รมว.เกษตรฯ ลงพื้นที่ตรวจสถานการณ์น้ำลุ่มเจ้าพระยา
รัฐมนตรีเกษตรฯ ลงพื้นที่ตรวจสถานการณ์น้ำลุ่มเจ้าพระยา กำชับกรมชลฯ ลดปริมาณน้ำจังหวัดนครสวรค์ที่ล้นตลิ่งเป็นวงกว้าง
รัฐมนตรีเกษตรฯ ลงพื้นที่ตรวจสถานการณ์น้ำลุ่มเจ้าพระยา กำชับกรมชลฯ ลดปริมาณน้ำจังหวัดนครสวรค์ที่ล้นตลิ่งเป็นวงกว้าง
รมว.เกษตรฯ ย้ำแก้ กม.คุ้มครองพันธุ์พืช เกษตรกรไม่เสียสิทธิ์ แต่หากสร้างความสับสนพร้อมยุติการทบทวนทันที
รมว.เกษตรฯ ยืนยันข้อมูลสภาพน้ำในเขื่อนและน้ำในลำน้ำ รวมถึงแผนบริหารจัดการน้ำปัจจุบันจะไม่เกิดน้ำท่วมใหญ่เหมือนปี 54 แน่นอน
รมว.เกษตรฯ เยือนมอลตาร่วมถกแผนป้องทรัพยากรในมหาสมุทรทั่วโลก ย้ำจุดยืนไทยร่วมแก้ปัญหามลพิษทางทะเล
รมว.เกษตรฯ เรียกทุกหน่วยงานเดินหน้าแผนงานปี 2561 ขับเคลื่อนภาคการเกษตร พร้อมยกระดับเกษตร 4.0
รัฐมนตรีเกษตรฯ สั่งเลขาฯ ส.ป.ก.เร่งช่วยเกษตรกรสระแก้วไม่มีน้ำ-ไฟ หลังนายกรัฐมนตรีเดินทางกลับ
รมว.เกษตรฯ ระบุจีดีพีเกษตรไทยครึ่งปีแรกโตเกินความคาดหมาย เตรียมส่งมอบแม่โคเนื้อพันธุ์ดีให้เกษตรกร ต.ค.นี้
รัฐมนตรีเกษตรกำชับกรมชลฯ เตรียมรับสถานการณ์ช่วงฝนชุก ยืนยันยังไม่มีพื้นที่น้ำท่วมตามที่มีข่าวลือ
กระทรวงเกษตรฯ ออกตรวจตลาดสดแบบบูรณาการ คุมเข้มสินค้าเกษตร สร้างความเชื่อมั่นผู้บริโภคช่วงเทศกาลสารทจีน
เกษตรฯ มั่นใจ กทม.จะไม่มีปัญหาน้ำท่วมเหมือนปี 54 ขณะที่นายกฯ เตรียมลงพื้นทีี่สระแก้วมอบที่ดิน ส.ป.ก. 28 ส.ค.นี้
ก.เกษตรฯ ถกสมาคมประมงฯ แก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานอย่างหนัก
กรุงเทพฯ 30 ก.ค.- กระทรวงเกษตรจับมืออิสราเอลนำเทคโนโลยีสู่โครงการเกษตรแปลงใหญ่ที่จ.มหาสารคาม พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ผลจากการหารือร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและชนบทของอิสราเอล รวมถึงได้ลงนามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการเกษตรระหว่างกันเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ณ รัฐอิสราเอล นั้น ขณะนี้กรมชลประทานได้จัดทำกรอบแผนงานโครงการเกษตรแปลงใหญ่ผสานเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเกษตรและการใช้น้ำในพื้นที่ชลประทานอ่างเก็บน้าห้วยประดู่โครงการชลประทานมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม ระยะเวลา 2 ปี (2561-2562) เรียบร้อยแล้ว ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวจะเป็นพื้นที่นำร่องที่เน้นใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นสูงที่มีความชัดเจนและเห็นผลเร็ว เสนอให้ทางอิสราเอลเพื่อทำงานร่วมกัน โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคมนี้ ก่อนกำหนดวันจัดประชุมระดับเจ้าหน้าที่ของสองประเทศโดยเร็ว สำหรับกรอบแนวทางที่ไทยขอรับการสนับสนุนและร่วมมือจากอิสราเอล มี 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1. การใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมกับพื้นที่ เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต โดยเฉพาะการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตสินค้าเกษตรในระดับไร่นา การจัดการ ดิน น้าและ พืช การวิเคราะห์คุณสมบัติดินและน้ำในพื้นที่ การแนะนำพืชทางเลือกที่เหมาะสมกับดินและน้ำและมีมูลค่าสูงทางการตลาด การนำน้ำมาใช้ซ้ำและหมุนเวียนน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่การจัดแปลงเพาะปลูก และระบบการให้น้ำ การจัดแปลงเพาะปลูกที่เหมาะสมเพื่อลดการระเหยของน้ำและให้ผลผลิตต่อหน่วยสูง การออกแบบระบบการให้น้ำแบบประหยัดน้ำและประหยัดพลังงานที่เหมาะสมกับชนิดพืช ทางเลือก ดิน และปริมาณน้ำต้นทุนที่มีอยู่โดยคำนึงถึงผลผลิต ต่อหน่วยและผลผลิตต่อพื้นที่ที่เพิ่มขึ้น รวมถึงถ่ายทอดดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตสินค้าเกษตรในระดับธุรกิจในด้านเทคโนโลยีหลังเก็บเกี่ยวเพื่อเก็บรักษาคุณภาพผลผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ 2. ให้คำแนะนำและช่วยเหลือในการเลือก การพัฒนา การติดตั้ง และประยุกต์ใช้เครื่องจักร เครื่องมือ […]