“มัสก์” คืนบัญชีผู้ใช้ทวิตเตอร์ของนักข่าวที่ถูกระงับ

“อีลอน มัสก์” มหาเศรนษฐีสัญชาติอเมริกัน เจ้าของคนใหม่ของทวิตเตอร์ สื่อสังคมออนไลน์ยอดนิยม คืนบัญชีผู้ใช้งานให้กับนักข่าวหลายคนที่ถูกระงับการใช้งานไปก่อนหน้านี้หลังจากมัสก์กล่าวหาว่า บุคคลบเหล่านี้ทำให้ครอบครัวของเขาตกอยู่ในอันตรายด้วยการเผยแพร่ข้อมูลการเดินทางโดยเครื่องบินของเขา

ทวิตเตอร์ระงับบัญชีนักข่าวในสหรัฐที่เขียนวิจารณ์ “มัสก์”

วอชิงตัน 16 ธ.ค. – ทวิตเตอร์ประกาศระงับบัญชีผู้ใช้งานของนักข่าวชื่อดังหลายรายในสหรัฐที่เขียนวิพากษ์วิจารณ์อีลอน มัสก์ เจ้าของกิจการคนใหม่ของทวิตเตอร์ ขณะที่มัสก์ระบุว่า ทวิตเตอร์จะใช้ข้อกำหนดห้ามเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลกับผู้ใช้งานทุกคน ซึ่งรวมถึงนักข่าวด้วย ทวิตเตอร์ประกาศแจ้งระงับบัญชีผู้ใช้งานของนักข่าวชื่อดังหลายรายในสหรัฐเมื่อวันพฤหัสบดีตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งรวมถึงบัญชีผู้ใช้งานของมาสโตดอน (@joinmastodon) แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่ผู้คนหันไปเล่นแทนทวิตเตอร์หลังมัสก์ซื้อกิจการทวิตเตอร์ บรรดานักข่าวที่ถูกทวิตเตอร์ระงับบัญชีผู้ใช้งาน ได้แก่ ไรอัน แมค (@rmac18) นักข่าวหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทม์สของสหรัฐ, ดรูว์ แฮร์เวลล์ (@drewharwell) นักข่าวของหนังสือพิมพ์เดอะวอชิงตันโพสต์, โดนี โอ’ซัลลิแวน (@donie) นักข่าวของซีเอ็นเอ็น และแมตต์ ไบน์เดอร์ (@MattBinder) นักข่าวของแมชเอเบิล เว็บไซต์ข่าวชื่อดัง รวมถึงแอรอน รูปาร์ (@atrupar) นักข่าวอิสระสายการเมืองและนโยบายสหรัฐ โฆษกของหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทม์ส ระบุว่า ทวิตเตอร์ได้ประกาศระงับบัญชีผู้ใช้งานของนักข่าวชื่อดังหลายคน ซึ่งรวมถึงไรอัน แมค นักข่าวของเดอะนิวยอร์กไทม์ส ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสงสัยและน่าเสียดาย เดอะนิวยอร์กไทม์สและแมคยังไม่ได้รับคำอธิบายใด ๆ จากทวิตเตอร์เกี่ยวกับสาเหตุที่ถูกระงับบัญชี ทั้งยังระบุว่า เดอะนิวยอร์กไทม์สหวังว่าบัญชีผู้ใช้งานของนักข่าวที่ถูกแบนจะสามารถกลับมาใช้งานได้อีกครั้ง และทวิตเตอร์ต้องให้คำอธิบายที่หนักแน่นพอต่อการกระทำดังกล่าว ในขณะเดียวกัน มัสก์ได้เข้าไปตอบในโพสต์แจ้งระงับบัญชีผู้ใช้งานของทวิตเตอร์ว่า ทวิตเตอร์จะใช้ข้อกำหนดด้านการเปิดเผยนโยบายส่วนบุคคลในระบบอินเทอร์เน็ตกับผู้ใช้งานทุกคน ซึ่งรวมถึงนักข่าวด้วย เขากล่าวว่า […]

