“วันชัย” เห็นด้วยแก้ รธน. ทำประชามติ 2 ครั้งมากเกินพอ

รัฐสภา 29 มี.ค.- “วันชัย” เห็นด้วยแก้ไขรัฐธรรมนูญ หากส่งเรื่องให้ศาลพิจารณาวินิจฉัย เหตุ มองเห็น 3 จุดด้อย ยัน ทำประชามติ 2 ครั้งก็มากเกินพอ คาด แก้ไขครั้งนี้ รวบงบตั้ง ส.ส.ร. วงเงินเกือบ 20,000 ล้านบาท


นายวันชัย สอนศิริ สมาชิกวุฒิสภา กล่าวอภิปรายญัตติข้อบังคับการประชุมรัฐสภา เรื่องให้รัฐสภา มีมติขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 (2) ซึ่งมี นายชูศักดิ์ ศิรินิล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย เป็นผู้ยื่น ว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (2560) ใช้มาเป็นระยะเวลา 6-7 ปี และได้ตั้งกรรมาธิการศึกษาข้อดี ข้อด้อย จุดอ่อน จุดแข็ง ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน และมีข้อเสนอจะแก้ตรงนั้นตรงนี้ในมาตรานั้นมาตรานี้

ซึ่งแปลว่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน หลังจากที่ใช้มาระยะหนึ่งคณะกรรมาธิการหรือผู้ที่ทำการศึกษา และผู้ที่เกี่ยวข้อง เห็นว่าควรมีการแก้ไข ส่วนจะแก้ไขด้วยวิธีใด จะทั้งฉบับหรือไม่ก็ตาม เป็นที่ยอมรับกันว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้มีประเด็นที่ควรแก้ไข โดยส่วนตัวในฐานะที่มีส่วนในการใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 60 ตั้งแต่ก่อน จนกระทั่งประกาศใช้และถึงปัจจุบัน เห็นชัดเจนว่ามีประเด็นที่ควรแก้ไข อาทิ


  1. ที่มาขององค์กรอิสระ ทั้งคุณสมบัติของคณะกรรมการในองค์กรอิสระคณะต่างๆ โดยที่ประชาชนแทบไม่มีส่วนเข้าไปอยู่ในองค์กรอิสระเลย และเป็นเรื่องที่ตนเห็นว่าควรแก้ไขอย่างยิ่งในฐานะที่เป็น สว. โหวตบุคคลในองค์กรอิสระมาถึง 5 ปี ซึ่งเห็นจุดบกพร่องที่ควรแก้ไข เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง พร้อมขอฝากไว้ในสมาชิกรัฐสภาที่จะต้องพิจารณาแก้ไขต่อไป
  2. การได้มาซึ่ง สว. ที่กำลังจะเกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2567 นี้ เห็นว่าเป็นเรื่องที่ควรต้องมีการแก้ไขที่มาของ สว. เสียใหม่ ส่วนจะเป็นอย่างไรก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง โดยส่วนตัวของตนที่ได้ศึกษาเรื่องดังกล่าว “เห็นควรต้องแก้ไข” เนื่องจากมีความสำคัญ เพราะถือว่าเป็นหนึ่งองค์กรในการถ่วงดุลคานอำนาจซึ่งกันและกัน ฉะนั้น จึงฝากไปว่า “เรื่องนี้ควรต้องแก้ไข”
  3. การปฏิรูปประเทศ ที่ยังอยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ที่ระบุไว้ แต่เวลาปฏิบัติจริงเพื่อให้เป็นเรื่องราวที่สามารถปฏิรูปได้จริงๆ ให้ สว.มีหน้าที่ติดตาม เร่งรัดและเสนอแนะ แต่บุคคลที่ทำการปฏิรูปคือรัฐบาล ฉะนั้นจึงไม่มีอะไรที่เป็นมักเป็นผลเลย ดังนั้น สิ่งที่ควรต้องแก้ไข ย้ำว่า เป็น 3 เรื่องที่ สว. ใน 5 ปีได้เห็นเป็นประจักษ์ต่อรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน

ส่วนปลีกย่อยเรื่องการกระจายอำนาจและหลายๆ เรื่องที่มีบุคคลได้ทำการศึกษามา แปลว่า รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวถึงคราวต้องมีการปรับปรุงแก้ไข ส่วนจะแก้ไขอย่างไรเมื่อไหร่ ให้เป็นหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาที่จะต้องดำเนินการต่อไป เนื่องจาก สว. ชุดปัจจุบันคงไม่ทันต่อการแก้ไข ทั้งนี้ สิ่งหนึ่งที่ตนเห็นก็คือการทำประชามติ เท่าที่ญัตตินี้มีการเสนอเข้ามา ชี้ให้เห็นว่าจัดทำวินิจฉัยของรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว อาจต้องทำประชามติถึง 3 ครั้ง เปิดครั้งที่ 1 ก่อนแก้ไข ครั้งที่ 2 คือ ตาม 256 (8) และครั้งที่ 3 คือเมื่อร่างรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้นพร้อมกับให้ประชาชนดูว่าเห็นด้วยหรือไม่ สรุปคือตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ รวมแล้ว 3 ครั้ง ซึ่งมันอะไรกันนักกันหนาเพราะการแก้รัฐธรรมนูญ 1 ที ต้องทำประชามติถึง 3 ครั้ง ใช้งบประมาณ 10,000 ล้านบาท ซึ่งไม่รวมการเลือก ส.ส.ร. ซึ่งหากเลือก ส.ส.ร.จะใช้งบประมาณอีก 3,000 ล้านบาท โดยที่ ส.ส.ร. จะต้องทำงานอีก 1-2 ปี ใช้งบประมาณเกือบ 10,000 ล้านบาท ซึ่งการจะแก้รัฐธรรมนูญทั้งทีต้องใช้เงินเกือบ 20,000 ล้านบาท “อะไรกันนักกันหนา” ขณะที่สภาวะเศรษฐกิจของประเทศอยู่ในขณะนี้

นายวันชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า การทำประชามติ 2 ครั้งก็มากเกินพอแล้ว ซึ่งตนเห็นด้วยกับญัตติดังกล่าว ว่า 256 วงเล็บ 8 เมื่อมีการผ่านสภาว่าจะมีการทำรัฐธรรมนูญ และใช้การตั้ง ส.ส.ร. ถามไปในคราวเดียวกัน กับ 256 (8) เนื่องจากเป็นเพียงปฐมบทของการเริ่มต้นการแก้ไขรัฐธรรมนูญเท่านั้น ขณะเดียวกันหากเราตัดสินใจเช่นนี้เกรงว่าทำไปแล้วจะมีปัญหาขัดต่อรัฐธรรมนูญและจะเสียของไปเปล่า และเมื่อประธานไม่บรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระและสมาชิกมองว่าเป็นอำนาจหน้าที่ จะส่งผลให้เกิดความขัดแย้งดังนั้นองค์กรที่จะวินิจฉัยต่อประเด็นนี้คือ ศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งตนมองว่าเป็นสิ่งที่ชอบแล้ว

ส่วนศาลรัฐธรรมนูญจะรับวินิจฉัยประการใด หรือจะไม่วินิจฉัยเลย ตนว่าเป็นสิ่งที่สมาชิกรัฐสภาดำเนินการญัตตินี้ชอบแล้ว ตนจึงเห็นด้วยว่า เมื่อมีปัญหาสงสัยและมีข้อขัดแย้งอันเป็นประเด็นที่สำคัญเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ และชอบที่ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยต่อประเด็นนี้ “ตนจึงเห็นด้วยต่อญัตตินี้” นายวันชัย กล่าว .-317 -สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

ฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ส่งสุขรับปีใหม่

ส่งความสุขรับปีใหม่ กับฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ศิลปินลูกทุ่งเกือบ 100 ชีวิต ร่วมโชว์จัดเต็ม

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

เด้ง ตร.จราจร ปมคลิปรับเงินแลกไม่เขียนใบสั่ง

ผบก.ภ.จว.นนทบุรี สั่งย้าย “รอง สว.จร.สภ.รัตนาธิเบศร์” เซ่นคลิปรับเงินแลกไม่ออกใบสั่ง พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงภายใน 3 วัน ด้านเจ้าตัวอ้างไม่เห็นเงินที่วางบนโต๊ะในตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร