ชี้ต้องแก้ รธน.ก่อนยุบสภาฯ

กรุงเทพฯ 8 ส.ค.-เสวนารัฐธรรมนูญฉบับในฝันของประชาชน นักวิชาการ เห็นว่าต้องแก้ รธน.ก่อนยุบสภาฯ พร้อมเสนอแก้ไขให้นายกฯ ต้องเป็น ส.ส. และไม่ให้อำนาจ ส.ว.เลือกนายกฯ ด้านนักการเมืองชี้กองทัพไม่ควรอยู่เหนือรัฐบาล พร้อมหนุนนักศึกษาเคลื่อนไหว


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า งานเสวนา “CARE ชวน คิด เคลื่อน เขียน รัฐธรรมนูญฉบับในฝัน ของประชาชน” ที่ Lido connect สยามสแควร์ มีนักการเมือง นักวิชาการ ตัวแทนคนรุ่นใหม่เข้าร่วมจำนวนมาก

นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง แต่เป็นการสืบทอดอำนาจของ คสช. และมองว่ารัฐบาลไม่สามารถรับมือกับวิกฤติต่าง ๆ ได้ ทำให้ประเทศไม่มีอนาคต การเคลื่อนไหวของนิสิตนักศึกษาไม่ใช่วิกฤติของประเทศ แต่วิกฤติขณะนี้ คือ ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหากระบวนการยุติธรรม ซึ่งต้องแก้ด้วยการเปลี่ยนรัฐบาลและเปลี่ยนรัฐธรรมนูญ ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลง จะไม่มีทางรับมือกับวิกฤติในอนาคตได้แน่นอน


นายจาตุรนต์ กล่าวอีกว่า รัฐธรรมนูญในฝัน คือ ต้องให้ความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างจริงจัง สามารถตรวจสอบอำนาจของฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการได้ องค์กรตามรัฐธรรมนูญต้องไม่อยู่ภายใต้ผู้มีอำนาจ ระบบยุติธรรมและอำนาจตุลาการต้องมีจุดเชื่อมโยงกับประชาชน ตรวจสอบ วิพากษ์วิจารณ์ได้ รัฐธรรมนูญต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้โดยประชาชน ไม่ให้ผู้ที่เข้ายึดอำนาจ สามารถฉีกรัฐธรรมนูญได้ และต้องให้รัฐบาลที่มาจากพลเรือน มีอำนาจเหนือกองทัพ ไม่ใช่ให้กองทัพเป็นอิสระจากรัฐบาลและรัฐสภา

“ดังนั้นกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ประชาชนต้องมีส่วนร่วม รู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ และเห็นคุณค่าร่วมกันว่าใครจะฉีกรัฐธรรมนูญไม่ได้ ศาลจะรับรองไม่ได้ และส่วนตัวหากให้แก้รัฐธรรมนูญ ควรแก้ 2 ส่วน คือ ตัดอำนาจ ส.ว.เลือกนายกฯ ยกเว้นเงื่อนไขไพรมารีโหวตให้พรรคการเมืองส่งผู้สมัคร ส.ส.ได้ ให้มีนายกฯ ใหม่ที่มาจากการเลือกตั้ง นำไปสู่การแก้ มาตรา 256 ตั้ง ส.ส.ร.ให้ประชาชนมีส่วนร่วมทั้งกระบวนการ ที่สำคัญต้องส่งเสริมการเคลื่อนไหวของนักศึกษาให้มีมากขึ้นตลอดกระบวนการ จนกว่าจะได้รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน และวันเลือกตั้งให้ลงประชามติเพื่อเปิดช่องให้มี ส.ส.ร.มาร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ก็ทำประชามติอีกรอบเพื่อเป็นรัฐธรรมนูญฉบับสุดท้าย” นายจาตุรนต์ กล่าว

