fbpx

เร่งสร้างความเข้าใจในวิปรัฐบาลหลังความเห็นแตกตั้งกมธ.

รัฐสภา 31 พ.ค.-“สนธิรัตน์” ไม่ถือ“สิระ” ไล่พ้นพปชร. เร่งสร้างเอกภาพในวิปรัฐบาล หลังพบส.ส.พรรคร่วมแหกคอกดันตั้งกมธ.ตรวจสอบกู้เงิน นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ กล่าวถึงความขัดแย้งในพรรคพลังประชารัฐ ว่า ไม่ให้ความหมาย ไม่ให้น้ำหนักที่จะตอบโต้ จริง ๆ ควรพูดคุยกันภายใน ไม่ควรมาออกสื่อ ต้องช่วยกันระงับความเห็นต่าง ส่วนจะส่งผลกระทบต่อพรรคระยะยาวหรือไม่ คิดว่าเป็นธรรมชาติของการเมือง หากไม่มีการตอบโต้ทางสื่อ ส่วนกรณีนายสิระ เจนจาคะ ส.ส.พรรคพลังประชารัฐขับไล่นายสนธิรัตน์ออกจากพรรค นายสนธิรัตน์ กล่าววว่า ไม่ถือสาเรื่องดังกล่าว อย่านำคำพูดบางคำมาเป็นประเด็น และว่า “คุณสิระก็คือคุณสิระ” เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ กล่าวถึงกรณีส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล ลงชื่อตั้งกรรมาธิการวิสามัญตรวจสอบการใช้งบตาม พ.ร.ก.กู้เงินว่า คณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล(วิปรัฐบาล) ต้องเร่งหารือและหาข้อยุติ แต่เวลานี้คงยังไม่ส่งผลต่อเอกภาพของวิปรัฐบาล  “ความเห็นการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญถือว่า เป็นความคิดเห็นที่แตกต่างกันได้ โดยต้องเร่งประเมินหาทางออกว่าทำอย่างไร เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับวิปรัฐบาลและให้การทำงานของรัฐบาลราบรื่น” นายสนธิรัตน์ กล่าว.-สำนักข่าวไทย     

ป.ป.ท.อาสาตรวจสอบการใช้เงินกู้ตามพ.ร.ก.กู้เงินตั้งแต่ก่อนกม.เข้าสภา

ทำเนียบรัฐบาล  31 พ.ค.-“วิษณุ” เผยป.ป.ท.เสนอแนวทางตรวจสอบการใช้เงินกู้ตามพ.ร.ก.กู้เงิน –ฟื้นฟูเศรษฐกิจก่อนที่กม.ทั้ง 3 ฉบับจะเข้าสภาแล้ว เป็นแนวทางตรวจสอบของฝ่ายบริหาร กำลังรอเข้าครม. ส่วนตั้งกมธ.เป็นเรื่องของสภา นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายกฎหมาย กล่าวถึงกรณีฝ่ายค้านเสนอตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาตรวจสอบติดตามการใช้จ่ายงบประมาณตามพระราชกำหนดทั้ง 3 ฉบับ เพื่อเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบโควิด-19 ว่า เป็นเรื่องของสภาผู้แทนราษฎรดำเนินการ แต่ในส่วนของรัฐบาลมีหน่วยงานตรวจสอบอยู่แล้ว ทั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ปปง.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ(ป.ป.ท. ) “ป.ป.ท.เสนอมาตรการตรวจสอบมายังรัฐบาลก่อนที่สภาจะพิจารณา พ.ร.ก.ทั้ง 3 ฉบับ โดยนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลังทราบเรื่องนี้ ซึ่งถือเป็นกลไกตรวจสอบในฝ่ายบริหาร โดยป.ป.ท.จะเป็นผู้ตรวจสอบเอง ด้วยการสร้างองคาพายพขึ้นมา ซึ่งที่ผ่านมาป.ป.ท.เป็นผู้ตรวจสอบหลายกรณี อาทิ เงินทอนวัด ทุจริตเงินผู้ยากไร้ อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี(ครม.) ด้วย โดยผมจะเป็นผู้เสนอ แต่ขณะนี้ยังต้องรอบรรจุเข้าวาระสู่ที่ประชุมครม.” นายวิษณุ กล่าว.-สำนักข่าวไทย       

