กรมประมง แจงไข่ปลาหมอคางดำ อยู่นอกปากพ่อปลาได้ไม่เกิน 1 ชม.
กรมประมงชี้แจง ไข่ปลาหมอคางดำอยู่นอกปากพ่อปลาได้ไม่เกิน 1 ชั่วโมง พร้อมแนะวิธีการขนส่งอย่างถูกต้อง ป้องกันการระบาดข้ามพื้นที่
กรมประมงชี้แจง ไข่ปลาหมอคางดำอยู่นอกปากพ่อปลาได้ไม่เกิน 1 ชั่วโมง พร้อมแนะวิธีการขนส่งอย่างถูกต้อง ป้องกันการระบาดข้ามพื้นที่
อนุ กมธ.ปลาหมอคางดำ ไล่ตามหาครีบปลา ย้ำตามสัญญาระบุชัด ก่อนนำเข้าต้องตัดครีบปลาให้กรมประมงตรวจสอบ ถามแบบนี้ละเว้นปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ เตรียมบุกพิสูจน์ถึงกรม ด้าน “ณัฐชา” จี้ขอรายละเอียดการส่งออกด้วย หลังพบไทยส่งออก ด้านอธิบดี ยอมรับเอกชนไม่ตัดครีบส่งมา ขอกลับไปตรวจสอบก่อน บอกตกใจ พบส่งออกไปแล้วกว่า 17 ประเทศ
กรุงเทพฯ 17 ก.ค. – “ณัฐชา” สส. พรรคก้าวไกล รองประธานกมธ. แก้ปัญหาปลาหมอสีคางดำชื่นชมอธิบดีกรมประมงที่กล้าเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับปลาหมอคางดำ ชี้ชัดแล้วว่า มีผู้นำเข้ารายเดียวและกรมประมงยังไม่เคยได้รับตัวอย่างปลาที่บริษัทขออนุญาตนำเข้า กมธ. ยังคงเรียกร้องให้หาต้นตอที่ทำให้สัตว์น้ำรุกรานต่างถิ่นชนิดนี้แพร่ระบาดให้ได้ ส่วนผู้แทนผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำยังอยากให้กระทรวงเกษตรฯ รับซื้อปลาหมอคางดำ 20 บาทต่อกิโลกรัม นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ สส. กทม. พรรคก้าวไกล ฐานะรองประธานคณะอนุกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาศึกษาสาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหา รวมถึงผลกระทบจากการนำเข้าปลาหมอคางดำ เพื่อการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ในราชอาณาจักรไทย ในคณะกรรมาธิการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สภาผู้แทนราษฎรเข้าร่วมรับฟังการแถลงข่าวเกี่ยวกับแนวทางแก้ไขปัญหาปลาหมอคางดำของกรมประมง โดยกล่าวชื่นชมนายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมงว่า กล้าหาญที่จะเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการนำเข้าปลาหมอคางดำซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 14 ปีแล้ว รวมถึงความตั้งใจที่จะแก้ไขปัญหาโดยเร็วที่สุด จากข้อมูลของกรมประมงชี้ชัดแล้วว่า กรมประมงอนุญาตให้บริษัทแห่งหนึ่งนำเข้าปลาหมอคางดำเพียงรายเดียว อีกทั้งข้อมูลจากการชี้แจงของบริษัทที่ระบุว่า ได้ยุติการวิจัยและส่งตัวอย่างปลาให้กรมประมงแล้ว กรมประมงไม่เคยได้รับ กมธ. ยังคงเรียกร้องให้สืบหาต้นตอที่ทำให้สัตว์น้ำต่างถิ่นชนิดนี้รุกรานระบบนิเวศ รวมถึงสร้างผลกระทบต่อการประกอบอาชีพของชาวประมงพื้นบ้านและเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำ ตามที่นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับว่า จะสืบสาเหตุเพื่อสร้างกระจ่างความกระจ่างแก่สังคมให้ได้ แต่ฟังแล้ว โอกาสที่จะหาต้นตอและเอาผิดตามกฎหมายต่อผู้ก่อผลกระทบนั้น ดูริบหรี่ กมธ. จะยื่นญัตติด่วนต่อสภาผู้แทนราษฎรเพื่อขอตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อเชิญทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนมาร่วมแก้ไขปัญหานี้ นายคัมภีร์ ทองเปลว […]
