ห่วงไทยจะเสียประโยชน์มากกว่าได้

กรุงเทพฯ 12 พ.ค.-ที่ปรึกษากมธ.วิสามัญ CPTPP สภาฯ ห่วงไทยได้ประโยชน์ไม่คุ้มเสียหากเข้าร่วมความตกลงที่มีมาตรฐานสูง ขณะที่ภาคการเกษตรยังไม่พร้อม ขอรัฐบาลศึกษารอบคอบทุกด้าน พร้อมเปิดเผยผลการศึกษา ให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นอย่างทั่วถึง


น.ส.จิราพร สินธุไพร ที่ปรึกษากรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาผลกระทบจากการเข้าร่วมความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยถึงประเด็นการพิจารณาเข้าร่วม CPTPP ของรัฐบาล ว่า ที่ผ่านมารัฐบาลมีความพยายามผลักดันให้ไทยเข้าร่วม แม้หลายภาคส่วนยังแสดงความกังวลถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประเทศและต่อต้านอย่างกว้างขวาง ขณะที่สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาพิจารณาร่วมด้วย พร้อมตั้งคณะอนุกรรมาธิการศึกษาผลกระทบ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการเกษตรและพันธุ์พืช ด้านการแพทย์และสาธารณสุข และด้านเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน โดยศึกษาจากข้อมูลข้อเท็จจริง งานวิจัยต่าง ๆ และเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เข้าให้ข้อมูลต่อคณะกรรมาธิการ

“ภาพรวมการศึกษาประกอบด้วย 4 ข้อ คือ เห็นว่าไทยยังขาดความพร้อมหลายด้าน รัฐบาลจำเป็นต้องสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรม การตัดสินใจเชิงนโยบายดังกล่าว รัฐบาลต้องมีข้อมูลที่ถูกต้อง เพียงพอ หากมีข้อมูลเพียงพอ ต้องมีกรอบการเจรจาที่เกิดจากกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน และจะต้องจัดตั้งกองทุนที่มีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเข้าร่วมความตกลงฯ นอกจากนี้ยังเสนอแนะประเด็นที่รัฐบาลต้องศึกษาถึงผลกระทบในเชิงลึกต่อไป ซึ่งรัฐบาลได้มอบหมายให้คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) จัดทำกรอบการทำงานที่เกี่ยวข้องตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ” น.ส.จิราพร กล่าว


น.ส.จิราพร กล่าวว่า รายงานของคณะกรรมาธิการฯ ระบุว่า ผลประโยชน์ที่ไทยจะได้รับยังไม่ชัดเจน อีกทั้งการพิจารณาศึกษาไม่ทันสถานการณ์และยังเกิดการระบาดของโรคโควิด-19 ด้วย ซึ่งคณะกรรมาธิการฯ เห็นว่าเป็นหน้าที่ของรัฐบาลต้องศึกษาเชิงลึกว่าหากเข้าร่วม CPTPP แล้ว ไทยจะได้สิทธิพิเศษเกินกว่าที่ทำความตกลงการค้าเสรี (FTA) ไว้กับ 9 ประเทศหรือไม่ ต้องศึกษาเรื่องส่วนต่างกำไรที่เคยได้จากสินค้าหรือบริการว่าคุ้มค่าหรือไม่ ขณะเดียวกันประโยชน์ที่ไทยคาดว่าจะได้รับ ต้องพิจารณาว่ามีศักยภาพเก็บเกี่ยวประโยชน์เหล่านั้นหรือไม่ ซึ่งปกติความตกลงการค้าเสรีถูกออกแบบมาให้แข่งขันกันภายใต้กฎระเบียบเดียวกัน แต่โอกาสแสวงหาผลประโยชน์แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับขีดความสามารถของแต่ละประเทศ

“ความตกลง CPTPP มีสมาชิก 11 ประเภท เป็นความตกลงการค้าเสรีประเภทหนึ่ง ซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อเสีย โดยไทยมี FTA กับ 9 ประเทศ ทั้งระดับทวิภาคีและพหุภาคี ขณะที่หน่วยงานของรัฐบาลทำการศึกษาวิจัยระบุว่าหากไทยเข้าร่วม CPTPP จะทำให้ GDP ขยายตัวเพิ่ม 0.12% และเป็นการขยายการค้าการลงทุนในต่างประเทศ แต่เห็นว่ายังไม่ชัดเจนมากพอ เนื่องจากเป็นการคำนวณจากการที่ไทยมี FTA กับ 9 ประเทศร่วมด้วย โดยส่วนตัวมองว่าเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับขนาดของความตกลงระดับพหุภาคีที่มีสมาชิกถึง 11 ประเทศ” น.ส.จิราพร กล่าว

น.ส.จิราพร กล่าวว่า ความตกลง CPTPP มีมาตรฐานสูงมาก กังวลว่าไทยจะเอื้อมไม่ถึงประโยชน์ ในทางกลับกันอาจต้องมารับผลกระทบแทน อาทิ เรื่องการเกษตร หากเข้าร่วม CPTPP ต้องเข้าร่วมภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศ เพื่อการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ (UPOV1991) ซึ่งหลายฝ่ายกังวลว่าจะส่งผลต่อต้นทุนการผลิตของเกษตรกร ความมั่นคงทางด้านอาหาร โดยในรายงานของคณะกรรมาธิการฯ ระบุไทยยังไม่พร้อมเข้าร่วม เพราะเกษตรกรยังไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ ส่วนเรื่องสิทธิบัตรยา ที่คณะกรรมาธิการฯ แสดงความกังวลถึงผลกระทบที่จะเกิดกับความมั่นคงทางยา การเข้าถึงยาของประชาชน ขีดความสามารถในการแข่งขัน การวิจัย การพัฒนาอุตสาหกรรมยาในประเทศ และอีกหลายประเด็น


“ดิฉันมองว่าประโยชนที่ได้มาไม่คุ้มกับที่เสียไป โดยมีหลายอย่างที่ไทยไม่เคยผูกพันใน FTA มาก่อน นอกจากนี้ การเจรจาความตกลงยังเป็นแบบ Negative List หากไทยจะไม่เปิดเสรีในเรื่องใด ต้องระบุในรายการพร้อมกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หากไม่ระบุจะเท่ากับว่าเปิดการค้าเสรี อีกทั้งที่ผ่านมาไทยยังไม่เคยเจรจาความตกลงในลักษณะนี้ และเห็นว่ายังมีกลุ่มเศรษฐกิจอื่น ๆ ที่น่าสนใจเข้าร่วม ทั้งในแง่ของจำนวนประชากรและขนาดเศรษฐกิจ” น.ส.จิราพร กล่าว

น.ส.จิราพร คาดหวังว่ากนศ. จะพิจารณาศึกษาจนสามารถชี้ชัดให้เห็นถึงข้อดีและข้อเสีย นำไปสู่ข้อสรุปว่าไทยควรเข้าร่วมหรือไม่ ได้ประโยชน์มากกว่าเสียประโยชน์หรือไม่ นอกจากนี้ ยังมีข้อสังเกตจากการดำเนินการที่ผ่านมา พบว่ามีปัญหาเรื่องการเปิดเผยผลการศึกษา และการเปิดให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นอย่างเพียงพอ จึงขอให้รัฐบาลพิจารณาความตกลง CPTPP ด้วยความรอบคอบ อยู่บนพื้นฐานของเหตุผล ความจริง และความถูกต้อง พร้อมรับฟังประชาชน และยึดผลประโยชน์ของของประชาชนและประเทศชาติเป็นที่ตั้ง.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

