ร่างกฎหมายประมงยังโหวตไม่ได้เหตุสภาล่ม

รัฐสภา 9 ก.พ. – การประชุมสภาฯ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง ลงมติไม่ได้ เนื่องจากองค์ประชุมมีเพียง 93 คน


การประชุมสภาผู้แทนราษฎรช่วงบ่ายวันนี้ มีนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานการประชุม ได้พิจารณา เรื่องด่วน ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 พ.ศ. …. ซึ่ง ได้รวบรวมเนื้อหา จากพรรคการเมือง 7 การเมือง เป็นผู้เสนอ

โดยนายนิกร จำนง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวว่า ที่ผ่านมากฎหมายการประมงไทยดังกล่าวส่งผลกระทบต่อชาวประมงไทยเป็นอย่างมาก โดยที่มาของร่างพระราชกำหนดดังกล่าวเกิดจากแรงกดดัน จากสหภาพยุโรป หรืออียู โดยใช้กรอบที่มีการกล่าวหาว่าไทย ทำการประมงผิดกฎหมาย พร้อมทั้งขาดการรายงาน และขาดการควบคุม โดยมีเป้าหมายในการต่อรองทางการค้าเป็นสำคัญ ดังนั้นตนจึงมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะต้องการปรับปรุงกฎหมายตามข้อบัญญัติดังกล่าว ซึ่งที่ผ่านมาชาวประมงจำเป็นต้องเลิกอาชีพการประมง เนื่องจากได้รับแรงกดดันจากข้อกฎหมายดังกล่าว เนื่องจากได้รับการจำกัดสิทธิในการทำประมงพื้นบ้าน /และกำหนดคุณลักษณะผู้ที่มีสิทธิการทำประมง ซึ่งต้องได้รับใบอนุญาตทำประมง ส่งผลให้ได้รับผลกระทบด้านค่าใช้จ่ายเป็นอย่างมาก และสภาพกฎหมายดังกล่าว ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน พร้อมย้ำขอให้ทุกพรรคการเมืองช่วยผลักดันแนวทางในการแก้ไขกฎหมายดังกล่าว เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องชาวประมงด้วย


ด้านนางกันตวรรณ ตันเถียร ส.ส. จังหวัดพังงา พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ที่ผ่านมากฎหมายดังกล่าว ได้กำหนดให้ประเทศไทยโดนใบเหลืองในการทำประมง โดยให้เหตุผลว่า การทำประมงของไทยขาดการรายงาน และไร้การควบคุมโดยสิ้นเชิง จึงทำให้สภาพยุโรปมีความเห็นว่าหากไทยไม่มีการปรับแก้กฎหมายดังกล่าวจะไม่สามารถนำสินค้าประมง สู่สหภาพยุโรปได้ ซึ่งทางรัฐบาลยุค คสช. จึงได้ออกกฎหมายดังกล่าว โดยปราศจากรับฟังความคิดเห็นของชาวประมงอย่างรอบด้าน จึงส่งผลให้ชาวประมงได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก อาทิ การเลิกประกอบอาชีพประมง ซึ่งส่งผลให้ ห่วงโซ่เกิดปัญหาการทำประมงเกิดปัญหา และได้รับมูลค่าความเสียหายตามมาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นตนจึง ได้ยื่นข้อเสนอ 11 ข้อต่อ คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ สภาผู้แทนราษฎร เข้าสู่การพิจารณาอย่างเต็มประสิทธิภาพ พร้อมขอวอนให้มีการปรับแก้กฎหมายดังกล่าวด้วย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ของชาวประมงและยกระดับคุณภาพชีวิต และยกระดับอาชีพของชาวประมง ผ่านการกระบวนการส่งเสริมอาชีพการประมงพื้นบ้าน เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน

นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.จังหวัดเชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า กฎหมายดังกล่าว ยังคงมีมาตราที่ขัดกับหลักการประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล หรือขัดกับหลักสิทธิมนุษยชน รวมถึงมีการเลือกปฏิบัติ และขาดต่อความเสมอภาค ดังนั้น ตนจึงต้องการบรรเทาความเดือดร้อนของชาวประมง ซึ่งประกอบอาชีพโดยสุจริต ให้ได้รับความเป็นธรรม

นายวรภพ วิริยะโรจน์ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล หนึ่งในผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ชี้แจงสาระสำคัญว่า กฎหมายฉบับนี้ออกมาจากรัฐบาลชุดคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. และเป็นกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม ไม่มีการปรับแก้กฎหมายให้ทันสมัย รวมทั้ง ยังไม่สามารถกระจายอำนาจไปยังท้องถิ่นได้ โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการกระจายอำนาจ ที่ยังคงให้ส่วนกลางเป็นผู้มีอำนาจกำหนดกติกาในการประมง ทั้งที่จริงแล้วควรจะเป็นอำนาจหน้าที่ของกรมประมงประจำจังหวัดที่ต้องออกกติกาว่า การประมงสิ่งใดทำได้ หรือทำไม่ได้ และควรเพิ่มสัดส่วนของชาวประมงท้องถิ่น ลดบทบาทของข้าราชการส่วนภูมิภาคลง รวมไปถึงควรยกเลิกกฎหมายที่ซ้ำซ้อนออกไป อย่างเช่นแรงงานต่างด้าวมีการขึ้นทะเบียนกับกระทรวงแรงงานอยู่แล้ว เหตุใดยังต้องให้แรงงานต่างด้าวขอหนังสือคนประจำเรือแรงงานต่างด้าว หรือ Seabook เพิ่มเติมอีก หากไม่ดำเนินการก็จะถูกปรับสูงถึง 4 แสนบาท ซึ่ง Seabook ควรมีเฉพาะการทำประมงนอกราชอาณาจักรเท่านั้น


