ผู้นำบราซิลออกจากโรงพยาบาลหลังผ่าตัดสะโพก
ประธานาธิบดีลูอีซ อินาซิโอ ลูลา ดา ซิลวา ของบราซิล เดินทางกลับไปยังที่พักประจำตำแหน่งแล้วในวันอาทิตย์ตามเวลาท้องถิ่น เพียง 2 วันหลังจากเขาเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม (Hip Replacement)
ประธานาธิบดีลูอีซ อินาซิโอ ลูลา ดา ซิลวา ของบราซิล เดินทางกลับไปยังที่พักประจำตำแหน่งแล้วในวันอาทิตย์ตามเวลาท้องถิ่น เพียง 2 วันหลังจากเขาเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม (Hip Replacement)
บราซิเลีย 28 ก.ย.- พิษแมงมุมที่นักวิจัยชาวบราซิลค้นพบเมื่อ 3 ทศวรรษก่อนว่า ทำให้อวัยวะเพศชายแข็งตัว ใกล้จะเป็นยาที่นำมาใช้ได้จริง เนื่องจากทางการอนุมัติผลการทดลองทางคลินิกขั้นที่ 1 แล้ว คณะนักวิจัยในบราซิลพบว่า แมงมุมที่มีชื่อเล่นว่า แมงมุมกล้วย (banana spider) เนื่องจากมักพบตามสวนกล้วย บางครั้งเรียกว่า แมงมุมพเนจร (wandering spider) และแมงมุมติดอาวุธ (armed spider) เมื่อกัดคนจะมีผลข้างเคียงคือ ทำให้อวัยวะเพศชายแข็งตัวค้างและเจ็บปวด จึงคิดจะสังเคราะห์โมเลกุลที่มีคุณสมบัติบางอย่างในพิษของแมงมุมมาพัฒนาเป็นเจลสำหรับรักษาภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศที่เป็นปัญหาของผู้ชายหลายล้านคนทั่วโลก แมงมุมกล้วยมีขนหนาสีน้ำตาล สามารถโตเต็มที่ได้สูงสุด 15 เซนติเมตร เป็นหนึ่งในแมงมุมที่มีพิษร้ายแรง พบตามประเทศในอเมริกาใต้ คณะนักวิจัยนำพิษไปสังเคราะห์โมเลกุลที่กระตุ้นให้ร่างกายปล่อยไนตริก ออกไซด์ ซึ่งจำเป็นต่อการทำให้อวัยวะเพศแข็งตัว เพราะไปเพิ่มการไหลเวียนโลหิตและทำให้หลอดเลือดขยายตัว นักวิจัยมองว่า ผลการวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากด้วย เพราะผู้ป่วยจำนวนมากไม่ยอมตัดต่อมลูกหมากเพราะกังวลผลข้างเคียงเรื่องอวัยวะเพศไม่แข็งตัว ขณะนี้ผลการทดลองทางคลินิกขั้นที่ 1 ผ่านการอนุมัติของทางการบราซิลแล้ว และกำลังเข้าสู่การทดลองขั้นที่ 2 จากทั้งหมด 3 ขั้น ก่อนที่จะได้รับอนุมัติให้จำหน่ายต่อไป.-สำนักข่าวไทย
เจ้าหน้าที่บราซิลกำลังสอบสวนหาสาเหตุเครื่องบินเล็กตก ขณะพยายามลงจอดท่ามกลางสภาพอากาศเลวร้าย มีผู้เสียชีวิต 14 คน
พายุไซโคลนถล่มทางตอนใต้ของบราซิล ทำฝนตกหนัก ลูกเห็บและลมกระโชกแรง มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 21 คน ผู้ว่าการรัฐเผยเป็นภัยพิบัติครั้งเลวร้ายที่สุดเท่าที่เคยมีมา
เซาเปาลู 24 ส.ค.- บราซิลกำลังเผชิญกับคลื่นความร้อนในขณะที่ยังอยู่ในช่วงกลางฤดูหนาว อุณหภูมิในนครเซา เปาลู เมืองใหญ่ที่สุดของประเทศใกล้ทำลายสถิติสูงสุดของเดือนสิงหาคมและของปี 2566 สถาบันอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติของบราซิลแจ้งว่า นครเซา เปาลูที่มีประชากร 11 ล้าน 5 แสนคน มากที่สุดในภูมิภาคลาตินอเมริกา มีอุณหภูมิสูงขึ้นเกือบ 10 องศาเซลเซียสจากอุณหภูมิเฉลี่ยของเดือนสิงหาคม โดยขึ้นไปแตะ 32.3 องศาเซลเซียสเมื่อวันพุธตามเวลาท้องถิ่น ใกล้แตะสถิติ 32.5 องศาเซลเซียสเมื่อวันที่ 16 มกราคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูร้อนของบราซิล และใกล้แตะสถิติอุณหภูมิสูงสุดของเดือนสิงหาคมที่ 33.1 องศาเซลเซียส ซึ่งวัดได้เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2495 และ 2498 สถาบันฯ เตือนว่า อุณหภูมิในวันนี้อาจสูงทำลายสถิติของเดือนสิงหาคมและของปี 2566 ทางการรัฐเซา เปาลูที่มีนครเซา เปาลูเป็นเมืองเอกได้ประกาศรายชื่อพื้นที่ที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเรื่องไฟป่า และเตือนประชาชนให้หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้ง และดูแลตนเองไม่ให้เกิดภาวะขาดน้ำจากอากาศที่แล้งและความชื้นต่ำ ขณะนี้ซีกโลกใต้กำลังเป็นฤดูหนาว ตรงข้ามกับยุโรปที่กำลังเป็นฤดูร้อน ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า บราซิลมีอากาศร้อนผิดปกติในเดือนนี้เพราะมวลอากาศร้อนและแล้งขนาดใหญ่แผ่ปกคลุมทั่วประเทศ อันเป็นผลจากปรากฏการณ์เอลนีโญผสมกับภาวะโลกร้อนจากกิจกรรมของคน ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า อากาศที่ร้อนขึ้นในหลายประเทศแม้แต่ในฤดูหนาวของซีกโลกใต้อาจกลายเป็นปรากฏการณ์ถาวรทั่วโลก เพราะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่ผู้คนยังคงละเลยสัญญาณเตือนเหล่านี้.-สำนักข่าวไทย
นักเตะสาวบราซิล พลิกล็อกตกรอบแรกศึกฟุตบอลหญิงชิงแชมป์โลก ครั้งแรกในรอบ 28 ปี หลังทำได้เพียงแค่เสมอ จาไมกา 0-0
รีโอเดจาเนโร 9 ก.ค.- บราซิลแจ้งว่า เหตุอาคารที่มีผู้เข้าไปครอบครองอย่างผิดกฎหมายและได้พังลงบางส่วนเมื่อวันศุกร์ตามเวลาท้องถิ่น มีผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็น 14 คน สำนักงานป้องกันภัยพลเรือนรัฐเปรูนัมบูกู ทางตะวันออกเฉียงเหนือของบราซิลแถลงหลังจากเสร็จสิ้นการค้นหาผู้รอดชีวิตเมื่อวันเสาร์ตามเวลาท้องถิ่นว่า พบผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นจาก 11 คนเป็น 14 คน มีทั้งชาย หญิง และเด็กอายุ มีอายุตั้งแต่ 5 ขวบถึง 45 ปี และช่วยชีวิตได้ 3 คน เป็นสตรีวัย 65 ปี 1 คน และคนวัยหนุ่มสาว 2 คน เจ้าหน้าที่เผยว่า อาคารที่พังบางส่วนเป็นอาคาร 3 ชั้น สร้างติดกับอาคารพักอาศัยอีกหลังหนึ่งที่มีขนาดใหญ่กว่า และถูกปิดไปตั้งแต่ปี 2563 เพราะเสี่ยงจะพังถล่ม แต่มีคนเข้าไปครอบครองอย่างผิดกฎหมายนับตั้งแต่นั้น ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนเมษายน มีอาคารลักษณะเดียวกันนี้พังถล่มในอีกเมืองหนึ่งของรัฐเดียวกัน มีผู้เสียชีวิต 6 คน.-สำนักข่าวไทย
รีโอเดจาเนโร 4 ก.ค.- นักวิจัยชาวบราซิลพบพืชที่มีสารแคนนาบิไดออลหรือซีบีดี (CBD) ที่นำไปบรรเทาอาการป่วยหลายอย่าง แต่ไม่มีสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอลหรือทีเอชซี (THC) ที่ทำให้เสพติด โฮดริโก โมรา แนโต วัย 66 ปี นักชีววิทยาโมเลกุล มหาวิทยาลัยแห่งชาติรีโอเดจาเนโร กำลังวิจัยต้นพังแหร (Trema micrantha blume) ซึ่งเป็นพืชท้องถิ่นโตเร็วของทวีปอเมริกา ถือเป็นวัชพืชที่พบได้ทั่วไป หลังจากพบว่า ผลและดอกของต้นนี้มีสารซีบีดีแบบที่พบในกัญชา ซึ่งเป็นสารที่ใช้บรรเทาอาการปวด คลายความวิตกกังวล โรคลมชัก แต่ไม่พบสารทีเอชซีแบบที่พบในกัญชา ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ทำให้เสพติด การค้นพบนี้เปิดโอกาสให้แก่การหาแหล่งผลิตสารซีบีดีได้เป็นจำนวนมาก โดยไม่ต้องใช้ต้นกัญชาที่ยังเป็นพืชผิดกฎหมายในหลายประเทศ รวมถึงบราซิล คณะทำงานของโมรา แนโตเพิ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากภาครัฐจำนวน 500,000 เรอัล (ราว 3.63 ล้านบาท) เพื่อสานต่อการวิจัย โดยจะมุ่งเน้นเรื่องการหาวิธีที่ดีที่สุดในการสกัดสารซีบีดีจากต้นพังแหร จากนั้นจะวิจัยเรื่องประสิทธิภาพในการนำมาใช้แทนกัญชาทางการแพทย์ เขาเผยว่า จะไม่จดสิทธิบัตรต้นพังแหร เพราะอยากให้นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกสามารถวิจัยได้เช่นกัน โมรา แนโตเผยว่า สาเหตุที่เริ่มวิจัยสารซีบีดี เนื่องจากขณะนั้นเป็นนักนิติพันธุศาสตร์ มีหน้าที่วิเคราะห์ดีเอ็นเอของกัญชาที่ตำรวจยึดได้เพื่อช่วยในการตามหาต้นตอกัญชา ต่อมาเขาได้เห็นผลการศึกษาที่พบสารซีบีดีในต้นไม้ประเภทหนึ่งในไทย ซึ่งเป็นพืชในวงศ์กัญชา จึงอยากทดสอบกับต้นพังแหรในบราซิล […]
วอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยต้านความแข็งแกร่งและความดุดันของบราซิลไม่ไหว พ่ายไป 0-3 เซต ศึกวอลเลย์บอลเนชั่นส์ ลีก 2023 สัปดาห์ที่ 3
ศาลตัดสินห้าม “ฌาอีร์ โบลโซนารู” อดีตประธานาธิบดีบราซิล เล่นการเมือง 8 ปี จากข้อกล่าวหากล่าวโจมตีระบบการเลือกตั้ง โดยเฉพาะเครื่องลงคะแนนเสียงอัตโนมัติ
ปารีส 27 มิ.ย. – ผลวิเคราะห์ข้อมูลดาวเทียมที่เผยแพร่ในวันนี้ระบุว่า ปี 2565 โลกสูญเสียป่าฝนคิดเป็นพื้นที่ใหญ่กว่าประเทศสวิตเซอร์แลนด์หรือเนเธอร์แลนด์ หรือเทียบกับสูญเสียป่าขนาด 1 สนามฟุตบอล ในทุก 5 วินาที กลุ่มจับตาป่าโลก หรือโกลบอล ฟอเรสต์ วอทช์ สังกัดสถาบันทรัพยากรโลก หรือดับเบิลยูอาร์ไอ (WRI) เผยแพร่รายงานว่า ปี 2565 มีการทำลายป่าทั่วโลกมากกว่า 41,000 ตารางกิโลเมตร เป็นปีที่ป่าถูกทำลายมากเป็นอันดับ 4 ในรอบ 2 ทศวรรษ และเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จากปี 2564 ทั้งที่ผู้นำโลกประกาศในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ครั้งที่ 26 (COP26) ที่กลาสโกว์ ในปี 2564 ว่าจะหยุดยั้งและพลิกฟื้นการสูญเสียป่าภายในปี 2573 รายงานระบุว่า การทำลายป่าเขตร้อนทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถูกปล่อยเข้าสู่ชั้นบรรยากาศมากถึง 2,700 ล้านตัน เทียบเท่ากับการปล่อยก๊าซจากเชื้อเพลิงฟอสซิลในอินเดีย โลกกำลังสูญเสียป่าซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ การค้ำจุนสุขภาพและชีวิตความเป็นอยู่ของคนหลายล้านคน เพราะพืชพรรณและดินช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ร้อยละ 30 […]
พายุไซโคลนพัดถล่มบราซิล มีผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็น 13 คน หลายเมืองได้รับความเสียหาย ท้องถนนเต็มไปด้วยดินโคลน เร่งอพยพประชาชนออกจากพื้นที่เสี่ยงภัย