นักข่าวที่เมียนมานิรโทษกรรมขอให้ญี่ปุ่นกดดันเมียนมา

โตเกียว 28 พ.ย.- นักข่าวชาวญี่ปุ่นที่ได้รับนิรโทษกรรมจากเมียนมาเมื่อกลางเดือนนี้เรียกร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่นเพิ่มการกดดันรัฐบาลทหารเมียนมา และรับผู้ลี้ภัยจากเมียนมา นายโทรุ คุโบตะ ผู้ผลิตภาพยนตร์สารคดี วัย 26 ปี แถลงข่าวที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งญี่ปุ่นที่กรุงโตเกียวในวันนี้ เรียกร้องให้ญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศผู้บริจาคและผู้ลงทุนรายใหญ่ของเมียนมามานาน ดำเนินแนวทางเชิงรุกอย่างจริงจังต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเมียนมาและวิพากษ์วิจารณ์เมียนมาในเชิงรุกมากยิ่งขึ้น ญี่ปุ่นควรตรวจสอบอย่างเคร่งครัดว่า เงินทุนของญี่ปุ่นถูกกองทัพเมียนมานำไปใช้หรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถูกนำไปเข่นฆ่าผู้คนหรือไม่ เขายังขอให้รัฐบาลญี่ปุ่นรับผู้ลี้ภัยจากเมียนมาเพิ่มขึ้นด้วย ญี่ปุ่นเป็นรัฐผู้ลงนามในอนุสัญญาผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ แต่รับผู้ลี้ภัยเพียงจำนวนหนึ่งในแต่ละปี คุโบตะกล่าวถึงช่วงเวลาที่ถูกขังเดี่ยวที่เรือนจำอินเส่งในนครย่างกุ้งของเมียนมาว่า ราวกับอยู่ในนรก การที่เขาได้รับการปล่อยตัวพร้อมกับผู้ต้องขังอีกเกือบ 6,000 คน เป็นเพียงเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อ เพราะยังมีคนอีก 12,000 คนถูกควบคุมตัวอย่างไม่สมควร คุโบตะถูกทางการเมียนมาควบคุมตัวพร้อมกับพลเมืองชาวเมียนมา 2 คน ขณะอยู่ใกล้การชุมนุมต่อต้านรัฐบาลในนครย่างกุ้งเมื่อเดือนกรกฎาคม เขาถูกตัดสินจำคุก 7 ปีข้อหาบันทึกภาพการประท้วง และจำคุก 3 ปีข้อหาฝ่าฝืนกฎหมายเข้าเมือง โดยเพิ่งได้รับนิรโทษกรรมพร้อมกับผู้ต้องขังอีกหลายคนเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน เนื่องในวันแห่งชาติ (National Day) รวมถูกควบคุมตัวนาน 3 เดือนครึ่ง ญี่ปุ่นประกาศหลังจากกองทัพเมียนมารัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือนเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 ว่า จะระงับโครงการความช่วยเหลือใหม่ทุกโครงการ แต่ไม่กระทบโครงการที่มีอยู่แล้ว […]

นักข่าวฟิลิปปินส์ถูกยิงเสียชีวิตในกรุงมะนิลา

มะนิลา 4 ต.ค. – ตำรวจฟิลิปปินส์เผยวันนี้ว่า เกิดเหตุนักข่าวชาวฟิลิปปินส์ถูกยิงเสียชีวิตขณะขับรถยนต์อยู่ในกรุงมะนิลาเมื่อคืนวันจันทร์ ทำให้สื่อมวลชนและนักเคลื่อนไหวในฟิลิปปินส์ออกมาประณามเหตุดังกล่าวว่าเป็นการปิดกั้นเสรีภาพสื่อ ตำรวจฟิลิปปินส์ระบุว่า นายเพอร์ซิวัล มาบาซา นักข่าววิทยุชาวฟิลิปปินส์ วัย 63 ปี ถูกมือปืน 2 คนยิงเสียชีวิตขณะขับรถยนต์ใกล้ทางเข้าบ้านพักในเมืองลาสปินาสในย่านชานเมืองของกรุงมะนิลาเมื่อคืนวันจันทร์ ขณะที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติของฟิลิปปินส์ให้คำมั่นว่าจะเร่งจับกุมคนร้ายมาลงโทษตามกฎหมายให้ได้โดยเร็วที่สุด ส่วนรัฐบาลฟิลิปปินส์ยังไม่ได้ออกมาแสดงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้น ในขณะเดียวกัน สมาพันธ์นักข่าวแห่งฟิลิปปินส์ระบุว่า เหตุดังกล่าว ซึ่งเกิดขึ้นในกรุงมะนิลา แสดงให้เห็นว่าคนร้ายจงใจก่อเหตุอย่างอุกอาจโดยไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย และสะท้อนถึงความล้มเหลวของเจ้าหน้าที่ฟิลิปปินส์ในการปกป้องนักข่าวและประชาชนจากอันตราย ส่วนครอบครัวของนายมาบาซาระบุว่า เหตุฆาตกรรมในครั้งนี้เป็นอาชญากรรมที่ไม่ควรเกิดขึ้น และเรียกร้องให้ตำรวจเร่งจับกุมมือปืนมาลงโทษตามกฎหมาย ด้านการาปาตัน (Karapatan) กลุ่มสิทธิในฟิลิปปินส์ กล่าวถึงนายมาบาซาว่า เป็นนักข่าวที่กล้านำเสนอข้อเท็จจริงอย่างบ้าระห่ำที่สุดคนหนึ่งของประเทศ   สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานอ้างคลิปวิดีโอที่เผยแพร่ผ่านช่องยูทูบของนายมาบาซา ซึ่งมีผู้ติดตามมากถึง 216,000 คน ว่า คลิปวิดีโอส่วนใหญ่แสดงให้เห็นว่า นายมาบาซามักกล่าววิพากษ์วิจารณ์การทำงานของอดีตประธานาธิบดีโรดริโก ดูเตอร์เต ของฟิลิปปินส์ รวมถึงนโยบายและเจ้าหน้าที่บางคนในรัฐบาลปัจจุบันของประธานาธิบดีเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส จูเนียร์ อีกด้วย. -สำนักข่าวไทย

กษัตริย์ซาอุดีอาระเบียตั้งมกุฎราชกุมารเป็นนายกฯ

ริยาด 28 ก.ย.- สมเด็จพระราชาธิบดีซัลมาน บิน อับดุลอาซิซ แห่งซาอุดีอาระเบียทรงแต่งตั้งเจ้าชายโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน มกุฎราชกุมาร เป็นนายกรัฐมนตรี และทรงแต่งตั้งเจ้าชายคาลิด บิน ซัลมาน พระราชโอรสอีกพระองค์เป็นรัฐมนตรีกลาโหม สำนักข่าวเอสพีเอ (SPA) ของทางการซาอุดีอาระเบียรายงานอ้างพระราชกฤษฎีกาเมื่อวันอังคารว่า สมเด็จพระราชาธิบดี พระชนมพรรษา 86 พรรษา ทรงปรับคณะรัฐมนตรีด้วยการแต่งตั้งเจ้าชายโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน มกุฎราชกุมาร พระชนมายุ 37 พรรษาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จากก่อนหน้านี้ที่ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีคนที่ 1 และรัฐมนตรีกลาโหม และทรงแต่งตั้งเจ้าชายคาลิด บิน ซัลมาน พระชันษา 33-34 ปี เป็นรัฐมนตรีกลาโหม จากก่อนหน้าที่ที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยกลาโหม ส่วนตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศ รัฐมนตรีคลัง รัฐมนตรีการลงทุน และรัฐมนตรีพลังงานยังคงไม่เปลี่ยนแปลง เจ้าชายโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน หรือที่ทรงเป็นที่รู้จักในชื่อเอ็มบีเอส (MbS) และและเจ้าชายคาลิด บิน ซัลมาน ทรงเป็นพระโอรสองค์โตและองค์ที่ 2 ของพระชายาองค์ที่ […]