Joe Biden and Kamala Harris on stage

ผู้เชี่ยวชาญชี้สาเหตุที่ “แฮร์ริส” พ่ายแพ้

ผู้เชี่ยวชาญชี้สาเหตุที่นางคอมมาลา แฮร์ริส ตัวแทนพรรคเดโมแครต พ่ายแพ้การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ให้แก่นายโดนัลด์ ทรัมป์ จากพรรครีพับลิกัน

“ทรัมป์” คว้าชัยเด็ดขาด ครองตำแหน่งประธานาธิบดีอีกสมัย

โดนัลด์ ทรัมป์ ผู้สมัครจากพรรครีพับลิกัน คว้าชัยชนะเด็ดขาดในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ เหนือคู่แข่งอย่าง คอมมาลา แฮร์ริส จากพรรคเดโมแครต นับเป็นการกลับมาครองตำแหน่งผู้นำสหรัฐอีกครั้ง หลังต้องออกจากทำเนียบขาวไปเมื่อ 4 ปีก่อน

พบศพไวยาวัจกรวัดดังระยองถูกยิงดับพร้อมหญิงสาวในบ้านพัก

พบศพไวยาวัจกรวัดดัง จ.ระยอง ถูกยิงเสียชีวิตในบ้านพัก พร้อมหญิงสาวหน้าตาดี คาดเสียชีวิตมาแล้ว 3 วัน ตำรวจเร่งหาสาเหตุ

พบเด็กหญิงฝาแฝดวัย 9 ขวบ ดวงตาสีฟ้า

พบเด็กหญิงฝาแฝดชาวนครพนม วัย 9 ขวบ มีดวงตาสีฟ้าสดใส ซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรมที่พบได้ยาก อาศัยอยู่กับแม่เลี้ยงเดี่ยว แม่เผยลูกมีปัญหาทางการได้ยิน ใช้ชีวิตลำบาก ถูกบลูลี่ แต่ไม่ขอเปิดรับบริจาค เพราะเคยถูกมิจฉาชีพแอบอ้าง

ข่าวแนะนำ

ศึกชิงทำเนียบขาว 2024 : ส่องทิศทางแห่งอำนาจ “รัฐบาลทรัมป์ 2.0”

รายงานพิเศษวันนี้ไปติดตามสิ่งที่ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ให้สัญญาหาเสียงเอาไว้ ที่จะทำให้พอเห็นทิศทางการครองอำนาจของเขา โดยมีหลายอย่างที่จะสร้างความสั่นสะเทือนอย่างมาก

พาชมเรือใบอิตาลีจอดเทียบท่าภูเก็ต

เมื่อ 2 วันก่อน สำนักข่าวไทยเก็บภาพของเรืออเมริโกเวส ปุชชี่ ขณะกำลังจะเข้าจอดเทียบท่าที่จังหวัดภูเก็ตให้ได้ชมไปแล้ว วันนี้คุณเพลินพิศ ชูเสน จะพาไปทำความรู้จักเรือลำนี้ให้มากขึ้นพร้อมกับพาไปเยี่ยมชมภายในตัวเรือ

“ทนายตั้ม” เครียดหนัก หลัง 3 บิ๊ก บช.ก. สอบปากคำ

“ทนายตั้ม” เครียดหนัก หลัง 3 บิ๊กสอบสวนกลาง สอบปากคำ นานกว่า 5 ชั่วโมง ขณะที่พนักงานสอบสวนเตรียมเข้าค้น “ษิทรา ลอว์ เฟิร์ม” เช้าพรุ่งนี้ หาหลักฐานเพิ่ม ก่อนฝากขังช่วงบ่าย ค้านประกันตัว

นายกฯ เผยผลสำเร็จร่วมประชุมเวทีอนุภูมิภาค GMS ACMECS

“แพทองธาร” นายกฯ เผยผลสำเร็จร่วมประชุมเวทีอนุภูมิภาค GMS ACMECS ขับเคลื่อนความร่วมมือสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต การพัฒนาคุณภาพชีวิต และความกินดีอยู่ดีของประชาชนในภูมิภาคอย่างไร้รอยต่อ