จีนขุดพบ ‘เข็มเหล็กใช้ฝังเข็ม’ เก่าแก่สุดจากสุสานโบราณ

หนานชาง 27 มิ.ย. — สถาบันวัตถุทางวัฒนธรรมและโบราณคดีมณฑลเจียงซีทางตะวันออกของจีน รายงานการค้นพบเข็มเหล็กสำหรับการฝังเข็มจากสุสานชื่อดังของขุนนางแห่งไห่ฮุนหรือหลิวเฮ่อในมณฑลเจียงซี ซึ่งถือเป็นเข็มเหล็กสำหรับการฝังเข็มที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยค้นพบ สำนักข่าวซินหัวรายงานวานนี้ว่า เข็มเหล่านี้ถูกประดิษฐ์ขึ้นอย่างเชี่ยวชาญด้วยเทคโนโลยีหลอมเหล็กอันซับซ้อน มีความเก่าแก่กว่า 2,000 ปี สามารถสืบย้อนกลับถึงยุคราชวงศ์ฮั่น (202 ปีก่อนคริสตศักราช-ปี 220) ถูกขุดพบจากหลอดหยกภายในกล่องเคลือบแผ่นทอง โดยมีสภาพผุกร่อนและแตกกระจายอย่างรุนแรงหยาง จวิน หัวหน้าทีมขุดค้นสุสาน กล่าวว่ามีวัตถุคล้ายเข็มอยู่ภายในหน้าตัดของหลอดหยกอย่างน้อย 5 เล่ม เข็มแต่ละเล่มมีเส้นผ่านศูนย์กลางราว 0.3-0.5 มิลลิเมตร เหมือนถูกห่อหุ้มด้วยผ้าก่อนเก็บเข้าหลอดหยก ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติที่รักษาความสะอาดและหยิบจับใช้งานสะดวก หวัง ฉู่หนิง นักวิจัยระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง กล่าวว่านี่เป็นเครื่องมือทางการแพทย์อย่างไม่ต้องสงสัย ความบางของมันใกล้เคียงกับเส้นผ่านศูนย์กลางของเข็มที่ใช้ในการฝังเข็มยุคปัจจุบัน และเข็มที่ทำจากเหล็กมีข้อได้เปรียบทางคลินิก เมื่อเทียบกับวัสดุอื่นๆ เช่น ทองและเงิน กู้ ม่าน จากสถาบันบัณฑิตแพทยศาสตร์แห่งชาติจีน กล่าวว่าเข็มเหล่านี้อาจเป็นเข็มเหล็กสำหรับการฝังเข็มที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยค้นพบในจีน จึงถือเป็นหลักฐานสำคัญมากของประวัติศาสตร์โลหะวิทยาและการแพทย์แผนจีนโบราณในยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันตก.-813.-สำนักข่าวไทย

แพทย์แนะฝังเข็มช่วยปรับสมดุล บำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยโรคประสาท

กรมการแพทย์ โดยสถาบันประสาทวิทยา เผยการฝังเข็มบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยโรคทางระบบประสาท ช่วยปรับการทำงานของร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ ให้กลับสู่สภาพสมดุลปกติหรือใกล้เคียงปกติให้มากที่สุด

แพทย์แนะ 3 สมุนไพร-ฝังเข็ม ช่วยลดความอยากบุหรี่

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก แนะนำ 3 สมุนไพร ได้แก่ กานพลู หญ้าดอกขาว และมะนาว พร้อมแนวทางการฝังเข็มตามศาสตร์แพทย์แผนจีน ช่วยลดความอยากบุหรี่ เพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่ดี เนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลก

ชัวร์ก่อนแชร์ : นวดกดจุดศีรษะกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติได้ จริงหรือ?

บนสังคมออนไลน์แชร์แนะนำว่า นวดกดจุดศีรษะสามารถกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติได้ เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

ชัวร์ก่อนแชร์ : คนที่สักร่างกายห้ามบริจาคเลือดจริงหรือ?

บนโซเชียลแชร์เตือนกันว่า คนที่มีการสักตามร่างกาย ห้ามไปบริจาคเลือด เรื่องนี้จริงหรือไม่? ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

ชัวร์ก่อนแชร์ : ไม้หนีบผ้าหนีบใบหู รักษาโรคจริงหรือ?

บนสังคมออนไลน์แชร์แนะนำให้รักษาโรคด้วยการหนีบใบหู เรื่องนี้จริงหรือไม่ ตรวจสอบอย่างไร ติดตามในชัวร์ก่อนแชร์

...