fbpx

แนะรัฐบาล-ค้านช่วยกันคิดเรื่องทำประชามติ

รัฐสภา 24 เม.ย.-“ปริญญา” แนะรัฐบาล-ฝ่ายค้านคุยกันเรื่องประชามติ ชี้ ไม่ใช่เรื่องของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หวั่นถ้าขัดแย้ง แก้รธน.ไม่สำเร็จ


นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงการทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 เป็นรัฐธรรมนูญที่เต็มไปด้วยปัญหามากมาย เพราะร่างขึ้นมาโดยกระบวนการที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ผู้ร่างมาจากรัฐประหารและวางกลไกสืบทอดอำนาจไว้มาก จึงต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลง แม้ว่าสมาชิกวุฒิสภา(สว.) ที่มีส่วนสืบทอดอำนาจ จะหมดวาระวันที่ 10 พฤษภาคมนี้ แต่กลไกต่าง ๆ ที่ไม่เป็นประชาธิปไตยยังต้องแก้อยู่มาก

“ที่ผ่านมาการแก้รัฐธรรมนูญ 2560 เป็นไปได้ยาก ซึ่งได้วางกลไกไว้ว่าถ้าจะแก้รัฐธรรมนูญจะต้องใช้เสียงสวมากถึง 1 ใน 3 ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน และเมื่อสว.ชุดนี้จะหมดวาระโอกาสที่จะได้สว.ชุดใหม่ มาเห็นชอบด้วยหนทางก็จะเปิด ข้อที่เป็นอุปสรรคใหญ่คือกติกาของศาลรัฐธรรมนูญ ข้อถกเถียงที่ว่าจะต้องทำประชามติ 2 หรือ 3 ครั้ง เป็นเรื่องที่ศาลไม่รับวินิจฉัย ซึ่งรัฐบาลแถลงแล้วว่าจะทำประชามติ 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 คือเริ่มเสนอร่าง ครั้งที่ 2 คือร่างเสร็จ และครั้งที่ 3 คือก่อนประกาศใช้ ซึ่งผมเห็นว่าครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ไม่จำเป็นต้องถาม เพราะเป็นเรื่องเดียวกัน แต่เมื่อรัฐบาลมีแนวทางแบบนี้ก็ต้องติดตามดู ต่อไปว่าครั้งที่ 1 จะเริ่มต้นขึ้นเมื่อไหร่” นายปริญญา กล่าว


ส่วนเรื่องที่คงจะเป็นข้อเห็นต่างกันมาก ระหว่างพรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกลคือเรื่องคำถาม เพราะมีคำถามที่ว่า “จะเห็นชอบด้วยหรือไม่ กับการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ โดยไม่แก้ไขหมวด 1 และหมวด 2” ในส่วนนี้มีความไม่ลงรอยกันอยู่ ซึ่งตามกติการัฐธรรมนูญมาตรา 255 ระบุว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ที่เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐ หรือมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จะแก้ไขไม่ได้ ซึ่งในส่วนนี้มีขอบเขตอยู่แล้วและที่ผ่านมา การร่างใหม่ของรัฐธรรมนูญเช่น ปี2540 ก็อยู่ภายใต้หลักการนี้อยู่แล้ว

นายปริญญา กล่าวว่า หากรัฐบาลจะเดินหน้า ควรหาหนทางพูดคุยกับฝ่ายค้านให้พอจะไปกันได้ เพราะหากมีความเห็นต่างกัน อาจจะไม่ได้เริ่มต้นตั้งแต่ครั้งแรก ร่างรัฐธรรมนูญปี 2560 ซึ่งตอนที่ทำประชามติปี 59 ยังแยกเป็น 2 คำถาม คือ1.เห็นชอบหรือไม่ที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้จะประกาศใช้ และ 2. เห็นชอบด้วยหรือไม่ที่ให้สว.มาเลือกนายกในช่วง 5 ปีแรก ความจริงหากจะหลีกเลี่ยงความขัดแย้งก็อาจจะแยกเป็น 2 คำถามได้หรือไม่ แต่ถ้าเป็นคำถามเดียวก็เป็นเรื่องที่ควรต้องคุยกัน

