ฮือฮา! นักท่องเที่ยวแห่ชมแม่น้ำบางปะกงเรืองแสง

ฉะเชิงเทรา 4 ก.พ. – น้ำทะเลหนุนนำน้ำเค็มเข้าสู่แม่น้ำบางปะกง ส่งผลให้แพลงก์ที่อาศัยอยู่ในน้ำเค็มไหลตามเข้ามา เมื่อมีวัตถุกระทบจะทำให้เกิดการเรืองแสงเป็นสีเขียวหรือสีน้ำเงิน สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับนักท่องเที่ยว


เมื่อช่วงค่ำวานนี้ ( 3 ก.พ.) ที่ท่าเทียบเรือหน้าวัดแจ้ง บริเวณตลาดน้ำบางคล้า อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ประชาชนต่อคิวซื้อตั๋ว ราคาผู้ใหญ่ 60 บาท เด็ก 30 บาท โดยเรือเที่ยวแรกจะออกล่องไปตามแม่น้ำในเวลา 19.30 น. และทุกคนต้องคัดกรองตามมาตรการป้องกันเฝ้าระวังโควิค-19 ก่อนขึ้นเรือนำเที่ยว 2 ชั้น ชื่อเรือ “แพพี่เก้า” ที่เปิดบริการนักท่องเที่ยวล่องไปตามรอบเกาะลัดบางคล้า ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดฉะเชิงเทรา จะใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ในการล่องเรือชมทัศนียภาพสองแม่น้ำในยามค่ำคืน แต่ช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา เกิดปรากฏการณ์แม่น้ำบางปะกงเรืองแสง ซึ่งเกิดจากแพลงก์ตอนชนิดหนึ่งเรืองแสงทลอยมากับน้ำเค็มที่หนุนสูงเข้ามาในแม่น้ำบางปะกง ปรากฏการณ์ดังกล่าวพบไม่บ่อย จึงมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาชมให้เห็นกับตาตัวเอง

นางสาววรยา จ้อยเจริญ เจ้าของเรือแพพี่เก้า เล่าว่า แพลงก์ตอนมากับน้ำทะเล เพราะปีนี้แม่น้ำบางปะกงไม่มีน้ำจืดที่จะหนุนน้ำทะเล ซึ่งน้ำเค็มไหลเข้ามาเกือบถึงจังหวัดปราจีนบุรี แต่ความเค็มจัดมันอยู่ที่อำเภอบางคล้า เมื่อขึ้นไปถึงตำบลหัวไทร ตำบลบางกระเจ็ด อำเภอบางคล้า เกือบถึงจังหวัดปราจีนบุรี มีน้ำจืดปน จะไม่สามารถเห็นแพลงก์ตอนเรืองแสงได้เท่ากับช่วงอำเภอบางคล้า ส่วนใหญ่จะเห็นการเรืองแสงในช่วงเดือนมืดสนิท และจะชัดเจนมากในช่วงดึก โดยจะเห็นได้ในช่วงที่น้ำทะเลหนุนสูง แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูฝนจะไม่มีแพลงก์ตอน เพราะจะมีน้ำจืดเข้ามาทดแทนน้ำเค็ม


สำหรับปรากฏการณ์แพลงก์ตอนเรืองแสง หรือปรากฏการณ์ Bioluminescence เป็นแพลงก์ตอนพืช หรือไฟโทแพลงก์ตอน คือแพลงก์ตอนที่สามารถสังเคราะห์แสงและสร้างอาหารเองได้ ถือเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความสำคัญอย่างมากต่อระบบนิเวศ เนื่องจากเป็นผู้ผลิตปฐมภูมิของห่วงโซ่และสายใยอาหาร พบได้ทั้งในระบบนิเวศน้ำจืด ระบบนิเวศน้ำเค็ม ตลอดจนในระบบนิเวศน้ำกร่อย แพลงก์ตอนพืชส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งมีชีวิตจำพวกสาหร่าย โดยแพลงก์ตอนที่ทำให้เกิดเรืองแสงนี้จะเป็นแพลงก์ตอนพืชในกลุ่มไดโนแฟลกเจลเลต เมื่อแพลงก์ตอนทำปฏิกิริยากับออกซิเจนใต้น้ำ และอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก เมื่อถูกรบกวนหรือมีวัตถุกระทบกับแพลงก์ตอน จะทำให้ผนังเซลล์เกิดการเรืองแสงเป็นสีเขียวหรือสีน้ำเงินได้

