อดีต ปธน. ศรีลังกาถูกสอบปากคำกรณีซ่อนเงินจำนวนมาก

ตำรวจศรีลังกากล่าววันนี้ว่า ได้สอบปากคำอดีตประธานาธิบดีโกตาบายา ราชปักษา ที่ถูกกดดันให้พ้นจากตำแหน่ง กรณีที่ผู้ประท้วงบุกจู่โจมบ้านพักของเขาเมื่อปีที่แล้วและพบเงินสดจำนวนมากซุกซ่อนอยู่ในบ้าน

เตรียมฝังศพอดีตผู้นำปากีสถานวันนี้

การาจี 7 ก.พ.- พล.อ.เปอร์เวซ มูชาร์ราฟ อดีตประธานาธิบดีปากีสถานที่ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันอาทิตย์ จะได้รับการฝังศพในวันนี้ ทั้งนี้แม้ไม่มีการประกาศข่าวพิธีฝังศพ พล.อ.มูชาร์ราฟอย่างเป็นทางการ แต่แหล่งข่าวทางการบินเผยว่า เครื่องบินบรรทุกร่างของเขาได้ลงจอดที่นครการาจีเมื่อเย็นวันจันทร์ ขณะที่เจ้าหน้าที่ทหารที่ขอสงวนนามคาดว่า พล.อ.มูชาร์ราฟจะได้รับการฝังที่นครการาจีในวันนี้ อดีตผู้นำปากีสถานถึงแก่อสัญกรรมที่นครดูไบของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ด้วยวัย 79 ปี เขาเดินทางไปรักษาตัวตั้งแต่ปี 2549 หลังจากทางการยกเลิกคำสั่งห้ามเดินทางออกนอกประเทศ ครอบครัวเผยเมื่อปีที่แล้วว่า หมดหวังที่เขาจะหายจากโรคอะไมลอยด์โดสิส ซึ่งเป็นโรคที่พบได้ยาก เกิดจากร่างกายสร้างโปรตีนอะมีลอยด์มากเกินไปจนไปสะสมตามเนื้อเยื่อของอวัยวะต่าง ๆ พล.อ.มูชาร์ราฟยึดอำนาจในปี 2542 ด้วยการรัฐประหารอย่างไร้การนองเลือด จากนั้นขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ผู้บัญชาการกองทัพ และหัวหน้ารัฐบาลในปี 2544 เขาเป็นพันธมิตรคนสำคัญของสหรัฐในช่วงที่สหรัฐยกกำลังบุกโค่นล้มตอลิบานในอัฟกานิสถานในปีเดียวกัน ทำให้กลุ่มติดอาวุธไม่พอใจ และพยายามลอบสังหารเขาหลายครั้ง พล.อ.มูชาร์ราฟรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศจำนวนมาก ส่งผลให้เศรษฐกิจประเทศเติบโตและมีการปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย แต่ในขณะเดียวกันได้ระงับการใช้รัฐธรรมนูญถึง 2 ครั้ง ทำให้ถูกกล่าวหาว่าหาทางเพิ่มอำนาจให้ตนเอง ละเมิดสิทธิอย่างกว้างขวาง รวมถึงการกวาดล้างฝ่ายต่อต้านตลอด 9 ปีที่อยู่ในอำนาจตั้งแต่ปี 2542-2551.-สำนักข่าวไทย

“เปอร์เวซ มูชาร์ราฟ” อดีตผู้นำปากีสถานถึงแก่อสัญกรรม

กองทัพปากีสถานเปิดเผยวันนี้ว่า พลเอกเปอร์เวซ มูชาร์ราฟ อดีตประธานาธิบดีปากีสถานถึงแก่อสัญกรรม ที่นครดูไบ ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ด้วยวัย 79 ปี จากโรคที่เขาเป็นมานานแล้ว

สภาเปรูคว่ำเรื่องเลือกตั้งให้เร็วขึ้น แม้คนยังประท้วงใหญ่

ลิมา 2 ก.พ.- รัฐสภาเปรูลงมติไม่เห็นชอบเรื่องจัดการเลือกตั้งให้เร็วขึ้นจากเดือนเมษายน 2567 เป็นภายในปีนี้ตามที่ประธานาธิบดีเรียกร้องหวังยุติการประท้วงนาน 7 สัปดาห์ที่ทำให้มีคนเสียชีวิตแล้ว 48 คน สมาชิกสภาเปรูลงมติ 68 ต่อ 54 เสียง งดออกเสียง 2 เสียง ไม่ยอมรับร่างกฎหมายเลื่อนการเลือกตั้งมาเป็นเดือนธันวาคม หลังจากอภิปรายกันนาน 5 ชั่วโมง ก่อนหน้านี้สมาชิกสภาได้ลงมติในเดือนธันวาคม 2565 เลื่อนกำหนดการเลือกตั้งจากที่ต้องมีขึ้นในปี 2569 เป็นเดือนเมษายน 2567 แต่ผู้ประท้วงยังคงเคลื่อนไหวต่อไป ประธานาธิบดีดินา โบลัวร์เต จึงเรียกร้องให้จัดการเลือกตั้งภายในปีนี้ และขู่ก่อนที่รัฐสภาจะลงมติเมื่อวันพุธว่า หากร่างกฎหมายไม่เป็นผ่านสภาเป็นครั้งที่ 3 เธอจะเสนอให้ปฏิรูปรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีการเลือกตั้งรอบแรกในเดือนตุลาคม และรอบตัดสินในเดือนธันวาคมปีนี้ สถาบันเปรูศึกษาเผยผลสำรวจว่า ชาวเปรูร้อยละ 73 ต้องการเลือกตั้งในปีนี้ เปรูมีการประท้วงแทบทุกวันตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2565 เป็นวันที่นายเปโดร กัสติญโญ ประธานาธิบดีในขณะนั้นถูกควบคุมตัวหลังจากพยายามยุบสภา ผู้ประท้วงซึ่งเรียกร้องให้ยุบสภา มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และให้นางโบลัวร์เตลาออก ได้ตั้งสิ่งกีดขวางถนน ทำให้หลายพื้นที่ขาดแคลนอาหารและสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน อีกทั้งยังกระทบต่อการท่องเที่ยวที่เป็นอุตสาหกรรมสำคัญของประเทศ นอกจากนี้ยังปะทะกับเจ้าหน้าที่ […]

จีนไม่พอใจ ปธน.ใหม่เช็กคุยโทรศัพท์กับ ปธน.ไต้หวัน

ปักกิ่ง 31 ม.ค.- จีนวิจารณ์นายปีเตอร์ ปาเวล ประธานาธิบดีสาธารณรัฐเช็กที่เพิ่งได้รับการเลือกตั้งเรื่องสนทนาทางโทรศัพท์กับประธานาธิบดีและรัฐมนตรีต่างประเทศไต้หวันเมื่อวันก่อน โฆษกกระทรวงต่างประเทศจีนแถลงว่า นายปาเวลได้ล้ำเส้นจีน เป็นการแทรกแซงกิจการภายในของจีนอย่างร้ายแรง และทำร้ายความรู้สึกของชาวจีน รัฐบาลจีนขอให้รัฐบาลเช็กดำเนินมาตรการโดยทันทีเพื่อลบล้างผลด้านลบที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ดังกล่าว หลีกเลี่ยงไม่ให้ความสัมพันธ์ของ 2 ประเทศเกิดความเสียหายอย่างไม่สามารถแก้ไขได้ และยึดมั่นตามพันธกิจทางการเมืองเรื่องหลักการจีนเดียว นายปาเวลชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อวันเสาร์และจะดำรงตำแหน่งแทนนายมิโลช เซมาน ประธานาธิบดีที่นิยมจีนในวันที่ 9 มีนาคม เขาได้สนทนาทางวิดีโอกับประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีนเป็นเวลา 45 นาทีเมื่อต้นเดือน ผู้นำจีนเรียกเขาว่าเพื่อน และยกย่องความสัมพันธ์ฉันมิตรของ 2 ประเทศ ต่อมาเขาได้สนทนาทางโทรศัพท์ประมาณ 15 นาทีกับประธานาธิบดีไช่ อิงเหวิน และนายโจเซฟ อู๋ รัฐมนตรีต่างประเทศของไต้หวันที่แสดงความยินดี เขาทวีตหลังจากนั้นว่า ได้ขอบคุณและรับปากว่าเช็กเชิดชูค่านิยมเรื่องเสรีภาพ ประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชนเช่นเดียวกับไต้หวัน เขาให้สัมภาษณ์สถานีวิทยุในวันอาทิตย์ ว่า หลักการจีนเดียวควรเป็นส่วนเสริมหลักการ 1 ประเทศ 2 ระบบ และไม่ผิดหากเช็กจะมีความสัมพันธ์พิเศษกับไต้หวันที่เป็นอีก 1 ระบบ นายปาเวลเป็นอดีตนายพลที่เคยเป็นประธานคณะกรรมาธิการทหารขององค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือหรือนาโตระหว่างปี 2558-2561 เขาเคยเป็นประธานาธิบดีเช็กคนแรกในปี 2536-2546 หลังจากที่เป็นผู้นำการปฏิวัติกำมะหยี่ (Velvet […]

ชาวเปรูประท้วงไล่ประธานาธิบดี

ชาวเปรูหลายร้อยคนเดินขบวนประท้วงกลางกรุงลิมา เรียกร้องให้ประธานาธิบดีดินา โบลูอาร์เต ลาออกจากตำแหน่ง ยุบสภา และร่างรัฐธรรมนูญใหม่

ผู้นำเปรูวอน “พักรบ” ขณะมีการปะทะครั้งใหม่ในเมืองหลวง

ลิมา 25 ม.ค.- ประธานาธิบดีดินา โบลัวร์เต ของเปรูร้องขอให้มีการ “พักรบระดับชาติ” เพื่อยุติเหตุไม่สงบที่เกิดขึ้นทั่วประเทศมาหลายสัปดาห์ ขณะที่การเดินขบวนครั้งใหญ่ในกรุงลิมาเกิดการปะทะกับตำรวจครั้งใหม่ ประธานาธิบดีโบลัวร์เต แถลงข่าวกับสื่อต่างประเทศ ร้องขอให้มีการพักรบระดับชาติเพื่อเปิดทางให้มีการเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหาให้แต่ละภูมิภาคและร่วมกันพัฒนาเมือง เธอกล่าวขอโทษอย่างเต็มไปด้วยอารมณ์ความรู้สึกหลายครั้งต่อเรื่องที่มีผู้เสียชีวิต แต่ยืนยันว่าจะยังไม่ลาออก เธอจะไปทันทีที่มีการเลือกตั้งทั่วไป เพราะไม่คิดจะอยู่ในอำนาจ และมั่นใจว่า รัฐสภาจะเห็นชอบในเดือนกุมภาพันธ์เรื่องจัดการเลือกตั้งก่อนกำหนด จากเดิมที่ต้องมีขึ้นในเดือนเมษายน 2567 ชาวเปรูจำนวนมาก หลายคนสวมชุดพื้นเมือง เดินขบวนจากพื้นที่แถบเทือกเขาแอนดีสเข้ามายังกรุงลิมา กล่าวโทษนางโบลัวร์เตว่าเป็นต้นเหตุที่ทำให้มีผู้เสียชีวิต 46 คนนับตั้งแต่ประชาชนออกมาประท้วง เพราะไม่พอใจที่อดีตประธานาธิบดีเปโดร กัสติญโญ ถูกถอดถอนจากตำแหน่งและจับกุมเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2565 ทำให้โบลัวร์เต ซึ่งดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีโดยอัตโนมัติ การชุมนุมเกิดความรุนแรงเมื่อเย็นวานนี้ เมื่อผู้ชุมนุมบางคนขว้างปาก้อนหินใส่ตำรวจ และถูกตำรวจยิงแก๊สน้ำตาตอบโต้ มีคนถูกจับกุมและมีคนบาดเจ็บ ชาวเปรูในพื้นที่ยากจนทางตอนใต้ของประเทศ ส่วนใหญ่เป็นชนพื้นเมือง มองว่านายกัสติญโญที่มีพื้นเพเป็นชนพื้นเมืองเช่นเดียวกัน เป็นตัวแทนของพวกเขา มากกว่านักการเมืองในเมืองหลวง และในวันนี้จะมีการประท้วงใหญ่ทั่วประเทศอีกครั้ง.-สำนักข่าวไทย

บราซิลปลด ผบ.ทบ.หลังเกิดจลาจลต่อต้านรัฐบาล

บราซิเลีย 22 ม.ค.- ประธานาธิบดีลูอิซ อินาซิโอ ลูลา ดา ซิลวา ของบราซิลปลดผู้บัญชาการกองทัพบกออกจากตำแหน่ง หลังจากกลุ่มสนับสนุนอดีตประธานาธิบดีก่อเหตุจลาจลบุกที่ทำการรัฐบาลเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน ประธานาธิบดีลูลาปลด พล.อ.จูลิโอ เซซาร์ จี อาร์ฮูดา ผู้บัญชาการกองทัพบกเมื่อวันเสาร์ตามเวลาท้องถิ่น ก่อนที่ประธานาธิบดีจะเดินทางไปอาร์เจนตินาในวันนี้ ซึ่งเป็นการเยือนต่างประเทศครั้งแรก หลังจากชนะเลือกตั้งเมื่อเดือนตุลาคม 2565 และรับตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2566 พล.อ.อาร์ฮูดาเพิ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม จากนั้นในวันที่ 8 มกราคมกลุ่มผู้สนับสนุนอดีตประธานาธิบดีฌาอีร์ โบลโซนารูได้บุกเข้าไปในอาคารรัฐสภา ทำเนียบประธานาธิบดี และศาลฎีกา ทำลายข้าวของเสียหาย และพ่นข้อความเรียกร้องให้กองทัพรัฐประหาร ประธานาธิบดีลูลาสงสัยว่า กองทัพอาจจะเกี่ยวข้องกับการก่อจลาจลที่มีคนถูกจับกุมมากกว่า 2,000 คน นายโจเซ มูซิโอ รัฐมนตรีกลาโหมบราซิลกล่าวหลังจากเข้าพบประธานาธิบดีว่า ผู้บัญชาการกองทัพบกถูกปลดเนื่องจากละเมิดความไว้วางใจ รัฐบาลจำเป็นต้องหยุดยั้งเพื่อให้การก่อจลาจลยุติ สวนทางกับที่เขาเผยเมื่อวันศุกร์หลังจากประธานาธิบดีเรียกประชุมผู้บัญชาการ 3 เหล่าทัพว่า ไม่มีกองทัพเกี่ยวข้องกับเหตุจลาจลโดยตรง ขณะที่ พล.อ.โตมาส ฮิเบโร ปายวา ผู้บังคับการกองทัพภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการกองทัพบกคนใหม่เมื่อวันเสาร์ประกาศเมื่อวันพุธว่า […]

เปรูประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเมืองหลวง

ลิมา 15 ม.ค.- รัฐบาลเปรูประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเมื่อเย็นวันเสาร์ตามเวลาท้องถิ่นในกรุงลิมาและอีก 3 พื้นที่ เนื่องจากมีการประท้วงต่อต้านประธานาธิบดีคนปัจจุบันที่มีผู้เสียชีวิตแล้ว 42 คน ในเวลาไม่กี่สัปดาห์ ประกาศที่เผยแพร่กิจจานุเบกษาระบุว่า สถานการณ์ฉุกเฉินมีผลบังคับใช้ 30 วันในกรุงลิมา แคว้นกุสโก แคว้นปูโน และเมืองท่ากายาโอที่อยู่ใกล้กับเมืองหลวง ให้อำนาจกองทัพแทรกแซงเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย และระงับสิทธิประชาชนตามรัฐธรรมนูญหลายอย่าง เช่น เสรีภาพในการเคลื่อนไหวและชุมนุม การปิดกั้นถนนมีมากกว่า 100 จุด ส่วนใหญ่อยู่รอบกรุงลิมา และพื้นที่ทางตอนใต้ของประเทศที่เป็นศูนย์กลางการประท้วง กลุ่มผู้สนับสนุนอดีตประธานาธิบดีเปโดร คาสติญโญเดินขบวนและปิดกั้นถนนทั่วเปรูตั้งแต่เดือนธันวาคม เรียกร้องให้จัดการเลือกตั้งใหม่และปลดนางดินา โบลัวร์เต รองประธานาธิบดีที่ขึ้นเป็นประธานาธิบดีหญิงคนแรกของประเทศ หลังจากนายคาสติญโญพยายามชิงยุบสภาและถูกลงมติถอดถอนจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม นายคาสติญโญ วัย 53 ปี ซึ่งกำลังถูกสอบสวนในคดีฉ้อโกงระหว่างดำรงตำแหน่งหลายคดี ถูกสั่งคุมขังเป็นเวลา 18 เดือนระหว่างรอพิจารณาคดีข้อหาเป็นกบฏ ส่วนนางโบลัวร์เต วัย 60 ปี ประธานาธิบดีคนที่ 6 ในรอบ 5 ปี ยืนยันทางโทรทัศน์เมื่อค่ำวันศุกร์ว่า จะไม่ลาออก เพราะมีหน้าที่ความรับผิดชอบต่อประเทศชาติ.-สำนักข่าวไทย

อิหร่านจำคุกลูกสาวอดีต ปธน.

เตหะราน 10 ม.ค.- บุตรสาวอดีตประธานาธิบดีอัคบาร์ ฮาเชมี ราฟซานจานี ของอิหร่านถูกศาลอิหร่านตัดสินจำคุก 5 ปี ทนายความของนางฟาเอเชห์ ฮาเชมี นักเคลื่อนไหววัย 60 ปี เผยว่า ลูกความถูกตัดสินจำคุก 5 ปี แต่ยังไม่ใช่คำพิพากษาถึงที่สุด และไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติม ขณะที่สำนักข่าวอิสนา กึ่งทางการอิหร่านระบุว่า อัยการกรุงเตหะรานได้ฟ้องเธอเมื่อปีก่อนในข้อหาโฆษณาชวนเชื่อต่อต้านการปกครอง สื่อทางการอิหร่านรายงานเมื่อเดือนกันยายน 2565 ว่า บุตรสาวอดีตประธานาธิบดีถูกควบคุมตัวโทษฐานยุยงให้เกิดเหตุจลาจลในกรุงเตหะราน ช่วงที่มีการประท้วงจากเหตุสตรีอิหร่านเชื้อสายเคิร์ดเสียชีวิตขณะถูกตำรวจควบคุมตัวเพราะไม่สวมฮิญาบ ฮาเชมีเคยถูกตัดสินจำคุกในปี 2555 และห้ามเคลื่อนไหวทางการเมือง เนื่องจากโฆษณาชวนเชื่อต่อต้านรัฐในช่วงที่มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2552 ครั้งนั้นประธานาธิบดีมาห์มุด อาห์มาดิเนจัด ชนะเลือกตั้งได้ดำรงตำแหน่งอีกสมัยด้วยคะแนนเสียงถึงร้อยละ 62 ทำให้เกิดการประท้วงทั้งในและต่างประเทศว่ามีการโกงเลือกตั้ง ส่วนอดีตประธานาธิบดีราฟซานจานี บิดาของเธอดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2532-2540 ถึงแก่อสัญกรรมในปี 2560 เขาเป็นผู้ดำเนินนโยบายเปิดเสรีทางเศรษฐกิจและปรับปรุงความสัมพันธ์กับโลกตะวันตก ทำให้มีทั้งผู้สนับสนุนและผู้ต่อต้าน.-สำนักข่าวไทย

อดีต ปธน.บราซิลเข้า รพ.ในสหรัฐ

ฟลอริดา 10 ม.ค.- อดีตประธานาธิบดีฌาอีร์ โบลโซนารู ของบราซิลเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลในรัฐฟลอริดาของสหรัฐเมื่อวันจันทร์ตามเวลาท้องถิ่น ขณะที่กลุ่มผู้สนับสนุนเขาประมาณ 1,500 คนถูกจับกุมจากเหตุบุกที่ทำการรัฐในกรุงบราซิเลีย อดีตประธานาธิบดีโบลโซนารูวัย 67 ปี เดินทางไปสหรัฐ 2 วันก่อนหมดวาระเมื่อสิ้นปี 2565 และไม่ได้ส่งมอบตำแหน่งให้แก่นายลูอิซ อินาซิโอ ลูลา ดา ซิลวา ผู้นำฝ่ายซ้ายวัย 77 ปี ที่ชนะเลือกตั้งเมื่อเดือนตุลาคม เขาเข้าโรงพยาบาลในเมืองออร์ลันโดเมื่อวันจันทร์ เนื่องจากปวดท้องอันเป็นผลมาจากการที่เขาเคยถูกแทงระหว่างหาเสียงเลือกตั้งปี 2561 แพทย์ระบุว่า เป็นอาการลำไส้อุดตันที่ไม่ร้ายแรง และไม่ถึงขั้นต้องผ่าตัด เขาให้สัมภาษณ์สถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็นบราซิลว่า เดิมตั้งใจจะพักอยู่ในสหรัฐจนถึงสิ้นเดือนมกราคม แต่ได้เปลี่ยนใจจะกลับบราซิลเร็วขึ้นแล้วเพื่อพบแพทย์ประจำตัว นายโบลโซนารูมีคดีในศาลฎีกาบราซิลหลายคดี เขาเดินทางไปสหรัฐด้วยวีซ่าที่ออกให้แก่ประมุขของรัฐ นักการทูต และเจ้าหน้าที่รัฐบาล ส.ส. ฮัวคิน กัสโตร พรรคเดโมแครตเรียกร้องให้รัฐบาลสหรัฐส่งตัวนายโบลโซนารูกลับประเทศ โดยระบุว่าสหรัฐไม่ควรให้ที่ลี้ภัยแก่เผด็จการที่ปลุกเร้าให้เกิดการก่อการร้ายในประเทศ ด้านโฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐเผยว่า ผู้เข้าสหรัฐด้วยวีซ่าเจ้าหน้าที่ต่างชาติจะต้องออกจากสหรัฐภายใน 30 วัน หรือยื่นขอเปลี่ยนแปลงสถานะการเข้าเมืองหากไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่แล้ว ขณะเดียวกันทหารบราซิลพร้อมกำลังหนุนจากตำรวจได้รื้อถอนแคมป์ที่ฝ่ายสนับสนุนนายโบลโซนารูปักหลักหน้ากองบัญชาการกองทัพมานาน 2 เดือนตั้งแต่เขาพ่ายการเลือกตั้ง มีผู้ถูกจับกุมไปสอบปากคำประมาณ 1,200 คน หลังจากมีคนถูกจับกุมไปแล้ว […]

ผู้นำโลกประณามเหตุบุกรัฐสภาในบราซิล

วอชิงตัน 9 ม.ค.- ผู้นำทั่วโลกประณามเหตุกลุ่มผู้สนับสนุนอดีตประธานาธิบดีฌาอีร์ โบลโซนารูของบราซิลบุกอาคารรัฐสภา ทำเนียบประธานาธิบดี และศาลฎีกาเมื่อวันอาทิตย์ตามเวลาบราซิล เพื่อประท้วงรัฐบาลชุดใหม่ที่ชนะเลือกตั้งเมื่อเดือนตุลาคมปีก่อน ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐกล่าวกับสื่อว่า เป็นการกระทำที่อุกอาจ จากนั้นทวีตผ่านทวิตเตอร์ว่า ขอประณามการทำร้ายประชาธิปไตยและการทำร้ายการเปลี่ยนถ่ายอำนาจอย่างสันติในบราซิล สถาบันประชาธิปไตยของบราซิลได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากสหรัฐ เจตนารมณ์ของชาวบราซิลจะต้องไม่ถูกสั่นคลอน เขาพร้อมเดินหน้าทำงานร่วมกับประธานาธิบดีลูอิซ อินาซิโอ ลูลา ดา ซิลวา ที่เป็นผู้นำคนใหม่ของบราซิล ประธานาธิบดีในอเมริกาใต้หลายคน เช่น อาร์เจนตินา ชิลี โคลอมเบีย เวเนซุเอลา พากันประณามการกระทำของกลุ่มผู้สนับสนุนอดีตประธานาธิบดีบราซิล และให้กำลังใจประธานาธิบดีลูลา เช่นเดียวกับผู้นำฝรั่งเศสและคิวบา ขณะที่นายโจเซฟ บอร์เรลล์ หัวหน้านโยบายต่างประเทศของสหภาพยุโรปหรืออียูทวีตว่า ตกใจกับการที่กลุ่มสุดโต่งใช้ความรุนแรงและเข้ายึดที่ทำการรัฐบาลบราซิลอย่างผิดกฎหมาย แม้แต่นายกรัฐมนตรีจอร์เจีย เมโลนี ของอิตาลีที่มีแนวคิดขวาจัดก็ประณามกลุ่มผู้สนับสนุนอดีตผู้นำบราซิลฝ่ายขวาว่า การก่อเหตุกับที่ทำการรัฐบาลเป็นเรื่องที่ไม่สามารถยอมรับได้และไม่ใช่การแสดงความเห็นต่างแบบประชาธิปไตย ทวิตเตอร์ของสมาชิกวุฒิสภาพรรคเดโมแครตสหรัฐหลายคนระบุว่า เหตุการณ์ที่บราซิลเกิดขึ้นในวันที่ 8 มกราคม สองปีเต็มหลังจากกลุ่มผู้สนับสนุนอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์บุกรัฐสภาสหรัฐเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2564 หวังล้มล้างการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2563 และมีผู้เสียชีวิต 5 คน สะท้อนว่า สิ่งที่สืบทอดมาจากทรัมป์ยังคงเป็นพิษต่อทวีปอเมริกาอยู่ […]

1 23 24 25 26 27 74
...