นายปริญญา กล่าวว่า ขอเสนอว่าพรรคเพื่อไทยและพรรคฝ่ายค้าน ซึ่งเคยเป็นพรรคร่วมฝ่ายค้าน เป็นฝ่ายประชาธิปไตย และสัญญากับประชาชน ไว้ด้วยกันมา ว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2560 จะมาเปลี่ยนให้เป็นประชาธิปไตย หากเดินหน้าต่อไป แล้วยังมีความเห็นต่างกันอยู่ เกรงว่าประชามติจะไม่ผ่าน และสุดท้ายการแก้รัฐธรรมนูญจะไม่สำเร็จ หลักคือทั้งสองฝ่ายควรคุยและร่วมมือกัน ไม่ควรจะเป็นเรื่องฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง คือสิ่งที่ประชาชนอยากจะเห็น ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ ขณะนี้ดูเหมือนว่าจะเดินหน้าไปข้างเดียว เกรงว่าจะไม่สำเร็จ


“สิ่งที่เราแตะไม่ได้คือระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมถึงรูปแบบราชอาณาจักรที่เป็นรัฐเดียว ซึ่งนี่มันต้องห้ามอยู่แล้วในความเห็นส่วนตัว ในหมวดทั่วไปมาตรา 4 ที่เกี่ยวกับเรื่องสิทธิเสรีภาพของมนุษย์ และมาตรา 5 ที่กฎหมายจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้ ความหมายคือต้องคุยกันด้วยเหตุและผล ฉะนั้น จะเป็นคำถามแบบไหนถ้ารัฐบาลกับฝ่ายค้านคุยกันได้จะเป็นประโยชน์ที่สุด” ” นายปริญญากล่าว

ส่วนจำนวนผู้มาใช้สิทธิ์ออกเสียงประชามติต้องเกินกึ่งหนึ่งจะเป็นอุปสรรค ต่อการแก้รัฐธรรมนูญหรือไม่ นายปริญญากล่าวว่า การใช้สิทธิ์เลือกตั้งของประชาชน ล่าสุด 74% ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ซึ่งมองว่าโอกาสถึงกึ่งหนึ่งมีอยู่แล้ว ถ้าทุกคนมีความเห็นเป็นไปในทิศทางเดียวกันว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องร่างกันใหม่ แต่ถ้าหากรัฐบาลกับฝ่ายค้านยังคงเห็นต่างกัน 50% อาจจะถึงยาก ซึ่งการออกแบบเรื่องของประชามติ คือต้องได้เสียงเกินครึ่งหนึ่งของประชาชนที่มาออกเสียง ส่วนขั้นต่ำจะเป็นเท่าไหร่ เป็นเรื่องหารือกันได้ รัฐบาลและฝ่ายค้านต้องหารือกัน แต่ถ้าเงื่อนไขสูง จะทำให้เกิดปัญหาได้ ไม่ใช่ปัญหาที่ตัวคำถาม แต่ปัญหาคือความเห็นต่างของระหว่างรัฐบาลและฝ่ายค้าน และตัวร่างแก้ไขจะไปไม่ถึงสภาฯ ถ้ารัฐบาลกับฝ่ายค้านยังคงเห็นต่างกันอยู่

“คำถามคือเขาจะคุยกันได้หรือไม่ เป็นเรื่องที่ประชาชนคาดหวังอยากจะเห็น และหวังว่าจะเดินหน้าต่อไปได้ ประชามติจะ 2-3 รอบ ก็ไม่ใช่ปัญหา เพราะเราคาดหวังจะเห็นรัฐธรรมนูญถ้าจะมีการร่างใหม่ ก็ควรจะเป็นครั้งสุดท้ายเสียที รัฐธรรมนูญที่จะเป็นครั้งสุดท้ายได้จะต้องเป็นของประชาชน ไม่ใช่ของรัฐบาลหรือฝ่ายค้าน ดังนั้นจุดเริ่มต้นของความสำเร็จคือรัฐบาลและฝ่ายค้าน ต้องมาคุยกันและหาทางออก ร่วมกัน แต่ถ้ายังคงเดินหน้าอย่างนี้ต่อไปอยู่คงจะสำเร็จยาก” นายปริญญา กล่าว.-317.-สำนักข่าวไทย       

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

Made in Thailand แดนไทยเท่ : เสน่ห์ผ้าทอชาวเขา สู่แบรนด์แฟชั่นชั้นนำของเชียงใหม่

ผ้าทอชาวเขาและเครื่องแต่งกายชนเผ่าต่างๆ ของไทยที่มีลวดลายสวยงามแปลกตาไม่เหมือนใคร ทำให้ดีไซเนอร์ชาวเชียงใหม่ นำมาออกแบบตัดเย็บ กลายเป็นเสื้อผ้าแฟชั่นที่ทันสมัย

ศาลปกครองอุบลราชธานี ไม่รับฟ้องกรณีนักศึกษาไม่ได้รับเงิน

กรุงเทพฯ 3 พ.ค.-ศาลปกครองอุบลราชธานี ไม่รับฟ้อง กรณีนักศึกษา ไม่ได้รับเงิน ยืนยันโอนเงินให้เแล้ว 

พายุฤดูร้อนถล่ม 31 จังหวัด ฝนฟ้าคะนอง-ลมแรง

กรมอุตุฯ ออกประกาศเตือนพายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 5 ฝนฟ้าคะนอง-ลมกระโชกแรง วันนี้ (3 พ.ค.) ได้รับผลกระทบ 31 จังหวัด ในภาคเหนือ อีสาน และภาคกลาง

ข่าวแนะนำ

นายกฯ ปัดแนวคิดแก้ พ.ร.บ. ลดอำนาจผู้ว่าฯ ธปท.

นายกฯ ยันเสียงแข็ง ไม่เคยคิดปลดผู้ว่าฯ ธปท. ยังไงท่านก็ยังอยู่ตรงนี้ รับเห็นต่างเรื่องลดดอกเบี้ย มองเป็นเรื่องธรรมดา โนคอมเมนต์ #saveผู้ว่าแบงก์ชาติ ย้ำชัดไม่เคยมีแนวคิดแก้ พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย

“บิ๊กโจ๊ก” ร้องคัดค้านกรรมการสอบวินัยร้ายแรง 9 ใน 14 คน

รรท.ผบ.ตร. ยอมรับ “บิ๊กโจ๊ก” ร้องคัดค้านกรรมการสอบวินัยร้ายแรง 9 ใน 14 คน อ้างเป็นคู่ขัดแย้ง กำชับให้ผลตรวจสอบคุณสมบัติกรรมการเสร็จก่อนการสอบ “บิ๊กโจ๊ก”

กปน.-กรมชลประทาน เฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนรอบใหม่ 5-15 พ.ค.นี้

กปน.-กรมชลประทาน เตรียมแผนรับมือน้ำทะเลหนุนรอบใหม่วันที่ 5-15 พ.ค.นี้ หลังช่วงปลายเดือน เม.ย. ทำให้น้ำเค็มเกินมาตรฐาน ส่งผลให้น้ำประปาอาจมีรสชาติเปลี่ยนแปลงบ้าง มั่นใจทุกขั้นตอนผลิตน้ำประปาที่ต้นสถานีสูบน้ำดิบสำแลถึงผลิต 3 แห่ง น้ำประปามีคุณภาพสูง ขอให้ประชาชนสบายใจ และขอให้ตามข้อมูลคุณภาพน้ำสม่ำเสมอ

นายกฯ กราบนมัสการ “พระครูปลัดสุขวัฒน์” วัดท่าตะแบง จ.ร้อยเอ็ด

นายกฯ กราบนมัสการ “พระครูปลัดสุขวัฒน์” พระชื่อดังวัดท่าตะแบง จ.ร้อยเอ็ด รับปากแก้ไขปัญหายาเสพติด-น้ำท่วม พร้อมรับวัตถุมงคล รับพรให้สุขภาพแข็งแรง ประสบความสำเร็จ เป็นห่วงเดินทางเยอะ ขณะที่ประชาชน ทวงถามเงินหมื่น นายกฯ ย้ำ “ตั้งใจจะให้ รอสิ้นปี”