ฝ่ายค้านขอดูท่าทีรัฐบาลเรื่องตั้ง กมธ.ตรวจสอบใช้เงินกู้ก่อนลงมติ

รัฐสภา 31 พ.ค.-ปธ.วิปฝ่ายค้านขอดูท่าทีรัฐบาลตอบรับข้อเสนอตั้ง กมธ.วิสามัญตรวจสอบการใช้เงินกู้หรือไม่ก่อนลงมติ ชี้หน่วยงานรัฐที่มีอยู่เดิมไม่มีพลังตรวจสอบงบโครงการขนาดใหญ่ ระบุ หมดเวลางูเห่าแต่เป็นยุคงูจรจัด นายสุทิน  คลังแสง ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน(วิปฝ่ายค้าน) กล่าวถึงภาพรวมการอภิปรายพ.ร.ก.กู้เงินของรัฐบาล ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคมถึงวันนี้(31 พ.ค.) ซึ่งเป็นวันสุดท้าย ว่า ทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาลบริหารเวลาการออภิปรายเป็นอย่างดี จึงไม่เป็นห่วงเรื่องกรอบเวลา วันนี้ฝ่ายค้านเหลือผู้อภิปราย 5 คน รวมถึงตนเองด้วยซึ่งจะเป็นผู้ปิดอภิปราย หากไม่มีอะไรผิดพลาดน่าจะลงมติได้ไม่เกิน 13.00 น. อยากให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมฟังการอภิปราย เพราะยังมีข้อกังวลและข้อเสนอแนะจากฝ่ายค้านที่ต้องการให้รัฐบาลนำไปปรับปรุง “ส่วนการลงมติ พ.ร.ก.กู้เงินทั้ง 3 ฉบับ ฝ่ายค้านจะขอรอฟังท่าทีของรัฐบาลก่อนว่าจะรับเสนอของฝ่ายค้านที่ต้องการให้ตั้งกรรมาธิการวิสามัญติดตามตรวจสอบการใช้จ่ายเงินจากการกู้เงินตามพ.ร.ก.กู้เงิน และให้รายงานการใช้เงินต่อสภา 3 เดือนครั้ง จากเดิมที่ต้องรายงานปีละหนึ่งครั้งหรือไม่ ซึ่งแนวทางการลงมติพ.ร.ก.แต่ละฉบับอาจจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการชี้แจงของรัฐบาล ฝ่ายค้านไม่ได้ต้องการค้านทุกเรื่อง ขึ้นอยู่กับประโยชน์ของประเทศเป็นหลัก แต่ถ้าเรื่องไหนรับไม่ได้ ต้องคงหลักการเอาไว้” ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าว  นายสุทิน กล่าวว่า หากรัฐบาลไม่เห็นด้วยเรื่องการตั้งกรรมาธิการฯวิสามัญ และจะให้หน่วยงานของรัฐที่มีเดิม เช่น สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ(ป.ป.ท.) ตรวจสอบ […]

“ร.อ.ธรรมนัส”ระบุตั้งกมธ.ตรวจสอบเงินกู้ซ้ำซ้อนหน่วยงานที่มีอยู่

รัฐสภา 31 พ.ค.-“ร.อ.ธรรมนัส” ระบุ ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอฝ่ายค้านตั้งกรรมาธิการตรวจสอบการใช้เงินกู้ของรัฐบาล  ชี้มีหน่วยงานทำหน้าที่นี้อยู่แล้ว เกรงซ้ำซ้อน ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เเละ ส.ส. พะเยา พรรคพลังประชารัฐ กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญติดตามตรวจสอบการใช้งบประมาณตามพ.ร.ก.กู้เงิน เพราะมีองค์กรตรวจสอบอยู่แล้ว รวมทั้งมีคณะกรรมาธิการอีกหลายคณะและ กรรมาธิการกิจการสภาอยู่แล้ว “ผมมองว่าจะเกิดการทำงานทับซ้อนกัน และมั่นใจว่า ผู้ใช้เงินต้องใช้เงินอย่างระมัดระวังอยู่แล้ว” ร.อ.ธรรมนัส กล่าว.-สำนักข่าวไทย       

มีหลายหน่วยงานดูแลการใช้เงินกู้ การเมืองอย่าแทรก

รัฐสภา 29 พ.ค.-นายกฯ ระบุข้อเสนอฝ่ายค้านเรื่องตั้งกรรมาธิการตรวจสอบการใช้เงินกู้เป็นเรื่องของสภา ยืนยันมีหลายหน่วยงาน –ขั้นตอนดูแลอยู่แล้ว ขอการเมืองอย่าแทรกเท่านั้น   พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงกรณีฝ่ายค้านเสนอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญตรวจสอบการใช้เงินกู้ฟื้นฟูเศรษฐกิจว่า เป็นเรื่องของสภาและฝ่ายการเมือง รัฐบาลไม่ยุ่ง ไม่ชี้นำ การใช้เงินงบประมาณด้งกล่าวเป็นไปตามขั้นตอนกฎหมาย  ซึ่งนอกจากจะมีคณะกรรมการชุดใหญ่พิจารณาแล้ว จะมีคณะกรรมการคัดกรองทำความเห็นจากระดับท้องถิ่น เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของประชาชน ขณะเดียวกันมีกลไกตรวจสอบอยู่แล้วรอบด้าน ทั้งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ปปง.) ทั้งยังมีคณะกรรมการติดตามการใช้เงินด้วย ซึ่งแต่ละโครงการที่จะเสนอเข้ามาต้องผ่านคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ(ก.น.จ.)  “การติดตามมีคณะนั้นคณะนี้ติดตามกันเยอะไปหมด ขอให้เข้าไปดูว่าโครงการที่จะออกมาในวันข้างหน้าต้องเสนอผ่านก.น.จ.ขึ้นมา ไม่ใช่ผมไปตั้งหน่วยงานขึ้นมาเอง ดังนั้น ก็อยู่ที่ท่าน ต้องไปไล่กันดูว่าข้างล่างทำกันอย่างไร ขอให้ฝ่ายการเมืองอยากเข้าไปยุ่งกับเขาก็แล้วกัน ส่วนเรื่องการบริหารไม่เกี่ยวกับผม ฝ่ายค้าน รัฐบาลเขาไปว่ากันเอาเอง” นายกรัฐมนตรี กล่าว.-สำนักข่าวไทย  

ปชป.หนุนตั้ง กมธ.วิสามัญ พ.ร.ก.กู้เงิน 3 ฉบับ

“เทพไท” ส.ส.ปชป. หนุนตั้งกรรมาธิการวิสามัญตรวจสอบการใช้เงินกู้ของ พ.ร.บ.กู้เงิน 3 ฉบับ ให้ “สาทิตย์” เป็นคนร่างญัตติ แนะรัฐบาลใจกว้างให้ทุกภาคส่วนร่วมตรวจสอบ

“ศุภชัย” ยังไม่ชัดควรตั้งกมธ.ตรวจงบฯแก้โควิด-19 หรือไม่

รัฐสภา 27 พ.ค.-รองประธานสภาฯ ขอฟังอภิปรายของสภาช่วง 5 วันนี้ก่อน ถ้าครบถ้วนแล้ว ไม่ต้องตั้งกมธ.ตรวจสอบใช้งบแก้โควิด-19   นายศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 2 เปิดเผยว่าเห็นด้วยในหลักการหากจะตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อตรวจสอบการใช้งบประมาณแก้ปัญหาสถานการณ์โควิด-19 แต่ต้องดูการอภิปรายระหว่าง 5 วันนี้ก่อน หากการอภิปรายครบถ้วนสมบูรณ์แล้วไม่จำเป็นต้องตั้งกรรมาธิการ  ทั้งนี้ นายศุภชัย ปฏิเสธที่จะตอบคำถามว่า สภาฯจะมีงบประมาณเพียงพอต่อการจัดตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญหรือไม่ เนื่องจากสมัยประชุมที่ผ่านมามีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญจำนวนมาก โดยขอให้ไปถามนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร.-สำนักข่าวไทย       

“นพ.สุกิจ” มั่นใจ เจ้ากรมสวัสดิการทหารบกไม่ได้แพร่เชื้อในสภาฯ

รัฐสภา 19 มี. ค.- “นพ.สุกิจ” มั่นใจ เจ้ากรมสวัสดิการทหารบกไม่ได้แพร่เชื้อในสภาฯ เผย ประธานสภาฯ  เตรียมหารือกำหนดมาตรการร่วมกับประธานคณะกรรมาธิการ 35 คณะ พรุ่งนี้ นพ.สุกิจ อัถโถปกรณ์ ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึง กรณีที่ขณะนี้ยังมีความตื่นตระหนก กรณีที่ พล.ต.ราชิต อรุณรังษี เจ้ากรมสวัสดิการทหารบก ที่เดินทางมาร่วมประชุมกับกรรมาธิการที่รัฐสภา ในวันที่ 5 มีนาคม ที่ผ่านมา  มีผลการตรวจว่าติดเชื้อโควิด-19   ว่า ได้ทราบเรื่องนี้มาตั้งแต่ต้น และอาศัยจากการที่เป็นหมอ วิเคราะห์ว่า ในวันที่ 5 มีนาคม ที่เจ้ากรมสวัสดิการทหารบกเดินทางเข้ามาร่วมประชุมนั้น ยังไม่ได้มีการติดเชื้อ  นพ.สุกิจ กล่าวว่า เจ้ากรมสวัสดิการทหารบกยืนยันแล้วว่า ในรอบ 1 ปี ไม่ได้เดินทางไปต่างประเทศ หรือพื้นที่อื่นที่มีความเสี่ยงในการรับเชื้อโควิด-19 นอกจากวันที่ 6 มีนาคม เดินทางไปสนามมวย ซึ่งมีคนที่ร่วมอยู่ในสนามมวยมีการติดเชื้อ ดังนั้น สันนิษฐานได้ว่า เจ้ากรมสัวสดิการทหารบกคงได้รับเชื้อมาในวันที่ 6 มีนาคม  […]

ปชป.ส่งข้อเสนอแนะแก้ รธน.ให้ กมธ.วิสามัญ 10 มี.ค.นี้

เห็นด้วยเปิดรับฟังความคิดกลุ่มนิสิต-นักศึกษา ไม่จำเป็นต้องเปิดสมัยประชุมสภาวิสามัญ เพราะยังมีกลไลของกรรมาธิการ 35 คณะ

“พีระพันธุ์” ยันไม่มี ธงแก้ รธน.

กรุงเทพฯ 3 ธ.ค.-  นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหา หลักเกณฑ์ และแนวทางแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 กล่าวถึง กรณีที่กรรมาธิการบางคนให้ความเห็นและข้อเสนอเกี่ยวกับการหาแนวทางเพื่อนำไปสู่แก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า ขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุปใดๆ เกิดขึ้น  ในฐานะประธานฯ มีแนวทางที่จะให้กรรมาธิการทั้ง 48 คน  อภิปรายแสดงความเห็นอย่างเต็มที่  คาดว่าจะใช้การประชุม  2 นัดที่จะเกิดขึ้น เป็นช่วงการอภิปรายแสดงความเห็น ก่อนนำความเห็นดังกล่าวสรุปรายละเอียดและประเด็นตามความเห็นต่างๆ  “ผมไม่อยากให้มองว่า การแสดงความเห็นของกรรมาธิการเป็นการตั้งธง  ทุกคนต่างมีเหตุผล  ส่วนผมเป็นเพียงประธานที่รับฟังความเห็น และกำกับการประชุม ไม่มีสิทธิชี้นำ และไม่มีธงใดเป็นตัวตั้ง ผมจะยึดการทำงานเหมือนรูปแบบกรรมาธิการของสภาฯ  เริ่มต้นรับฟังความเห็นจากกรรมาธิการทุกคน และเตรียมวางช่องทางเพื่อรับฟังเสียงของประชาชนภายนอก  แต่ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป  เชื่อว่า การประชุมวันที่ 14 มกราคม จะตกผลึกเรื่องช่องทาง ใจผมอยากให้การแลกเปลี่ยนความเห็น และการหาแนวทางฟังเสียงประชาชนทั่วไป จบให้ได้ในการประชุมอีก 2 นัด เพื่อเริ่มต้นทำงานในแนวทางต่อไป” นายพีระพันธุ์  กล่าว  .- สำนักข่าวไทย  

1 2 3 4
...