กรมประมงเตรียมตั้งจุดรับซื้อปลาหมอคางดำในสัปดาห์หน้า ตามคำสั่ง “ร.อ.ธรรมนัส” โดยคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำมีมติรับซื้อในราคา 15 บาท/กก. ส่วนตัวอย่างปลาจากบริษัทที่ขออนุญาตนำเข้าในปี 2553 ตรวจสอบแล้ว ยืนยันว่า ไม่เคยได้รับมาและไม่พบจัดเก็บไว้ในห้องเก็บตัวอย่าง
CPF แจงนำเข้าปลาหมอคางดำ ตั้งแต่ปี 2553 แต่ทำลายซากปลาตามมาตรฐาน พร้อมส่งตัวอย่างให้กรมประมงตั้งแต่ปี 2554 ยืนยันไม่ใช่สาเหตุของการแพร่ระบาด
อธิบดีกรมประมง เผยจะมีการประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการระบาดของ “ปลาหมอคางดำ” ที่ รมช.เกษตรฯ เป็นประธานในช่วงบ่ายวันนี้ เพื่อยกระดับมาตรการ รวมถึงกำหนดแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขในจังหวัดที่พบการระบาด 14 จังหวัด ให้ชัดเจน จากนั้นกระทรวงเกษตรฯ จะเสนอ ครม. เห็นชอบต่อไป
ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ประสานกรมประมงลุย 6 มาตรการกำจัดปลาหมอคางดำ หวั่นกระทบรายได้เกษตรกร พบ กทม. ระบาดแล้ว 3 เขต
รมว. ธรรมนัส เผยกรมประมงกำลังเร่งแก้ปัญหาการระบาดของปลาหมอคางดำที่ต้นตอ ด้วยการวิจัยและพัฒนาด้านพันธุกรรมให้ประชากรปลาหมอคางดำเป็นหมัน
กรุงเทพฯ 26 มิ.ย. – อธิบดีกรมประมง เผยปริมาณการนำเข้ากุ้ง 5 เดือนแรกปี 67 คิดเป็นร้อยละ 0.46 ของผลผลิตกุ้งในประเทศช่วงเวลาเดียวกัน จึงไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้ราคากุ้งลดต่ำลง โดยราคากุ้งในประเทศผันผวนตามตลาดโลก ยืนยันยกระดับมาตรการคุมเข้มตามแนวชายแดน ป้องกันการลักลอบนำเข้าสินค้าผิดกฎหมาย ขณะเดียวกันเดินหน้าส่งเสริมการลดต้นทุนการผลิตให้ผู้เลี้ยงไทยมีศักยภาพการแข่งขันเทียบเท่าอินเดียและเอกวาดอร์ นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง ประธานกรรมการบริหารจัดการห่วงโซ่การผลิตกุ้งทะเลและผลิตภัณฑ์ หรือ Shrimp Board) กล่าวว่า ราคากุ้งในประเทศมีความผันผวนตามภาวะตลาดโลก โดยราคาที่ลดต่ำลง ไม่ได้เป็นผลกระทบจากการนำเข้า ทั้งนี้ผลผลิตกุ้งทะเลของไทย ปี 2567 (ม.ค. – พ.ค .67) มีปริมาณรวมประมาณ 92,000 ตัน คาดว่า ทั้งปี 2567 จะมีผลผลิตกุ้งรวม 250,000 ตัน ส่วนการนำเข้าสินค้ากุ้งทะเลจากการเพาะเลี้ยง ปี 2567 (ม.ค. – พ.ค. 67) มีปริมาณ 426 ตัน คิดเป็นเพียงร้อยละ […]
สมุทรสงคราม 6 พ.ค.- รมว. ธรรมนัสสั่งตั้งคณะกรรมการแก้ปัญหาการระบาดของปลาหมอสีคางดำ ซึ่งเป็น Alien Species ต่างถิ่นซึ่งเรื้อรังมาถึง 18 ปี ประกาศยกระดับเป็นวาระแห่งชาติ พร้อมเร่งสำรวจความเสียหายเพื่อเยียวยาเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำที่ได้รับผลกระทบโดยเร็ว ย้ำไม่ส่งเสริมให้เลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจแน่นอน ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยนายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ติดตามแนวทางแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำซึ่งเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่น (Alien Species) ที่จังหวัดสมุทรสงคราม ร้อยเอกธรรมนัสระบุว่า จะยกระดับการแก้ปัญหาการระบาดของปลาหมอสีคางดำเป็นวาระแห่งชาติเนื่องจากเป็นปัญหาเรื้อรังมา 18 ปี ปลาชนิดนี้เป็นสัตว์น้ำต่างถิ่นอยู่ในสกุลปลานิลซึ่งกินเก่ง แพร่พันธุ์เร็ว และทำลายระบบนิเวศ การระบาดของที่พบในหลายจังหวัดส่งผลกระทบต่อเกษตรกรจึงสั่งการให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ เป็นประธานในการแก้ปัญหา พร้อมกันนี้มอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตรสำรวจความเสียหายของเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำทุกจังหวัดที่มีการระบาดของปลาหมอสีคางดำเพื่อวางแผนการช่วยเหลือเยียวยาต่อไป ตลอดจนจัดตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาทั้งชุดใหญ่และชุดจังหวัด โดยจะมีคณะกรรมการจากหลายภาคส่วนร่วมกันแก้ไขปัญหาและกำจัดปลาหมอคางดำอย่างเอาจริงเอาจังและเป็นรูปธรรมมากที่สุด นาบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมงกล่าวว่า มาตรการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอสีคางดำของกระทรวงเกษตรฯ ที่มอบหมายให้กรมประมงดำเนินการมีดังนี้ นายอรรถกรกล่าวว่า กระทรวงเกษตรฯ ห่วงใยเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำที่ได้รับผลกระทบจึงจะดำเนินมาตรการกำจัดปลาหมอคางดำอย่างเด็ดขาด พร้อมย้ำว่า จะไม่มีการส่งเสริมให้เป็นสัตว์เศรษฐกิจแน่นอน. 512 – สำนักข่าวไทย
กรุงเทพฯ 13 ก.พ.- อธิบดีกรมประมงเผยสั่งการหน่วยงานประมงทั่วประเทศยกระดับการควบคุมการนำเข้าสินค้าสัตว์น้ำ โดยยังต้องสอดคล้องกับข้อกำหนด WTO ย้ำเฝ้าระวังการนำเข้าสินค้า IUU อย่างเข้มงวด พร้อมเสนอกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมนำเข้าสัตว์น้ำ สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันเพื่อเร่งแก้ไขปัญหาสินค้าประมงราคาตกต่ำ นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมงกล่าวว่า ได้แต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาราคาสัตว์น้ำตกต่ำ ประกอบด้วยผู้แทนจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยยกระดับการควบคุมการนำเข้าสินค้าสัตว์น้ำซึ่งยังสอดคล้องกับข้อกำหนดขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) ซึ่งนิยามสินค้าประมงให้จัดอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรม ไม่ใช่สินค้าเกษตร จึงทำให้ไม่สามารถใช้มาตรการป้องกันพิเศษ (Special Safeguards : SSG) ได้ ดังนั้น มาตรการในการหยุดนำเข้าสัตว์น้ำและกำหนดปริมาณสัตว์น้ำที่สามารถนำเข้ามาในประเทศ อาจขัดกับหลักการค้าระหว่างประเทศของ WTO แต่กรมประมงได้ดำเนินการในด้านอื่นๆ ที่สอดคล้องกับมาตรการของ WTO ซึ่งเป็นไปตามหลักสากล ทั้งในเรื่องของมาตรการด้านสุขอนามัย เพื่อกำหนดมาตรฐานด้านสุขอนามัยสัตว์น้ำที่จะนำเข้า มีการกำหนดมาตรฐานและคุณภาพของสินค้าสัตว์น้ำ มีการสุ่มตรวจสินค้าสัตว์น้ำ เพื่อวิเคราะห์สารตกค้าง โลหะหนัก และสารปนเปื้อนต่างๆ ในสินค้าสัตว์น้ำ รวมถึงการสุ่มตรวจโรคที่ถูกระบุว่ามีความเสี่ยง เช่น การยกระดับการเปิดตรวจจากเดิม 30 % เป็น 100 % […]
สมุทรสาคร 2 ก.พ. – รมว. เกษตรฯ สั่งกรมประมงเปิดปฏิบัติการล่า “ปลาหมอสีคางดำ” สัตว์รุกรานต่างถิ่นหรือเอเลียนสปีชีส์ นำร่อง Kick off 5 จังหวัด หวังกำจัดให้สิ้นซาก หลังระบาดต่อเนื่องราว 12 ปี ปลาหมอสีคางดำสามารถบริิโภคได้ เตรียมประสานทำอาหารสัตว์ด้วย