โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ 27 ต.ค.- “เศรษฐา” ร่วมเวทีสัมมนาเปิดตัว “คู่มือเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน-มาตรฐานผลกระทบ SDG” เน้นย้ำ การลงทุนที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม บอก เป็นจุดขายดึงนักลงทุน ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งเงินทุน
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานเปิดงานและกล่าวปาฐกถาพิเศษในงานสัมมนาเปิดตัว “คู่มือเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับบริษัทจดทะเบียน และมาตรฐานผลกระทบ SDG” ณ ห้องแกรนด์บอลรูม 1-2 โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ ถนนราชดำริ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ
นายเศรษฐา กล่าวว่า การไปสู่เป้าหมาย SDG ได้อย่างมีศักยภาพ รัฐบาลให้ความสำคัญกับการดำเนินงานเพื่อให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมาย SDG ของสหประชาชาติในทุกมิติ โดยถือเป็นแนวทางสำคัญที่ให้ประเทศได้พัฒนาครอบคลุมได้อย่างยั่งยืน ทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม โดยรัฐบาลสื่อสารอย่างชัดเจนให้ทุกภาคส่วน ระดับประเทศและประชาคมโลกถึงความมุ่งมั่นที่ประเทศไทยบรรลุเป้าหมาย SDG และความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2065 โดยได้นำเป้าหมายเหล่านี้มาบูรณาการ ในนโยบายประเทศทุกระดับ รวมถึงยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 23 และแผนของยุทธศาสตร์ทุกกระทรวง ภายใต้กติกาใหม่ ของการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศของตลาดโลกเพื่อให้รับผิดชอบต่อสังคม การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของโลกที่จะเป็นบรรทัดฐาน ของการดำเนินการเศรษฐกิจที่ไม่สามารถปรับตัวได้ต่อบรรทัดฐานใหม่ได้อย่างถ่วงทีและอาจทำให้ต้องสูญเสียการแข่งขันไปอย่างช้าๆ
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลก็มองสิ่งนี้ว่าจะเป็นองค์การสำคัญของประเทศไทยและเอกชน ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในทางการผลิต บริการ และการพลังงาน การเกษตรและตลาดทุน เพื่อให้สังคมสามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืนและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้ภาคธุรกิจของประเทศไทย เพื่อขับเคลื่อนให้เติบโตและยั่งยืนมีเสถียรภาพ ต้องได้รับความร่วมมืออย่างแข็งขันจากทุกภาคส่วนที่สอดคล้องกันเพื่อไปสู่เป้าหมาย SDG โดยบทบาทภาครัฐ กระทรวงการคลัง ซึ่งมีบทบาทหลักออกนโยบาย ที่กำกับดูแลงานที่เกี่ยวข้อง ให้บรรลุเป้าหมายอย่างยั่งยืนมาโดยตลอดและมิติเศรษฐกิจการส่งเสริมการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องครอบคลุม และส่งเสริมการเข้าถึงการให้บริการทางการเงินผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจ และเปิดโอกาสให้บริการทางการเงินชนิดใหม่ ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ โดยเน้นประชาชนระดับฐานราก
ส่วนมิติสิ่งแวดล้อม ซึ่งความเป็นกลางทางคาร์บอนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกนั้น ใช้มาตรการภาษีรูปแบบต่างๆ เช่นให้ สิทธิประโยชน์ อาทิ ภาษีสรรพสามิตที่ผลิตรถยนต์ การใช้ไฟฟ้าขับเคลื่อนรถยนต์และการย่อยสลายทางชีวภาพ และออกแผนงานการจัดซื้อจัดจ้างบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของภาครัฐและให้หน่วยราชการจัดซื้อรถไฟฟ้าหรือ EV มาใช้ในส่วนราชการแทนรถยนต์เดิมที่จะหมดอายุ
นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญมิติหุ้นส่วนในการพัฒนาและขับเคลื่อนที่ยั่งยืนระดับโลก โดยการช่วยเหลือบริจาคเงินทุนให้กับประเทศนี้กำลังพัฒนา อย่างไรก็ตามต้องใช้เงินทุนเป็นอย่างมาก พึ่งเงินทุนภาครัฐไม่พอต้องระดมจากภาคเอกชน ดังนั้นกระทรวงการคลังก็ให้ความสำคัญกับภาคการเงิน เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง อย่างเป็นรูปธรรม เช่นการออกตราสารหนี้ ที่ออกไปกว่า 300,000 ล้านบาท และยังมีแนวทางที่จะออกตราสารหนี้ไปถึงการระดมทุนด้านอื่นอีกด้วย โดยเฉพาะเครื่องมือนโยบาย เชิงรุกที่หลากหลายกับทุกธุรกิจ
นายเศรษฐา กล่าวว่า การพัฒนาตลาด อยากให้ไทยเป็น Supply chain ทั้งหมด ได้มีการปรับไปใช้ ต้องพัฒนาให้เราเป็นที่หนึ่งในอาเซียน ซึ่งเป็นนัยยะสำคัญ จากการที่ตนได้เดินทางไปในหลายๆ ประเทศในโลก การที่บริษัทต่างๆ ที่จะมาลงทุนในประเทศไทย SDG Index ถือเป็นตัวชี้วัดสำคัญที่ประเทศไทยให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นการเชื้อเชิญให้บริษัทระดับโลกมาลงทุนในประเทศไทยที่เป็นต่อกว่าประเทศคู่แข่งเรา ไม่ว่าจะเป็นอินโดนีเซีย หรือเวียดนาม ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมีส่วนสำคัญในการผลักดันยกระดับขีดความแข่งขันของประเทศไทยให้ดีขึ้นเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนคนไทยให้ดีขึ้นในระยะยาว.-สำนักข่าวไทย