อย่างไรก็ตาม แพลงก์ตอนเรืองแสงสวยงามที่มองเห็นนี้ย่อมส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศวิทยา อาจเป็นอันตรายต่อปลาและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เพราะแพลงก์ตอนหรือสาหร่ายเซลล์เดียว จะปิดกั้นไม่ให้แสงอาทิตย์ส่องลงไปยังแหล่งน้ำได้ ทำให้พืชที่อยู่ใต้น้ำตาย เนื่องจากไม่สามารถรับแสงอาทิตย์เพื่อสังเคราะห์แสงและสร้างอาหารได้ ทำให้สัตว์อื่นที่กินพืชตายตามไปด้วย เนื่องจากไม่มีแหล่งอาหาร ขณะเดียวกันเมื่อสาหร่ายตายลงก็ต้องใช้ออกซิเจนในการย่อยสลาย ทำให้เกิดภาวะออกซิเจนในน้ำลดลง และค่าแอมโนเนียในน้ำสูง ส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำ ซึ่งต้องอาศัยออกซิเจนในการดำรงชีวิตอีกด้วย.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มุกใหม่มิจฉาชีพ

มุกใหม่มิจฉาชีพ! ป่วนโทรแจ้ง ตร. เกิดเหตุร้ายที่บ้านเหยื่อ

อินฟลูฯ สาว สายทำอาหาร ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นตำรวจโทรหา แต่เธอไม่เชื่อ โดนท้าอีก 10 นาทีเจอกัน ปรากฏว่า มีตำรวจจาก 2 โรงพักบุกมาที่บ้านจริง

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา บอกสนามใหญ่ ไม่เข้าไปก้าวก่ายสนามท้องถิ่น ซ้ายก็เพื่อน ขวาก็พวก

ครม.เคาะแจกเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 60 ปี

“จุลพันธ์” เผย ครม.เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการทันก่อน 29 ม.ค.68 รวม 3 มาตรการ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 1.4-1.5 แสนล้านบาท

ข่าวแนะนำ

วันแรก ตาย 52 อุบัติเหตุ 322 ครั้ง บาดเจ็บ 318 คน

สถิติวันแรก 10 วันอันตราย ตาย 52 อุบัติเหตุ 322 ครั้ง บาดเจ็บ 318 คน​ “เพิ่มพูน” เน้นทุกฝ่ายร่วมช่วยกันดูแลความปลอดภัยอำนวยความสะดวก เข้มเรื่องกฎหมาย

“อนุทิน” ขอทุกฝ่ายรอศาลปกครองตัดสิน “ที่ดินเขากระโดง”

“อนุทิน” ขอทุกฝ่ายหยุดตอบโต้ปม “เขากระโดง” รอศาลปกครองตัดสินชี้ขาด ยันแม้ไม่ใช่ “มท.หนู” กรมที่ดินก็ตัดสินแบบนี้

เตือนภาคใต้ฝนเพิ่มขึ้น ส่วนไทยตอนบน อุณหภูมิลดลง

กรมอุตุฯ เตือนภาคใต้ฝนเพิ่มขึ้น ตกหนักบางแห่ง ระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ส่วนไทยตอนบน อุณหภูมิลดลงกับมีลมแรง อีสานอุณหภูมิลด 2-4 องศาฯ ส่วนภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพฯ และปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน อุณหภูมิลดลง 1-3 องศาฯ