รัสเซียสั่งแบนนักข่าวอังกฤษเข้าประเทศ

มอสโก 15 มิ.ย. – กระทรวงต่างประเทศของรัสเซียประกาศห้ามนักข่าว 29 คนของอังกฤษเดินทางเข้าประเทศ โดยอ้างว่านักข่าวเหล่านี้แผยแพร่ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับรัสเซียและนำเสนอข่าวการสู้รบในยูเครนและภูมิภาคดอนบาสเพียงด้านเดียว กระทรวงต่างประเทศรัสเซียระบุในแถลงการณ์ว่า รัสเซียได้สั่งห้ามนักข่าว 29 คนของอังกฤษเดินทางเข้าประเทศ เนื่องจากนักข่าวเหล่านี้เผยแพร่ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับรัสเซียและนำเสนอข่าวการสู้รบในยูเครนและภูมิภาคดอนบาสเพียงด้านเดียว นอกจากนี้ รัสเซียยังได้สั่งห้ามบุคคลที่มีความเชื่อมโยงกับหน่วยงานกลาโหมของอังกฤษ 20 คนเข้าประเทศ เช่น เจ้าหน้าที่กองทัพ เจ้าหน้าที่กำกับดูแลน่านฟ้า และ ส.ส. อังกฤษ ทั้งยังระบุว่า การใช้มาตรการดังกล่าวมีขึ้นเพื่อตอบโต้มาตรการคว่ำบาตรรัสเซียของชาติตะวันตก การเผยแพร่ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับรัสเซีย และท่าทีต่อต้านรัสเซียของรัฐบาลอังกฤษ หนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียนของอังกฤษรายงานว่า รัสเซียได้สั่งแบนนักข่าวที่ทำงานให้สื่ออังกฤษหลายแห่ง เช่น เดอะการ์เดียน บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ หรือบีบีซี ซันเดย์ไทมส์ เดลีเมล ดิอินดีเพนเดนต์ เดลีเทเลกราฟ และสกายนิวส์ ด้านโฆษกของเดอะการ์เดียนเผยว่า คำสั่งดังกล่าวของรัฐบาลรัสเซียเป็นเรื่องน่าผิดหวังและเป็นเรื่องน่าเศร้าต่อเสรีภาพของสื่อมวลชน ทั้งที่นักข่าวให้ความสำคัญกับความถูกต้องและความน่าเชื่อถือในการนำเสนอข่าวในช่วงนี้เหนือสิ่งอื่นใด แม้รัสเซียได้ใช้คำสั่งห้ามนักข่าวอังกฤษหลายคนเข้าประเทศ แต่สื่อมวลชนอังกฤษก็จะยังคงรายงานข่าวการบุกโจมตียูเครนของรัสเซียอย่างตรงไปตรงมาต่อไป.-สำนักข่าวไทย

บทเรียนราคาแพงจริยธรรมสื่อมวลชน

แม้ว่าเมื่อวานนี้ (15 พ.ค.) “หลวงปู่แสง” จะให้อภัยทีมหมอปลา และนักข่าวแล้ว แต่ยังมีการตั้งคำถามถึงบทเรียนจากนี้ต่อจรรยาบรรณ และจริยธรรมในการนำเสนอข่าว ที่อาจละเมิดกระทบต่อชื่อเสียงหรือหมิ่นประมาทผู้อื่นได้ มีข้อเสนอจากนักวิชาการ ว่า กรณีนี้ ไม่ใช่แค่ละเมิดจริยธรรม แต่การสร้างข่าว ถือว่าละเมิดกฎหมาย สื่อต้องหันมาทบทวนบทบาทมากกว่าการพักงานหรือลงโทษนักข่าว เป็นแค่ปลายทาง เจ้าของธุรกิจสื่อต้องมีส่วนรับผิดชอบสังคม

นักข่าวยูเครนตายหลังรัสเซียยิงจรวดถล่มตึกในเคียฟ

เคียฟ 30 เม.ย.- สถานีวิทยุเรดิโอลิเบอร์ตีในยูเครนยืนยันว่า นักข่าวสตรีของทางสถานีเสียชีวิต หลังจากรัสเซียยิงจรวดถล่มอาคารพักอาศัยในกรุงเคียฟที่เธออาศัยอยู่เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ประธานสถานีวิทยุเรดิโอลิเบอร์ตีที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสหรัฐแถลงว่า เสียใจอย่างยิ่งที่ทราบข่าววีรา ไฮริช นักข่าวในยูเครนเสียชีวิต ทุกคนตกใจและเจ็บปวดที่เธอต้องเสียชีวิตอย่างผิดธรรมชาติในบ้านพักของตนเองที่อยู่ในเมืองและประเทศที่เธอรัก เธอเคยทำงานกับสถานีโทรทัศน์ชั้นนำของยูเครน ก่อนย้ายมาทำงานกับสถานีวิทยุแห่งนี้ในปี 2561 ในฐานะนักข่าวและโปรดิวเซอร์ ไฮริช วัย 55 ปี อาศัยอยู่ในอาคารพักอาศัยสูง 25 ชั้น ย่านใจกลางกรุงเคียฟ หน่วยฉุกเฉินของยูเครนแจ้งว่า รัสเซียยิงจรวดใส่อาคารหลังนี้เมื่อเย็นวันพฤหัสบดี ทำให้เกิดไฟไหม้ทันที ชั้นล่าง ๆ ของอาคารเสียหายบางส่วน มีผู้บาดเจ็บ 10 คน เจ้าหน้าที่พบร่างของเธอในวันศุกร์ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในขณะที่นายอันโตนีโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติหรือยูเอ็น (UN) กำลังเยือนกรุงเคียฟในวันเดียวกัน หลังจากไปพบประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูตินของรัสเซียที่กรุงมอสโกหนึ่งวันก่อนหน้านั้น นายกูเตอร์เรสเผยว่า ตกใจกับการโจมตีของรัสเซีย ขณะที่ประธานาธิบดีโวโลดีมีร์ เซเลนสกีของยูเครนกล่าวหารัสเซียว่า พยายามทำให้ยูเอ็นขายหน้า เช่นเดียวกับนายวิตาลี คลิตช์โก นายกเทศมนตรีกรุงเคียฟที่กล่าวว่า ผู้นำรัสเซียแสดงพฤติกรรมหยาบคายใส่เลขาธิการยูเอ็น ด้านรัสเซียยืนยันว่า ได้โจมตีเป้าหมายในยูเครน แต่ไม่พูดถึงการถล่มอาคารพักอาศัยที่ทำให้นักข่าวยูเครนเสียชีวิต สหภาพผู้สื่อข่าวแห่งชาติของยูเครนเผยว่า มีผู้ประกอบอาชีพสื่อทั้งชาวยูเครนและชาวต่างชาติถูกสังหารแล้ว 23 […]

“นักข่าว-ช่างภาพ” ช่องดังสหรัฐถูกยิงเสียชีวิตในยูเครน

วอชิงตัน 16 มี.ค. – สถานีโทรทัศน์ฟ็อกซ์ นิวส์ ของสหรัฐ เผยว่า ช่างภาพชายและผู้สื่อข่าวหญิงของสถานีโทรทัศน์ถูกยิงเสียชีวิตในยูเครน ในขณะที่รถยนต์ตกอยู่ในวงล้อมการยิงสู้รบที่เมืองโฮเรนกาในเขตชานเมืองของกรุงเคียฟ สถานีโทรทัศน์ฟ็อกซ์ นิวส์ ระบุว่า ปิแอร์ ซัคซิวสกี ช่างภาพชาวไอริช วัย 55 ปี และโอเล็กซานดรา คุฟชิโนวา ผู้สื่อข่าวชาวยูเครน วัย 24 ปี ถูกยิงเสียชีวิตในขณะที่รถยนต์ตกอยู่ในวงล้อมการยิงสู้รบที่เมืองโฮเรนกาในเขตชานเมืองของกรุงเคียฟ ส่วนนายเบนจามิน ฮอลล์ ผู้สื่อข่าวชาวอเมริกัน วัย 39 ปี ได้รับบาดเจ็บและยังคงรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล ด้านซูซาน สกอตต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือซีอีโอ ของฟ็อกซ์ นิวส์ ระบุในแถลงการณ์ว่า วันนี้เป็นวันที่ฟ็อกซ์ นิวส์ รู้สึกใจสลาย ซัคซิวสกีเป็นช่างภาพสายข่าวสงครามที่มีใจรักในงานและมีความสามารถอย่างเต็มเปี่ยม เขาลงพื้นที่ทำข่าวสงครามในต่างประเทศให้ฟ็อกซ์ นิวส์ มาตั้งแต่เกิดสงครามในอิรัก อัฟกานิสถาน และซีเรีย ในขณะเดียวกัน นายแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของสหรัฐ ได้ระบุผ่านทวิตเตอร์ว่า เขารู้สึกขอบคุณผู้ที่ต้องทำงานเสี่ยงชีวิตเพื่อตีแผ่ความจริงให้คนทั้งโลกรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในยูเครน […]

2 นักข่าวจะรับรางวัลโนเบลสันติภาพที่นอร์เวย์วันนี้

ออสโล 10 ธ.ค.- นักข่าวสตรีชาวฟิลิปปินส์และนักข่าวชายชาวรัสเซียจะรับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำปี 2564 ในพิธีที่จัดขึ้นที่กรุงออสโลของนอร์เวย์ในวันนี้ นางมาเรีย เรสซา วัย 58 ปี ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ข่าวแรปเปลอร์ (Rappler) และนายดมิทรี มูราตอฟ วัย 60 ปี บรรณาธิการบริหารหนังสือพิมพ์อิสระโนวายากาเซตา ได้รับการประกาศชื่อเมื่อต้นเดือนตุลาคมให้เป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพจากความพยายามปกป้องเสรีภาพในการแสดงออก ทั้งคู่จะรับใบประกาศเกียรติคุณ เหรียญทองโนเบล และเช็คมูลค่า 10 ล้านโครนาสวีเดน (ราว 37 ล้านบาท) ร่วมกันในพิธีที่จัดขึ้นอย่างจำกัดเพราะสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ที่ศาลาว่าการกรุงออสโลในเวลา 13:00 น.ตามเวลาท้องถิ่น ตรงกับเวลา 19:00 น.วันนี้ตามเวลาในไทย ประธานคณะกรรมการโนเบลนอร์เวย์กล่าวระหว่างการแถลงข่าวร่วมกับทั้งคู่เมื่อวานนี้ว่า สังคมที่ดีและประชาธิปไตยจะต้องมีข่าวสารที่เชื่อถือได้ ขณะที่นางเรสซาตอบข้อถามเรื่องการได้รับรางวัลโนเบลอันทรงเกียรติได้ช่วยให้เสรีภาพสื่อมวลชนในฟิลิปปินส์ ซึ่งรั้งอันดับที่ 138 ตามการจัดอันดับขององค์กรสื่อไร้พรมแดนดีขึ้นหรือไม่ว่า ไม่ช่วยเลย สื่อมวลชนยังคงต้องเสี่ยงชีวิตในการรายงานข่าวที่ล่อแหลม ล่าสุดผู้สื่อข่าวที่ทำงานให้กับหนังสือพิมพ์มะนิลาสแตนดาร์ดและสำนักข่าวรอยเตอร์เพิ่งถูกจ่อยิงศีรษะเสียชีวิตเมื่อวันพุธที่ผ่านมา เพราะเกาะติดรายงานข่าวการทำสงครามปราบปรามยาเสพติดในฟิลิปปินส์ นับเป็นรายที่ 16 แล้วในรัฐบาลประธานาธิบดีโรดริโก ดูเตอร์เตที่บริหารประเทศตั้งแต่ปี 2559 ขณะที่นางเรสซาเองถูกฟ้องคดีอาญา 7 คดี […]

เผยจีนเป็นประเทศที่จับกุมนักข่าวมากที่สุดในโลก

ปักกิ่ง 8 ธ.ค. – รายงานล่าสุดขององค์กรนักข่าวไร้พรมแดน (RSF) ระบุว่า จีนเป็นประเทศที่จับกุมนักข่าวเป็นจำนวนมากที่สุดในโลก โดยมีนักข่าวที่ยังคงถูกควบคุมตัวในขณะนี้อย่างน้อย 127 คน องค์กรนักข่าวไร้พรมแดน ซึ่งเป็นองค์กรอิสระที่สนับสนุนและปกป้องเสรีภาพสื่อ ระบุว่า จีนกำลังเดินหน้าปราบปรามต่อต้านสื่อมวลชนทั่วโลกอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยอ้างเหตุผลในการจับกุมผู้สื่อข่าวหรือนักข่าวพลเมืองด้วยข้อกล่าวหาสร้างความวุ่นวาย ทั้งยังตั้งข้อสังเกตว่า การควบคุมสื่อมวลชนของจีนเริ่มรุนแรงมากขึ้นนับตั้งแต่เกิดการระบาดของโรคโควิด-19 และมีผู้สื่อข่าวและนักวิจารณ์ในสื่อออนไลน์อย่างน้อย 10 คนที่ถูกควบคุมตัว เนื่องจากรายงานข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์ระบาดรุนแรงของโรคโควิด-19 ที่เมืองอู่ฮั่นของจีน องค์กรนักข่าวไร้พรมแดนยังระบุว่า เจิ้ง จาน นักข่าวพลเมืองและอดีตทนายความ วัย 38 ปี เป็นหนึ่งในผู้ที่ถูกทางการจีนควบคุมตัว หลังจากที่เธอเดินทางไปเมืองอู่ฮั่นในเดือนกุมภาพันธ์ปีก่อนเพื่อถ่ายทำสารคดีและเขียนบทความเกี่ยวกับสภาพท้องถนนและโรงพยาบาลในเมืองดังกล่าว แม้ถูกเจ้าหน้าที่ของจีนข่มขู่ก็ตาม และทำให้รายงานข่าวของเธอได้รับการเผยแพร่เป็นวงกว้างในสื่อโซเชียลมีเดีย อย่างไรก็ดี เธอกลับถูกทางการจีนตัดสินว่ามีความผิดฐานก่อเหตุทะเลาะวิวาทและสร้างความวุ่นวาย ซึ่งเป็นข้อหาที่จีนมักใช้กับนักเคลื่อนไหวและผู้เปิดโปงความลับที่เป็นภัยต่อความพยายามของรัฐบาลในการควบคุมข้อมูลภายในประเทศ รายงานดังกล่าวยังระบุว่า จีนได้ใช้วิธีการอื่น ๆ เช่น การดำเนินการทางการทูตในต่างประเทศเพื่อโจมตีนักข่าว การขัดขวางสื่อมวลชน การปิดกั้นประเด็นข่าว การบังคับให้ผู้สื่อข่าวท้องถิ่นศึกษาอุดมการณ์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน การดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นที่เป็นโฆษณาชวนเชื่อไว้ในโทรศัพท์มือถือ รวมถึงการไล่ออกหรือข่มขู่นักข่าว ทั้งนี้ องค์กรนักข่าวไร้พรมแดนได้จัดให้จีนอยู่ในอันดับ 177 จาก 180 ประเทศในดัชนีเสรีภาพสื่อประจำปีนี้ โดยที่เกาหลีเหนืออยู่ในอันดับ 179.-สำนักข่าวไทย

การปรับตัวของนักข่าวยุคดิจิทัล

การทำข่าวปัจจุบันเปลี่ยนไปมาก นอกจากเนื้อหาข่าวที่ดีแล้วการนำเสนอต้องดึงดูดผู้ชมได้ด้วยนักข่าวในยุคดิจิทัลจะปรับตัวอย่างไร ติดตามจากรายงานของคุณสันติวิธี พรหมบุตร

1 2 3 4 7
...