ด้านแพทย์หญิง เพชรดาว โต๊ะมีนา ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย เห็นด้วยกับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว เนื่องจากพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 มีปัญหาในการดำเนินกิจการประมงของผู้ประกอบการเป็นอย่างมาก บางรายต้องปิดตัวและลูกจ้างตกงานเป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกันก็มีบทกำหนดโทษที่ไม่สมเหตุสมผล อย่างไรก็ตาม ได้ขอให้คณะกรรมาธิการที่สภาฯจะตั้งขึ้น มีการจำแนกขนาดของเรือประมงให้ชัดเจน ทั้งประมงพื้นบ้าน และประมงเชิงพานิชย์ขนาดกลาง ขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ เพื่อให้สอดคล้องกับจำนวนการเติบโตของสัตว์น้ำ พร้อมกันนี้ก็ควรมีการกระจายอำนาจไปยังคณะกรรมการประมงจังหวัด มีส่วนตัดสินใจในเรื่องต่างๆ และควรจะกำหนดมาตรฐานแรงงานประมงให้สอดคล้องกับหลักสากล มีการจัดสิทธิประโยชน์ให้กับบุตรหลาย โดยเฉพาะ การศึกษาขั้นพื้นฐานด้วย

ท้ายที่สุดที่ประชุมไม่สามารถลงมติได้เนื่องจากองค์ประชุมมีเพียง 93 คนไม่ครบเป็นองค์ประชุม นายศุภชัย โพธิ์สุ ประธานในขณะนั้นได้สั่งปิดการประชุมในเวลา 18.24 น.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผ่าไชน่า เรลเวย์ คว้า 3 โครงการรัฐในภูเก็ต

เหตุการณ์ตึก สตง.ถล่ม กลายเป็นปฐมบทในการปูพรมตรวจสอบบริษัท ไชน่า เรลเวย์ หลังพบเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างตึก สตง. และโครงการรัฐหลายแห่งทั่วประเทศ ล่าสุดที่ จ.ภูเก็ต ตรวจพบ 3 โครงการ และหนึ่งในนั้นกำลังมีปัญหาก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน

มหาสงครามโลก

นักวิชาการชี้ “มหาสงครามโลกครั้งที่ 3” เกิดแน่ถ้าโลกยังตึงเครียด

นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศระดับแนวหน้าของไทย มีความเห็นตรงกันว่า หากผู้นำชาติมหาอำนาจไม่เร่งลดระดับความตึงเครียดสถานการณ์โลก

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว หลังอยู่ปฏิบัติภารกิจค้นหา-กู้ชีพ สนับสนุนกู้ภัยไทย เหตุตึก สตง.ถล่ม กว่า 1 สัปดาห์

ธรรมชาติใต้ดินเปลี่ยนไป หลังแผ่นดินไหว 1 สัปดาห์

แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ส่งแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ แม้บนพื้นผิวดินจะไม่ได้สร้างความเสียหายมากนัก แต่พบความเปลี่ยนแปลงสภาพใต้ดินจนเกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งหลุมยุบขนาดใหญ่ น้ำพุร้อนที่เคยพุ่งจากใต้ดินหายไป แต่น้ำตกที่แห้งในหน้าแล้งกลับมีน้ำไหลออกมา ซึ่งนักธรณีวิทยายืนยันเป็นผลพวงจากแผ่นดินไหวครั้งนี้

ข่าวแนะนำ

“ไฮโซกำมะลอ” กระโดดชั้น 3 สน.โคกคราม

“ไฮโซเก๊” โลก 2 ใบ เครียดปีนตึก หลังถูก “คะน้า” ดาราสาว ออกมาแฉกลางรายการดัง จนตำรวจต้องเข้าเกลี้ยกล่อมพาไปโรงพัก แต่ยังวิ่งหนีการควบคุม กระโดดลงมาจากชั้น 3 สน.โครกคราม บาดเจ็บ

วันที่ 11 ปฏิบัติการกู้ซากตึก สตง. ถล่ม

วันที่ 11 ของปฏิบัติการกู้ซากตึก สตง. พังถล่ม เจ้าหน้าที่เดินหน้าใช้เครื่องจักรหนักเข้า เคลียร์ซากต่อเนื่อง โดยเฉพาะโซนบี และซี ที่คาดว่าเป็นจุดที่มีผู้ติดค้างอยู่จำนวนมาก

ชุดค้นหาลงโพรงโซน B, C ลึก 5-6 เมตร ได้กลิ่นแรง ไม่พบผู้สูญหาย

“กู้ภัย” เผยเจาะโพรงพื้นที่โซน B และ C ได้แล้ว พร้อมส่งชุดค้นหาลงโพรงไปตรวจสอบลึก 5-6 เมตร ยังไม่พบผู้สูญหายเพิ่ม แต่ได้กลิ่นแรง เร่งเดินหน้าเครื่องจักรหนักเคลียร์ซากต่อเนื่อง ยันจะช่วยเหลือจนกว่านำร่างสุดท้ายออกมาครบ