ไทย-ยูเอ็นพร้อมร่วมมือพัฒนาอย่างยั่งยืน

ทำเนียบรัฐบาล 31มี.ค.-นายกฯ หารือรองเลขาธิการยูเอ็น เดินหน้าความร่วมมือการพัฒนาฐานรากที่ยั่งยืน การจัดการมลพิษพลาสติกและขยะทะเล


นายอาคิม สไตเนอร์ (Mr. Achim Steiner) รองเลขาธิการสหประชาชาติ(ยูเอ็น) และผู้บริหารสูงสุดของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) เข้าเยี่ยมคารวะพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในโอกาสเยือนประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุมกับหัวหน้าสำนักงาน UNDP ในภูมิภาคสาระสำคัญของการหารรือนั้น

นายกรัฐมนตรีชื่นชมรองเลขาธิการฯ ที่มีบทบาทแข็งขันในการขับเคลื่อน การพัฒนาที่ยั่งยืนมากว่า 30 ปี  และยินดีที่ทราบว่า รองเลขาธิการฯ มีประสบการณ์ทำงานเกี่ยวกับประเทศไทยและอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง สำหรับประเทศไทยได้ให้ความสำคัญเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทาง เพื่อนำประเทศไปสู่อนาคตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ ไทยมีเป้าหมายส่งเสริมการเติบโตที่ยั่งยืนและครอบคลุมโดยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งสอดคล้องและส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals – SDGs) เป็นวาระสำคัญในฐานะเจ้าภาพเอเปคในปีนี้ ไทยพร้อมสนับสนุนการทำงานของ UNDP อย่างเต็มที่ และเชื่อมั่นว่าสหประชาชาติ และ UNDP จะช่วยส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนให้กับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาค ในการตอบสนองต่อความท้าทายของโลกในปัจจุบันได้


ด้านรองเลขาธิการยูเอ็น  กล่าวแสดงความยินดีที่ได้พบกับนายกรัฐมนตรีในวันนี้ เป็นโอกาสอันดีที่จะได้หารือเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างรัฐบาลกับ UNDP ในการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยรองเลขาธิการฯ กล่าวว่า ไทยและ UNDP มีความร่วมมือกันมายาวนาน และชื่นชมไทยที่มีบทบาทสำคัญในเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนในเวทีระหว่างประเทศ รวมทั้งมีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาแก่ประเทศต่างๆ มาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะการส่งเสริมแนวทางการพัฒนาที่ประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งรองเลขาธิการฯ แสดงความประทับใจและชื่นชมว่าเป็นแนวทางที่เป็นแบบอย่างในการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้และปฏิบัติได้จริงในหลายประเทศ

 รองเลขาธิการฯ ชื่นชมบทบาทผู้นำของนายกรัฐมนตรีในการให้ความสำคัญกับการพัฒนาฐานราก และมุ่งแก้ปัญหาในประเด็นสำคัญดังกล่าว โดยการแก้ไขความยากจนและการลดความเหลื่อมล้ำเป็นเรื่องที่ UNDP มุ่งแก้ไขมาอย่างยาวนาน ซึ่ง รองเลขาธิการฯ มองว่า ความขัดแย้งระหว่างประเทศยิ่งทำให้เห็นความสำคัญของความร่วมมือแบบพหุภาคี โดยไทยนับเป็นประเทศที่ ให้ความสำคัญในการเพิ่มพูนความร่วมมือเรื่องการแก้ไขปัญหาความยากจน รวมถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน UNDP จึงประสงค์ร่วมมือกับไทยในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และองค์ความรู้ระหว่างกัน

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีและรองเลขาธิการฯ เห็นพ้องกันว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ความขัดแย้งระหว่างประเทศ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลกระทบต่อความร่วมมือของประเทศต่างๆ ในเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า สำหรับไทย UNDP ได้สนับสนุนการพัฒนาประเทศของไทยมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะการสนับสนุนไทยในการดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (MDGs) และ SDGs ในปัจจุบัน พร้อมยินดีที่มีการรับรองแผนงานซีพีดี (Country Programme Document: CPD) ของ UNDP ในประเทศไทยในอีก 5 ปีข้างหน้า (ปี 2565-2569) เชื่อมั่นว่า ความร่วมมือตามแผนงานฯ จะนำพาประเทศไทยไปสู่ 3 เป้าหมาย คือ การพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การพัฒนาคน และการก้าวไปข้างหน้าโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง นอกจากนี้ รัฐบาลยังให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาในประเด็นสำคัญ ๆ ได้แก่ รายได้และการลดความเหลื่อมล้ำ การพัฒนาคุณภาพชีวิต การศึกษา สุขภาพ และการเข้าถึงการบริการของภาครัฐ


ด้านความร่วมมือการจัดการมลพิษพลาสติกระดับโลก ทั้งสองเห็นพ้องว่ามลพิษพลาสติกและขยะทะเลเป็นหนึ่งในปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ต้องให้ความสำคัญ การจัดการปัญหามลพิษพลาสติกอย่างยั่งยืนต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกประเทศและทุกภาคส่วน เพราะแต่ละประเทศมีขีดความสามารถที่แตกต่างกัน จึงจำเป็นต้องมีการแลกเปลี่ยนและสนับสนุนองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมแก่กัน

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลไทยดำเนินการร่วมกับภาคเอกชนและภาคประชาชนในทุกระดับ โดยอาศัยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ส่งเสริมการลดใช้พลาสติก และสนับสนุนการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน ตั้งเป้านำขยะพลาสติกกลับมาใช้ประโยชน์ร้อยละ 100 ภายในปี 2570 นายกรัฐมนตรีขอบคุณ UNDP ที่ร่วมมือกับหน่วยงานของไทยเพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาเชิงนวัตกรรมในการจัดการขยะ ผ่านโครงการธนาคารขยะชุมชน ซึ่งช่วยการบูรณาการความพยายามของภาคส่วนต่างๆ ในการจัดการขยะ และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับขยะตามแนวนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งรองเลขาธิการฯ ชื่นชมไทยที่ให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าว และผลักดันเป็นวาระสำคัญระดับภูมิภาค โดยยินดีสานต่อความร่วมมือกับรัฐบาลและหน่วยงานของไทย เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวร่วมกันอย่างยั่งยืนต่อไป.-สำนักข่าวไทย  

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง