รองหน.ปชป.แนะรัฐช่วยแรงงานคืนถิ่นฟื้นเกษตรกรรมไทย

พรรคประชาธิปัตย์ 28 เม.ย.-“กนก” แนะรัฐบาลเตรียมนโยบายรับแรงงานคืนถิ่น พัฒนาแหล่งน้ำ หาที่ทำกินให้ เชื่อเป็นการพลิกฟื้นระบบเกษตรกรรมไทย นายกนก วงษ์ตระหง่าน ส.ส.บัญชีรายชื่อและรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แสดงความเป็นห่วงแรงงานเมืองที่กลับคืนสู่ท้องถิ่นในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ว่า รัฐบาลควรต้องเตรียมความพร้อมทางนโยบายเพื่อรองรับแรงงานเหล่านี้ในการประกอบอาชีพและการดำเนินชีวิต ด้วยการเปลี่ยนวิกฤติให้กลายเป็นโอกาสของเกษตรชนบทร่วมพลิกฟื้นระบบเกษตรไทย เพราะผลกระทบจากวิกฤติไวรัโควิด-19 ต่อเศรษฐกิจไทยที่สำคัญเรื่องหนึ่ง คือการเคลื่อนตัวออกจากเมืองของแรงงาน  ภายหลังไม่มีงานให้ทำ  นายกนก กล่าวว่า แรงงานกลุ่มดังกล่าวคาดว่ามีประมาณ 3-5 ล้านคน ส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด มาอาศัยอยู่ที่เมืองใหญ่ด้วยการเช่าที่พักอาศัย เมื่อกลับไปจะไม่มีงานทำดังนั้น รัฐบาลควรเข้าไปประสานกับภาคการเกษตรของชนบท ยกระดับระบบเกษตรไทยให้สร้างมูลค่าทั้งด้านรายได้และผลผลิตอย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยจัดหาแหล่งน้ำและที่ดินทำกินให้กับเกษตรกรในชนบท และสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี ที่ไม่เป็นภาระกับเกษตรกร “นี่คือส่วนประกอบสำคัญของการเกษตรไทยรูปแบบใหม่ที่ทำน้อย ได้มาก ด้วยเทคโนโลยีและระบบการจัดการที่ทันสมัยกับความหลากหลายทางชีวภาพ และทักษะอันเฉพาะตัวของชนบท ซึ่งนำไปสู่คำถามต่อมาว่าแล้วจะทำอย่างไรให้แรงงานในเมืองกับ เกษตรกรชนบททำงานร่วมกันได้ เพราะนี่คือต้นทางของการเพิ่มผลผลิต (Productivity) และการสร้างมูลค่าใหม่ (Value Creation) ทางการเกษตร ทั้งในแง่กระบวนการและผลลัพธ์ ที่อาจบอกได้ว่าเป็นการพลิกฟื้นระบบเกษตรไทยในสายตาของผม” นายกนก กล่าว.-สำนักข่าวไทย   

“กนก” แนะใช้วิกฤติไวรัสเป็นโอกาสปรับระบบเศรษฐกิจ

กรุงเทพฯ 19 เม.ย.-“กนก วงษ์ตระหง่าน” แนะรัฐนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ นวัตกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจท่ามกลางวิกฤติโควิด เน้นดูแลธุรกิจขนาดกลาง –เล็ก ถือเป็นคนกลุ่มใหญ่ของประเทศ นายกนก วงษ์ตระหง่าน ส.ส.บัญชีรายชื่อและรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เสนอแนวคิดการปรับระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยหลังวิกฤติไวรัสโควิด-19 โดยเห็นว่าควรให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจฐานรากมากขึ้น และนำองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาผลิตภาพและความมั่นคงให้กับภาคการเกษตรทุกระดับ “การบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจในช่วงวิกฤติไวรัสคือการประคองไม่ให้ธุรกิจต้องปิดตัวลง โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ ควรต้องได้รับความช่วยเหลือทันที เพื่อรักษาธุรกิจให้คงอยู่ต่อไป ส่วนภาคประชาชนต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างน้อยที่สุดคือจำนวนเงินที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตจนกว่าจะผ่านสถานการณ์นี้ไปได้ อีกทั้งภาระหนี้สินของภาคธุรกิจและครัวเรือนต้องได้รับการผ่อนปรน ไม่สร้างภาระเพิ่มเติม” นายกนก กล่าว นายกนก กล่าวว่า สิ่งสำคัญคือรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมองถึงช่วงเวลาแห่งการฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจของประเทศ ควบคู่ไปกับความช่วยเหลือเฉพาะหน้าคู่ขนานกันไปด้วย เพื่อเป็นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศให้มีความเหมาะสมกับภาวการณ์ของโลกในอนาคตยุคหลังโควิด 19 ด้วยการสร้างความสมดุลและยั่งยืนทางเศรษฐกิจ ด้วยองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจฐานราก เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้เกษตรกรวิสาหกิจชุมชน ธุรกิจ SME  “เป้าหมายคือ 1.การสร้างมาตรฐาน (Standard) ของกระบวนการผลิต และผลผลิต 2. การสร้างผลิตภาพ (Productivity) และ 3. การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness) เมื่อภาคการผลิตของระบบเศรษฐกิจฐานรากมีขีดความสามารถทั้ง 3 ด้านนี้แล้ว ผมเชื่อว่าอนาคตระบบเศรษฐกิจไทยจะไม่มีทางสั่นคลอนหรือเปราะบางได้ง่ายเช่นที่ผ่านมา” นายกนก […]

รัฐต้องสื่อสารเข้าใจง่าย ชัดเจนสร้างแนวร่วมฝ่าวิกฤติโควิด

พรรคประชาธิปัตย์ 31 มี.ค.-รองหน.ปชป.ชี้ 2 สาหตุประชาชนเมินปฏิบัติตามคำสั่งรัฐ ขาดความชัดเจน สับสน ไม่สอดคล้องการดำเนินชีวิต เสนอ 3 ทางแก้ ปรับรูปแบบการสื่อสาร เข้าใจง่าย ชัดเจน แก้ไขข้อผิดพลาดทันที ประสานความร่วมมือ นำทีมไทยแลนด์พาประเทศพ้นวิกฤติโควิด-19 นายกนก วงษ์ตระหง่าน รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์เฟซบุ๊ก กนก วงษ์ตระหง่าน เรื่อง ตรวจการบ้านรัฐบาลในสถานการณ์ไวรัส (COVID-19) มีเนื้อหาโดยสรุปชี้ให้เห็นสาเหตุที่ประชาชนไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ประกาศของทางราชการไว้ ดังนี้ 1. การประกาศ และคำสั่งของทางรัฐบาลขาดความสอดคล้องกับการดำเนินชีวิตทั่วไปของประชาชนในหลายพื้นที่ เช่น พื้นที่ชนบท (ต่างจังหวัด) พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นต้น โดยเฉพาะกับบุคคลที่มีรายได้น้อย ทำงานหาเช้ากินค่ำ หรือเป็นบุคคลฐานล่าง (ยากจน) ที่อาศัยอยู่ทั้งในตัวเมืองและชนบท รวมถึงความไม่ชัดเจนในมาตรการเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งของทางรัฐบาล เช่น ระบบประกันสังคมจะช่วยเหลือแรงงานด้วยเงื่อนไขแบบใด หรือแรงงานนอกระบบรูปแบบไหนบ้างที่จะได้รับการช่วยเหลือ โดยผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ (ตามที่รัฐบาลระบุ) ยังไม่สามารถสื่อสารสร้างความเข้าใจร่วมกันกับประชาชนได้ ท้ายที่สุดอาจกลายเป็นการยึดกฎระเบียบที่ตัวเองเข้าใจ (ตีความตามตัวอักษร) แล้วปล่อยให้ปัญหาและความเดือดร้อนของประชาชนกลายเป็นเรื่องที่ไม่ใช่ธุระของตนเอง  “2. […]

...