ด้าน นางสิริพรรณ นกสวน สวัสดี อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เสนอว่าการแก้รัฐธรรมนูญต้องทำก่อนยุบสภาฯ มิเช่นนั้นจะได้นายกรัฐมนตรีคนเดิม หรือคนใหม่ที่มาจากการจัดตั้ง และต้องแก้ 2 ประเด็นโดยที่ไม่ต้องทำประชามติ คือ กำหนดให้นายกรัฐมนตรีต้องเป็น ส.ส. มาจากคะแนนเสียงข้างมากในสภาฯ เท่านั้น และแก้ไขระบบเลือกตั้งกลับไปใช้รัฐธรรมนูญ 40 และใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ ส่วน ส.ว.ยกเว้นการใช้บทเฉพาะกาล มาตรา 269 เพื่อให้อำนาจ ส.ว.หมดไป ไม่ต้องมีส่วนร่วมในการเลือกนายกรัฐมนตรีอีก หรืออีกทางเลือกหนึ่ง ตนเสนอว่าต้องมีการเลือกตั้ง ส.ส.ร.ที่มาจากประชาชน ร้อยละ 80 และอีกร้อยละ 20 มาจากผู้ทรงคุณวุฒิ


ขณะที่ นายยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการกลุ่มโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือไอลอว์ กล่าวว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ออกแบบมาเพื่อให้อำนาจ คสช.และเป็นรัฐธรรมนูญที่เขียนให้แก้ไขยากมากที่สุด พร้อมเสนอให้มีการรื้ออำนาจระบอบ คสช. สร้างหนทางกลับสู่ประชาธิปไตย และร่างรัฐธรรมนูญใหม่ของทุกคน โดยเสนอ 5 ยกเลิก 5 แก้ไข คือ ยกเลิกช่องทางนายกรัฐมนตรีมาจากคนนอก แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนปฏิรูปประเทศ ยกเลิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ และมาตรา 279 ที่ให้นิรโทษกรรม คสช.ที่ช่วยให้คนที่ทำรัฐประหารทำอะไรก็ไม่มีความผิด และให้แก้ไข คือ นายกรัฐมนตรีจะต้องเป็น ส.ส. ให้ ส.ว.มาจากการเลือกตั้งของประชาชน สร้างระบบสรรหาองค์กรอิสระแบบใหม่ ให้คนปัจจุบันพ้นจากตำแหน่ง ให้ปลดล็อกวิธีการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยใช้เสียงครึ่งหนึ่งของสภาฯ เช่นเดียวกับฉบับปี 40 และ 50 และให้ตั้ง ส.ส.ร.ชุดใหม่จากการเลือกตั้งทั้งหมด พร้อมกันนี้เชิญชวนให้ประชาชนร่วมเข้าชื่อจำนวน 50,000 รายชื่อเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ

นายโกวิท วงศ์สุรวัฒน์ อดีตอาจารย์คณะรัฐศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีความยาวที่มากเกินไปและเข้าใจยาก ทำให้ประชาชนไม่อยากอ่านและศึกษารายละเอียดในรัฐธรรมนูญ ต่างกับของต่างประเทศที่มีรายละเอียดไม่มาก แต่ประชาชนเข้าใจ ซึ่งการจะออกจากวิกฤตินี้ ต้องทำให้รัฐธรรมนูญของไทยกระชับและเข้าใจง่าย.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

ฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ส่งสุขรับปีใหม่

ส่งความสุขรับปีใหม่ กับฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ศิลปินลูกทุ่งเกือบ 100 ชีวิต ร่วมโชว์จัดเต็ม

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

เด้ง ตร.จราจร ปมคลิปรับเงินแลกไม่เขียนใบสั่ง

ผบก.ภ.จว.นนทบุรี สั่งย้าย “รอง สว.จร.สภ.รัตนาธิเบศร์” เซ่นคลิปรับเงินแลกไม่ออกใบสั่ง พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงภายใน 3 วัน ด้านเจ้าตัวอ้างไม่เห็นเงินที่วางบนโต๊ะในตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร