GISTDA คาดชิ้นส่วนจรวดตกสู่โลกบ่าย-ค่ำนี้ ไทยเสี่ยง 1.2%

GISTDA คาดชิ้นส่วนจรวดลองมาร์ช 5 บี วาย 4 โอกาสตกใกล้ไทยลดเหลือ 1.2% และตกสู่โลกเร็วขึ้น ลงสู่มหาสมุทรแปซิกฟิกช่วงบ่าย-ค่ำ ภายในวันที่ 4 พ.ย. จากเดิมตกสู่โลก 5 พ.ย.

GISTDA คาดชิ้นส่วนจรวด 21 ตัน ตกสู่พื้นโลก 20.00-06.00 น.

ผอ.ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีอวกาศ GISTDA คาดชิ้นส่วนจรวด Longmarch-5B หนัก 21 ตัน จะตกลงสู่พื้นโลก ช่วงเวลา 20.00-21.00 น. วันนี้ ไปจนถึง 06.00 น. วันพรุ่งนี้ พิกัดล่าสุดคาดว่าจะตกในมหาสมุทรอินเดีย

GISTDA เตือนชิ้นส่วนจรวดลองมาร์ช 5บี ตกสู่โลก อาจกระทบไทย

GISTDA แจ้งเตือนชิ้นส่วนของจรวดลองมาร์ช 5บี (Longmarch-5B) ซึ่งจะตกสู่พื้นโลกในวันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคมนี้ อาจส่งผลกระทบกับประเทศไทยเนื่องจากวัตถุอวกาศที่หนักถึง 21 ตันโคจรผ่านทุกวัน แต่โอกาสได้รับผลกระทบเพียง 1.2%

ไม่พบสารกัมมันตรังสีปนเปื้อนชิ้นส่วนโลหะตกชายแดนอุบลฯ

อุบลราชธานี 17 พ.ย.-  ศูนย์เฝ้าระวังภัยทางรังสี ม.อุบลราชธานี ตรวจชิ้นส่วนโลหะของจรวดตกกลางอากาศบริเวณชายแดนโขงเจียมไม่พบปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี พร้อมเตือนประชาชนอย่าหยิบจับวัตถุที่ไม่รู้จักและให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ กรณีชาวบ้านในพื้นที่ชายแดนไทย-ลาว ต.นาโพธิ์กลาง อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี เห็นลำแสงพุ่งเป็นทางยาว ก่อนเกิดเสียงดังกลางอากาศได้ยินเป็นบริเวณกว้างเมื่อกลางดึกวันที่ 15 พ.ย.ที่ผ่านมา และรุ่งเช้าชาวบ้านพบเศษโลหะกระจาย 4 หมู่บ้าน จึงเก็บรวบรวมมาให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.โขงเจียม เพื่อประสานผู้เชี่ยวชาญมาตรวจพิสูจน์ และวานนี้ (16 พ.ย.) ผู้เชี่ยวชาญจากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือ Gistda ได้ลงพื้นที่นำตัวอย่างชิ้นส่วนไปตรวจสอบแล้ว ในเบื้องต้นเป็นไปได้ว่าเป็นชิ้นส่วนของจรวดใช้ส่งดาวเทียนขึ้นสู่วงโคจรในอวกาศ  นายบุญชุบ บุ้งทอง ผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการดาวเทียม สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือ Gistda กล่าวว่า ได้นำชิ้นส่วนสำคัญ เช่น กล่องควบคุมการทำงานอัตโนมัติ ชิ้นส่วนโลหะที่มีรหัสหมายเลข และชิ้นส่วนที่คาดว่าจะเป็นถังเชื้อเพลิงไปตรวจสอบหาที่มา คาดว่าใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ จะทราบผลเป็นจรวดของประเทศใด ขณะที่ รศ.จินตนา เหล่าไพบูลย์ จากศูนย์เฝ้าระวังภัยทางรังสี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เครือข่ายปรมาณูเพื่อสันติ ได้นำเครื่องเซอร์เวย์มิเตอร์ตรวจหาสารกัมมันตรังสีจากวัตถุที่เป็นตัวจรวด เพื่อตรวจดูระหว่างการส่งจรวดขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศของโลก มีสารกัมมันตรังสีหรือสารปนเปื้อนอื่นที่เป็นอันตรายต่อผู้หยิบจับสัมผัสวัตถุดังกล่าวด้วยหรือไม่ โดยการตรวจวัดค่าครั้งนี้ […]

พิสูจน์ชิ้นส่วนโลหะตกจากฟากฟ้าชายแดนไทย-ลาว

อุบลราชธานี 16 พ.ย.- ผู้เชี่ยวชาญด้านอวกาศลงพื้นที่อุบลราชธานีตรวจวัตถุโลหะตกจากท้องฟ้ากลางดึกเสียงดังสนั่นชายแดนไทย-ลาว สันนิษฐานเป็นชิ้นส่วนจรวดใช้ส่งยานอวกาศขึ้นสู่วงโคจร พร้อมนำบางส่วนไปตรวจวิเคราะห์เพิ่ม กรณีชาวบ้านในพื้นที่ชายแดนไทย-ลาว ต.นาโพธิ์กลาง อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี เห็นลำแสงพุ่งเป็นทางยาว ก่อนเกิดเสียงดังกลางอากาศได้ยินเป็นบริเวณกว้างเมื่อกลางดึกวันที่ 15 พ.ย.ที่ผ่านมา และรุ่งเช้าชาวบ้านพบเศษโลหะกระจาย 4 หมู่บ้าน จึงเก็บรวบรวมมาให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.โขงเจียม เพื่อประสานผู้เชี่ยวชาญมาตรวจพิสูจน์ ล่าสุดนายบุญชุบ บุ้งทอง ผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการดาวเทียม สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ กรุงเทพมหานคร พร้อมคณะ ได้เข้าตรวจสอบชิ้นส่วนดังกล่าว และวันนี้ (16 พ.ย.) พบเพิ่มอีก 4 ชิ้น รวมทั้งหมด 12 ชิ้น โดย 4 ชิ้นนี้มีขนาดใหญ่และยาวกว่าที่พบวานนี้ ชิ้นยาวที่สุดประมาณ  6 เมตร และในชิ้นขนาดใหญ่พบเลขรหัส นายบุญชุบ สันนิษฐานว่าเป็นชิ้นส่วนของจรวดใช้ส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรในชั้นอวกาศ โดยเป็นส่วนของตัวจรวดและถังบรรจุเชื้อเพลิง ส่วนหัวที่เป็นดาวเทียมถูกส่งขึ้นไปในชั้นอวกาศแล้ว สำหรับการตกของจรวดลูกนี้ คาดว่ายังไม่ออกไปนอกโลก แต่อยู่ในระดับความสูงไม่น้อยกว่า 100 กิโลเมตร เมื่อตัวจรวดตกกลับลงมาด้วยความเร็ว จะเกิดแรงเสียดทานกับอากาศ ทำให้เกิดไฟลุกไหม้ […]

...