สภาทนายความเตรียมฟ้อง 2 ศาลใน 16 ส.ค.นี้

สภาทนายความเตรียมฟ้องร้องกรณีการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำในประเทศไทย โดยจะฟ้องทั้งบริษัทผู้ขออนุญาตนำเข้า และหน่วยงานรัฐที่กำกับดูแล ชี้จะร้องต่อศาลแพ่งแผนกคดีสิ่งแวดล้อม และศาลปกครอง ภายในวันที่ 16 สิงหาคม


นายวิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์ พร้อมด้วยอุปนายกและกรรมการสภาร่วมแถลงข่าวเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายกรณีการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ ในประเทศไทย ว่า ตามที่สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมได้รับหนังสือร้องเรียน จากชาวบ้านในตำบลยี่สาร ตำบลแพรกหนามแดง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ว่าได้รับความเสียหายจากการระบาดของปลาหมอคางดำ ที่พบในแหล่งน้ำธรรมชาติและในพื้นที่บ่อเลี้ยงกุ้งและบ่อเลี้ยงปลาของชาวบ้าน สภาทนายความฯ ได้ตั้งประธานสภาทนายความทนายความจังหวัดรวม 16 จังหวัด เป็นผู้แทนของสภาทนายความเพื่อช่วยเหลือด้านกฎหมาย โดยมีประชาชนยื่นขอความช่วยเหลือเป็นจำนวนมาก

ทั้งนี้ จากการสอบข้อเท็จจริงของคณะทำงานสภาทนายความพบว่า ปลาหมอคางดำ ซึ่งเป็นสัตว์น้ำต่างถิ่นที่ได้รับอนุญาตจากการประมง ให้นำเข้าเพื่อการทดลองศึกษาวิจัยและพัฒนาพันธุ์สัตว์น้ำ โดยมีผู้ประกอบการแห่งหนึ่งเป็นผู้ขออนุญาตนำเข้าและมีการนำเข้ามาศึกษาทดลองเลี้ยงในปีพ.ศ. 2553 ที่ศูนย์วิจัยเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของบริษัทในจังหวัดสมุทรสงคราม ต่อมาในปีพ.ศ. 2560 พบการระบาดของปลาหมอคางดำ โดยเริ่มระบาดครั้งแรกที่ตำบลยี่สาร ตำบลแพรกหนามแดง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม จากการศึกษาพบว่า สายพันธุ์การระบาดของปลาหมอคางดำมาจากจุดร่วมสายพันธุ์เดียวกัน


คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมสภาทนายความและคณะกรรมการสำนักงานคดีปกครองจึงกำหนดแนวทางให้ความช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายในสองแนวทางคือ

1) การดำเนินคดีแพ่งกับผู้ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำในประเทศไทย โดยดำเนินคดีแบบกลุ่มซึ่งจะเรียกค่าเสียหายจากการขาดรายได้ของชาวประมง เรียกค่าเสียหายจากการที่ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลาย ตามหลัก “ผู้ก่อให้เกิดมลพิษเป็นผู้จ่าย” โดยจะร้องต่อศาลแพ่งแผนกคดีสิ่งแวดล้อม

2) การดำเนินคดีปกครองกับหน่วยงานอนุญาตที่ละเลย ละเว้นในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด ทำให้เกิดการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำเป็นการทำละเมิดทางปกครองและให้หน่วยงานอนุญาตขจัดการแพร่ระบาดและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติที่สูญเสียไป โดยให้เรียกค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจากผู้ก่อให้เกิดการระบาดของปลาหมอคางดำ รวมทั้งค่าเสียหายจากการที่ต้องสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ


สภาทนายความมั่นใจในข้อมูลและข้อกฎหมายที่ได้พิจารณาประกอบด้วย กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยการประมง และกฎหมายว่าด้วยการความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ และหน่วยงานของรัฐ โดยพร้อมจะนำคดีร้องต่อศาลภายในวันที่ 16 สิงหาคม 2567

ระหว่างนี้ให้สภาทนายความทนายความจังหวัด 16 จังหวัดได้แก่ จันทบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครราชสีมา สงขลา ตราด และชลบุรีรวบรวมความเสียหายของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและชาวประมงพื้นบ้านเพื่อประกอบสำนวน ล่าสุดได้รับรายงานว่า พบการระบาดในจังหวัดที่ 17 คือ จังหวัดนนทบุรี ซึ่งผู้ได้รับผลกระทบสามารถมาแจ้งต่อสภาทนายความจังหวัดได้เช่นกัน

ก่อนหน้านี้บริษัทที่ขออนุญาตนำเข้าจะชี้แจงว่า ได้ทำลายปลาและส่งตัวอย่างปลาให้กรมประมงครบถ้วนแล้ว โดยขัดแย้งของคำแถลงของอธิบดีกรมประมงที่ระบุว่า ไม่ได้รับตัวอย่างปลา ทั้งที่เงื่อนไขการนำเข้าจะต้องมีการส่งมอบทั้งตัวอย่างครีบปลา รวมถึงตัวอย่างปลาทั้งตัวเมื่อยกเลิกหรือสิ้นสุดการวิจัย นอกจากนี้อธิบดีกรมประมงยังกล่าวว่า กฎหมายว่าด้วยการประมงฉบับปัจจุบันซึ่งบังคับใช้ในปีพศ. 2558 ไม่สามารถเอาผิดได้ แต่สภาทนายความมั่นใจในข้อเท็จจริงซึ่งจะต้องเชื่อมโยงเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการระบาดของปลาหมอคางดำว่า ใครหรือหน่วยงานใดต้องรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นบ้าง

ในการแถลงข่าวมีผู้แทนกลุ่มเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและชาวประมงพื้นบ้านมาร่วมรับฟังด้วย ต่างรู้สึกดีใจ ที่จะได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมาย แต่การพิจารณาคดีในศาลต้องใช้เวลานาน เบื้องต้นต้องการได้รับการเยียวยาจากผลกระทบที่เกิดต่ออาชีพ โดยต้องการให้ประกาศพื้นที่ที่พบการระบาดของปลาหมอคางดำ เป็นเขตประสบภัยพิบัติเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนโดยเร่งด่วน

ภาพ ชำนาญวุฒิ สุขุมวานิช

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ไม่เอาไว้! ต่างด้าวสร้างปัญหาให้บุคลากรการแพทย์เมืองปาย

ผบช.สตม. ลั่น ไม่เอาไว้! ต่างด้าวสร้างปัญหาให้บุคลากรการแพทย์เมืองปาย เพิกถอนใบอนุญาต ผลักดันออกนอกประเทศทันที

ตรวจสอบ The Park เขาหลัก งบก่อสร้าง 140 ล้าน คุ้มค่าหรือไม่?

สำนักข่าวไทย ได้รับเรื่องร้องเรียนจากชาวบ้านให้ช่วยเข้าไปตรวจสอบการก่อสร้างโครงการศูนย์กลางการท่องเที่ยวและนันทนาการชายฝั่งแห่งเมืองพังงา หรือ The Park เขาหลัก ริมหาดบางเนียง หลังมีข้อมูลว่าเป็นโครงการที่ก่อสร้างด้วยงบกว่าร้อยล้านบาท แต่ปัจจุบันกลับไม่ได้ใช้ประโยชน์ และถูกปล่อยให้อยู่ในสภาพรกร้าง

ลูกสาวสารภาพจุดไฟเผาพ่อวัย 73 ดับคากระท่อม

ลูกสาวเปิดปากสารภาพจุดไฟเผาพ่อวัย 73 ปี เสียชีวิตในกระท่อม ข้างลานรับซื้อข้าวเปลือก ต.โนนศิลาเลิง อ.ฆ้องชัย จ.กาฬสินธุ์

พิรงรองคุก2ปี

คุก 2 ปี “พิรงรอง” กสทช. คดี “ทรู” ฟ้องกลั่นแกล้ง

ศาลสั่งจำคุก 2 ปี “พิรงรอง” กรรมการ กสทช. ไม่รอลงอาญา ผิดมาตรา 157 ชี้มีเจตนากลั่นแกล้ง “ทรูไอดี” ให้ได้รับความเสียหาย กรณีออกหนังสือเตือนโฆษณาแทรกในทีวีดิจิทัล

ข่าวแนะนำ

ตัดไฟเมียนมา

ตัดแขนขาเมียนมา ราคาน้ำมันพุ่ง-จำกัดการซื้อ

เข้าสู่วันที่ 3 สำหรับการตัดไฟฟ้า สัญญาณอินเทอร์เน็ต และระงับการส่งน้ำมัน จากฝั่งแม่สอดของไทยไปเมืองเมียวดีของเมียนมา ซึ่งส่งผลกระทบชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะการขาดแคลนน้ำมันในฝั่งเมียวดี