เตือน ต.ค.67-ก.พ.68 ภาคใต้เสี่ยงเกิด Rain Bomb หลายพื้นที่

rain bomb

กรุงเทพฯ 20 ต.ค.-“ดร.เสรี” เผยไทยเข้าสู่ลานีญาแล้ว เตือน ต.ค.67-ก.พ.68 ภาคใต้ไทยเสี่ยงเกิด Rain Bomb หลายพื้นที่ ชี้ไทยอุปกรณ์เตือนภัยพิบัติยังไม่เพียงพอ แนะรัฐเร่งสนับสนุนท้องถิ่น ทั้งบุคลากร-องค์ความรู้-งบประมาณ

ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ประธานกรรมการบริหารฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ MQDC และผู้เชี่ยวชาญด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวไทย ถึงสภาพอากาศของไทยที่แปรปรวน เกิดอุทกภัย รวมเกิดฝนตกกระหน่ำ (Rain Bomb) บ่อยครั้งมากขึ้น ในปีนี้ไล่มาตั้งแต่เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา ล่าสุดที่ อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี เมื่อคืนที่ผ่านมาว่า เมื่อสภาพอากาศที่มีความชื้นมารวมตัวกัน เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิด Rain Bomb ขึ้น ประกอบกับขณะนี้ไทยเข้าสู่สภาวะลานีญาแล้ว ยิ่งทำให้มีโอกาสเกิด Rain Bomb ได้มากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม Rain Bomb มีโอกาสเกิดในทะเลมากกว่าบนบก เนื่องจากความชื้นในทะเลมีสูงกว่า ส่วนเหตุอุทกภัยใน จ.อุทัยธานี เมื่อคืนที่ผ่านมา แม้โดยสภาพภูมิศาสตร์ จะไม่ใกล้กับทะเล แต่มีการดึงความชื้นมาจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่อยู่ในทิศทางดังกล่าว ส่วน Rain Bomb ที่เกิดขึ้นในภาคเหนือ แม้จะไม่ใกล้ทะเล แต่มีร่องมรสุมพาดผ่าน ทำให้เกิดการดึงความชื้นจากบนบกได้เช่นกัน


อย่างไรก็ตาม เมื่อประเทศไทยเข้าสู่สภาวะลานีญาแล้ว ส่งผลให้ตั้งแต่เดือนตุลาคมนี้เป็นต้นไป ภาคใต้จะมีฝนตกต่อเนื่อง ซึ่งปีนี้มีโอกาสที่จะตกยาวนานกว่าปีอื่นๆ ไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า จึงต้องเฝ้าระวังว่าอาจจะมี Rain Bomb เกิดขึ้นได้หลายพื้นที่ ไปจนถึงช่วงกลางปีหน้าที่ประเทศไทยจะกลับเข้าสู่สภาวะเอลนีโญ จะทำให้โอกาสการเกิด Rain Bomb น้อยลง

ดร.เสรี กล่าวต่อว่า การเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ จึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะการเตรียมพร้อมอุปกรณ์และเพิ่มจำนวนให้เพียงพอ จะเห็นว่าปัจจุบันยังไม่สามารถระบุข้อมุลเจาะจงพื้นที่อย่างละอัยดได้ เช่น กรมอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์อากาศว่าฝนตกร้อยละ 60 ของพื้นที่ แต่ยังไม่สามารถระบุเจาะจงได้ถึงระดับอำเภอ หรือตำบล จึงควรมีการกระจายเครื่องมือให้เข้าไปถึงท้องถิ่นชุมชน เนื่องจากชุมชนจะรู้สภาพพื้นที่เสี่ยงในท้องถิ่นของตนเองได้มากกว่าจึงควรสร้างท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็ง จำเป็นการจัดซื้ออุปกรณื หรือจัดสรรงบให้ไปดำเนนการเอง แต่มองว่าหากเป็นความเร่งด่วนให้ทันกับสภาพการณ์ปัจุบัน ควรเป็นส่วนกลางจัดซื้อ และอบรมความรู้ให้กับบุคลากรในท้องถิ่น จะทำให้เกิดความรวดเร็วขึ้น


“จากตัวเลขของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พบว่าประเทศไทยมีชุมชนที่เป็นพื้นที่เสี่ยงเกิดภัยพิบัติ 40,000 ชุมชน สามารถจัดสรรอุปกรณ์ได้ปีละ 20 ชุมชน เท่ากับว่าต้องใช้เวลาถึง 2,000 ปี แสดงให้เห็นว่าถ้าเรายังปล่อยให้เป็นแบบสภาพปัจจุบัน เท่ากับว่าก็ยังคงเกิดเหตุภัยพิบัติอย่างต่อเนื่อง จึงจำเป็นต้องมีการเพิ่มจากที่เคยทำได้ 20 ชุมชน เพิ่มเป็น 200 ชุมชน หรือหากเพิ่มเป็นปีละ 2,000 ชุมชน ก็จะสามารถดำเนินการได้ใน 10 ปี” ดร.เสรี กล่าว.-516.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สามีเข้าเกียร์ค้างไว้ สตาร์ทรถพุ่งชนภรรยาดับ

สลด! สามีขับรถใส่เกียร์ค้างไว้ สตาร์ทรถพุ่งชนภรรยาเสียชีวิตในบ้านพักย่านวิภาวดี ตำรวจยังไม่ปักใจเชื่อคำให้การเบื้องต้น นำตัวสอบปากคำอย่างละเอียดอีกครั้ง

คุมฝากขัง “เอ็ม เอกชาติ” เจ้าตัวปิดปากเงียบ

ตร.ไซเบอร์คุมตัว “เอ็ม เอกชาติ” ฝากขัง เจ้าตัวปิดปากเงียบ ไม่ตอบคำถามสื่อ ด้านตำรวจพบเส้นทางการเงินจากเว็บพนัน กว่า 30 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

ออกแล้ว! ผลตรวจเหล็ก 28 ชิ้น ตึก สตง.ถล่ม พบไม่ได้มาตรฐาน 13 ชิ้น

ผลตรวจตัวอย่างเหล็ก 28 ชิ้น ตึก สตง.ถล่มจากแผ่นดินไหว พบได้มาตรฐาน 15 ชิ้น ไม่ได้มาตรฐาน 13 ชิ้น ยังไม่สรุปเป็นสาเหตุตึกถล่ม ชี้ต้องดูหลายองค์ประกอบ

ครบ 72 ชม. ตึก สตง.ถล่ม ไม่หยุดค้นหาผู้รอดชีวิต

ปฏิบัติการค้นหาผู้รอดชีวิตจากเหตุตึก สตง.พังถล่ม แม้เวลาผ่านมาครบ 72 ชั่วโมงแล้ว แต่เจ้าหน้าที่้ทุกฝ่ายยังไม่ละความพยายามในการค้นหาผู้รอดชีวิต หวังมีปาฏิหาริย์

นายกฯ สั่งลดขั้นตอนแจ้งเตือนภัย ลั่นยังไม่ได้ SMS แผ่นดินไหว

นายกฯ ลั่น จนถึงวันนี้ก็ยังไม่ได้รับ SMS เตือนแผ่นดินไหว สั่งลดขั้นตอนแจ้งเตือน “กรมอุตุฯ ไป ปภ. เข้าเครือข่ายมือถือ” ไม่ต้องผ่าน กสทช. ระหว่าง รอ Cell Broadcast เต็มระบบ ก.ค.นี้