ผู้ตรวจการแผ่นดิน เร่งแก้ปัญหาประมงไทยผิดกฎหมาย

กรุงเทพฯ 30 มี.ค.-ผู้ตรวจการแผ่นดินหารือหน่วยงาน เร่งแก้ปัญหาประมงไทยผิดกฎหมาย IUU เตรียมข้อเสนอ ผลกระทบผ่านเวทีผู้ตรวจการแผ่นดินโลก


สนง.ผู้ตรวจฯ วันนี้ (30 มี.ค.) พลเอกวิทวัส รชตะนันทน์ ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน เป็นประธาน ประชุมร่วมกับนายวิชาญ อิงศรีสว่าง รองอธิบดีกรมประมง นายสมชาย สุมนัสขจรกุล รองอธิบดีกรมเจ้าท่ พลเรือโทมนตรี รอดวิเศษ รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) นายวีระพันธุ์ ทองมาก ผู้อำนวยการส่วนฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาประมงไทยภายใต้กฎหมายประมง

พล.อ.วิทวัส ว่า ผู้ตรวจการแผ่นดินได้รับทราบปัญหาเกี่ยวกับการทำประมงอย่างต่อเนื่อง จนได้หยิบยกปัญหานี้ขึ้นมาศึกษาถึงปัญหา อุปสรรค และผลกระทบของการทำประมงภายใต้กฎหมายประมงในภาพรวมของประเทศ ซึ่งหลายประเด็นสืบเนื่องจากการออกกฎหมายหรือข้อบังคับให้รับลูกกับระเบียบ IUU (Illegal, Unreported and Unregulated fishing) ที่กดดันประเทศไทยในช่วงปี 2558 แต่อาจไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตประมงพื้นบ้านและประมงพาณิชย์อย่างแท้จริง รวมทั้งได้ลงพื้นที่แสวงหาข้อเท็จจริงในโซนประมงภาคใต้ ทั้งจังหวัดสงขลาและปัตตานีมาแล้ว โดยเฉพาะอุตสาหกรรมประมงในจังหวัดปัตตานี ซึ่งเป็นหนึ่งในแหล่งประมงสำคัญและมีชื่อเสียงของประเทศไทยนั้นซบเซาลงมาก จากข้อมูลของสมาคมการประมงจังหวัดปัตตานีพบว่า เดิมในปี 2558 มีเรือกว่า 1,100 ลำ เข้า – ออก ในน่านน้ำปัตตานี แต่ในระหว่างดือนตุลาคม 2563 – กุมภาพันธ์ 2564 เหลือเพียง 437 ลำ มีผู้ประกอบการได้รับความเสียหายต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่ ตั้งแต่อาชีพบนเรือจนถึงอาชีพบนฝั่ง เช่น พ่อค้าแม่ค้าตลาดปลา โรงน้ำแข็ง ห้องเย็น อู่ซ่อมเรือ และโรงกลึง ทั้งนี้ มีประเด็นปัญหาหลัก คือปัญหาจำกัดวันทำการประมง – กรมประมงกำหนดวันทำการประมงไว้เฉลี่ย 240 วันต่อปี ในขณะที่ชาวประมงต้องรับภาระจ่ายค่าแรงคนงานเป็นรายเดือน นับเป็นจำนวน 365 วัน ซึ่งขณะนี้กรมประมงอยู่ระหว่างแก้ไขประกาศที่จะกำหนดวันทำการประมงเพิ่มขึ้น อีกทั้งลูกจ้างส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างด้าว ซึ่งไม่สะดวกในการเดินทางและไม่สะดวกในการทำธุรกรรม จึงต้องการรับเงินค่าจ้างแรงงานเป็นเงินสดมากกว่าผ่านบัญชีธนาคาร ปัญหาแรงงานประมงขาดแคลน – การจ้างแรงงานต่างด้าวมีขั้นตอน กระบวนการ และระยะเวลาในการทำบัตรแรงงานค่อนข้างนาน ประมาณ 100 วันทำการ และมีค่าธรรมเนียมใบอนุญาตต่างๆ สำหรับแรงงานต่างด้าวที่ค่อนข้างสูงกว่า 19,000 บาท และค่าใช้จ่ายในการทำพาสปอร์ต 5,000 – 10,000 บาท อันเป็นภาระและค่าใช้จ่ายของนายจ้าง สมาคมการประมงจังหวัดปัตตานีจึงขอให้มีการเปิดขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวตลอดปี ซึ่งกรมประมงอยู่ระหว่างการดำเนินการพิจารณาแก้ไขและที่ผ่านมาได้มีการแก้ไขกฎหมายเพื่อผ่อนคลายแนวทางการปฏิบัติแล้ว


นอกจากนี้ยังมี ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายที่ส่งผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคม – ชาวประมงที่กระทำความผิดมีทั้งโดยไม่เจตนา หรือการลงเอกสารผิดพลาด หรือความผิดเล็กน้อย ควรพิจารณาบทลงโทษตามความเหมาะสมเพื่อเป็นการผ่อนคลายและยังทำให้ชาวประมงยังคงประกอบอาชีพต่อไปได้ ประเด็นการขุดลอกร่องน้ำ ซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังของจังหวัดปัตตานี ปัญหาการซื้อเรือออกนอกระบบ และปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรทางทะเลที่ลดลงอย่างรวดเร็ว การประชุมวันนี้ก็ จะได้มีการหารือถึงปัญหาเพื่อนำไปสู่การจัดทำแผนแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ที่อาจสร้างภาระแก่ประชาชนที่ประกอบอาชีพประมงในประเทศไทยให้สามารถสอดรับกับวิถีปฏิบัติจริง รวมถึงสามารถบริหารจัดการภาคอุตสาหกรรมประมงได้อย่างยั่งยืน สำหรับกฎข้อบังคับบางประการที่อาจเกี่ยวเนื่องมาจากระเบียบ IUU แล้วส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพประมงไทย รวมถึงพื้นที่อื่นๆ ในอาเซียนที่มักจะมีรูปแบบการทำประมงคล้ายคลึงกัน เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม เนื่องด้วยมีวิถีวัฒนธรรมใกล้เคียงกันและสืบทอดต่อกันมาอย่างยาวนานแต่อดีต ซึ่งผู้ตรวจการแผ่นดินไทยในฐานะที่มีบทบาทเป็น 1 ใน 5 คณะกรรมการบริหารของสถาบันผู้ตรวจการแผ่นดินระหว่างประเทศ หรือ IOI จะนำข้อเท็จจริงและข้อเสนอแนะจากกรณีนี้เข้าหารือระหว่างองค์กรผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อให้สถาบันผู้ตรวจการแผ่นดินระหว่างประเทศเสนอแนะการแก้ไขปัญหา IUU ไปยังคณะกรรมาธิการประมง (Committee on Fisheries หรือ COFI) ขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations หรือ FAO) เป็นการสะท้อนถึงการรักษาและอนุรักษ์ไว้ซึ่งวิถีชีวิต ผลประโยชน์ และสิทธิเสรีภาพของประชาชนในภูมิภาคนี้

พลเอกวิทวัส กล่าวด้วยว่าอีก สิ่งที่สำคัญคือ การฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ยั่งยืน ทั้งภาคประชาสังคมและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องต้องบูรณาการร่วมกันส่งเสริมองค์ความรู้และงบประมาณ ด้านประมงท้องถิ่นในการสร้างศูนย์เพาะพันธุ์สัตว์น้ำที่เป็นสัตว์เศรษฐกิจประจำถิ่น ส่งเสริมชุมชนชาวประมงในการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำให้เหมาะสมกับถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำแต่ละชนิด ถือหลักการที่ว่าจับมาและต้องปล่อยไป เพื่อเป็นการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำให้มีโอกาสเติบโตและขยายพันธุ์ต่อไป ทำให้ธรรมชาติและการประมงไทยอยู่คู่เคียงกันอย่างสมดุลยั่งยืน.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ค้นบ้านสามารถ

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ” คดีฟอกเงินดิไอคอน

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ เจนชัยจิตรวนิช” คดีฟอกเงินดิไอคอน หลังพบเงิน “บอสดิไอคอน” โอนเข้าบัญชีแม่ของนายสามารถ

หมอบุญ

THG แจงบริษัทไม่เกี่ยวข้องคดีต่างๆ ที่เกิดจาก “หมอบุญ”

THG แจงตลาดหลักทรัพย์ฯ ปัจจุบัน “หมอบุญ” ไม่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้บริหารใน THG คดีฉ้อโกงใดๆ ที่เกิดขึ้น บริษัทไม่เกี่ยวข้อง

คะแนนไม่เป็นทางการ เลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ

ลุ้นผลคะแนนเลือกตั้งนายก อบจ.นครศรีธรรมราช นับเสร็จแล้วบางหน่วย ล่าสุด ณ เวลา 19.40 น. “วาริน ชิณวงศ์” เบอร์ 2 จากทีมนครเข้มแข็ง ชนะคู่แข่งขาดลอยในหลายหน่วย คะแนนทิ้งห่างแชมป์เก่า “กนกพร เดชเดโช” เบอร์ 1 จากพรรค ปชป.

“ทนายสายหยุด” จ่อถอนตัวคดีตั้ม หวั่นติดร่างแห

“ทนายสายหยุด” เตรียมถอนตัวเป็นทนายให้ “ตั้ม” เผยในมือมีแต่พยานเท็จ ปิดบังข้อเท็จจริง เสี่ยงเป็นผู้ร่วมกระทำผิด

ข่าวแนะนำ

วิเคราะห์การเมืองสนามใหญ่ หลังศึกเลือกตั้งนายก อบจ.

วิเคราะห์ผลการเลือกตั้งนายก อบจ. 4 สนามใหญ่ โดยเฉพาะอุดรธานี ที่สะท้อนถึงความนิยมในตัวของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี

“บิ๊กเต่า” ลั่นเตรียมมอบกุญแจมือเป็นของขวัญปีใหม่ให้คนดัง ส่งนอนห้องขัง

“บิ๊กเต่า” ลั่นเตรียมมอบ “กุญแจมือ” เป็นของขวัญปีใหม่ให้อินฟลูฯ นักร้อง คนดัง ส่งนอนห้องขังวีไอพี เผยปม “ฟิล์ม รัฐภูมิ” คาดมีความชัดเจนภายในสัปดาห์นี้

หมอบุญ

THG แจงบริษัทไม่เกี่ยวข้องคดีต่างๆ ที่เกิดจาก “หมอบุญ”

THG แจงตลาดหลักทรัพย์ฯ ปัจจุบัน “หมอบุญ” ไม่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้บริหารใน THG คดีฉ้อโกงใดๆ ที่เกิดขึ้น บริษัทไม่เกี่ยวข้อง