนแฮ็ก มันคือการขโมยเบอร์เอาไปใส่เครื่องอื่น แล้วกดทำธุรกรรมต่าง ๆ มือถือเราจะสัญญาณหาย และหลังจากนั้นไม่นานคนร้ายจะมาหลอกให้เรากด 1 จริงหรือ ?“ไม่เกี่ยวกัน เพราะมิจฉาชีพจะ […]

1 2 3 4 8
...