วิจัยพบโลกอนาคตเผชิญ “แห้งแล้งฉับพลัน” บ่อยขึ้น

หนานจิง, 7 พ.ค. (ซินหัว) — คณะนักวิทยาศาสตร์ของจีนเปิดเผยว่าโลกกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่การเผชิญภาวะแห้งแล้งฉับพลันบ่อยขึ้น และการเปลี่ยนผ่านดังกล่าวเกี่ยวพันกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ผลการศึกษาจากวารสารไซเอนส์ (Science) ระบุว่าภาวะแห้งแล้งฉับพลันหรือการเริ่มแห้งแล้งอย่างรวดเร็วจะเกิดขึ้นอย่างเป็นปกติยิ่งขึ้นบนพื้นที่บกส่วนใหญ่ในอนาคตที่อากาศอบอุ่นขึ้น การเกิดภาวะแห้งแล้งโดยทั่วไปใช้เวลาหลายเดือนหรือนานกว่านั้น แต่ด้วยภาวะอุณหภูมิสูงผิดปกติควบคู่กับภาวะขาดแคลนน้ำฝนขั้นรุนแรง ส่งผลให้ความชื้นในดินลดลงอย่างรวดเร็ว นำไปสู่ภาวะแห้งแล้งอย่างรุนแรงภายในไม่กี่สัปดาห์ ภาวะแห้งแล้งฉับพลันลดการกักเก็บคาร์บอนของระบบนิเวศบนบกอย่างรวดเร็ว และอาจทำให้เกิดภัยพิบัติต่างๆ อาทิ คลื่นความร้อน ไฟป่า และไฟฟ้าดับ กลายเป็นภัยคุกคามทั้งระบบนิเวศและการพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคม ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศหนานจิงได้ดำเนินการวิจัยโดยอ้างอิงข้อมูลเกี่ยวกับภาวะแห้งแล้งระหว่างปี 1951-2014 และพบการเกิดภาวะแห้งแล้งรวดเร็วเพิ่มขึ้นทั่วโลก บ่งชี้การเปลี่ยนผ่านทั่วโลกสู่การเกิดภาวะแห้งแล้งฉับพลันบ่อยขึ้น หยวนซิง ผู้นำทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยฯ กล่าวว่าผลการศึกษานี้แสดงการเปลี่ยนผ่านดังกล่าวเกี่ยวพันกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอันเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์อย่างมีนัยสำคัญ เช่น การปล่อยก๊าซเรือนกระจกและละอองลอย โดยการวิจัยเพิ่มเติมคาดว่าการเปลี่ยนผ่านจะขยายตัวไปยังพื้นที่บกส่วนใหญ่ของโลกในอนาคตที่อากาศอบอุ่นขึ้น – สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230506/3af5db74471b4870a5eeda69df00083f/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/356316_20230507ขอบคุณภาพจาก Xinhua

จีนเตรียมสร้าง “เส้นทางท่องเที่ยว” ระดับชาติ หัวข้อมรดกวัฒนธรรม

ปักกิ่ง, 7 พ.ค. (ซินหัว) — จีนเตรียมก่อสร้างเส้นทางท่องเที่ยวระดับชาติภายใต้หัวข้อมรดกวัฒนธรรม ระยะทดลอง จำนวน 3-5 เส้นทาง ระหว่างการดำเนินแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ระยะ 5 ปี ฉบับที่ 14 (2021-2025) หนังสือเวียนที่ร่วมออกโดยสำนักบริหารมรดกวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว และคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติของจีน ระบุว่าเส้นทางท่องเที่ยวเหล่านี้จะประกอบด้วยหัวข้อทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม รวมถึงผสมผสานองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นธรรมชาติ ภายใต้แรงหนุนจากวัตถุทางวัฒนธรรมที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ นอกจากนั้นเส้นทางท่องเที่ยวเหล่านี้จะเชื่อมต่อกับการก่อสร้างอุทยานวัฒนธรรมระดับชาติและยุทธศาสตร์ระดับชาติที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนมุ่งเน้นการกระตุ้นพลังและความดึงดูดใจของวัฒนธรรมจีนในระดับโลก จีนจะพยายามตรวจสอบและวิเคราะห์สถานะการคุ้มครองและการจัดการมรดกวัฒนธรรม จัดทำรายการทรัพยากรวัตถุทางวัฒนธรรมที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้สำหรับการใช้งานแบบเปิด และเพิ่มการบูรณาการมรดกวัฒนธรรมที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์เข้ากับเส้นทางท่องเที่ยวเหล่านี้ – สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230506/31e52d7dfdd64d358297602a39d6fc49/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/356319_20230507ขอบคุณภาพจาก Xinhua

นักกีฬาเอ็กซ์ตรีมจีน บินทะลุ “ถ้ำเทียนเหมิน” สำเร็จ

ฉางซา, 1 พ.ค. (ซินหัว) — จางซู่เผิง นักกีฬาเอ็กซ์ตรีม “วิงสูท ฟลายอิง” (wingsuit flying) ประสบความสำเร็จในการบินทะลุผ่านถ้ำเทียนเหมิน ซึ่งเเป็นถ้ำบนภูเขาธรรมชาติที่มีความสูงมากที่สุดในโลก เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (30 เม.ย.) จางในชุดวิงสูทโดยสารเฮลิคอปเตอร์ขึ้นสู่ระดับความสูงเกือบ 2,200 เมตร บริเวณข้างหลังถ้ำเทียนเหมิน ในนครจางเจียเจี้ย มณฑลหูหนานทางตอนกลางของจีน ก่อนจะกระโดดออกจากเฮลิคอปเตอร์ และบินทะลุผ่านถ้ำเทียนเหมินด้วยความเร็วสูงถึง 180 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ฝูงชนต่างพากันส่งเสียงเชียร์และปรบมือเสียงดังก้องหลังจากจางเอาชนะความท้าทายสำเร็จ โดยจางยังคงบินร่อนกลางอากาศหลังจากทะลุผ่านถ้ำเทียนเหมิน และลดระดับลงสู่พื้นดินที่จุดลงจอดตามกำหนด อนึ่ง ถ้ำเทียนเหมินถือเป็นถ้ำบนภูเขาธรรมชาติที่มีความสูงมากที่สุดในโลก เนื่องจากตั้งอยู่สูงเหนือระดับน้ำทะเลกว่า 1,300 เมตร ส่วนตัวถ้ำมีขนาดกว้าง 57 เมตร สูง 131.5 เมตร และลึก 60 เมตร จาง วัย 38 ปี เผยว่าเขามีความสุขมากที่ได้ทำความฝันให้เป็นจริง หลังจากเตรียมตัวเพื่อการนี้มาตลอด 12 ปี ตั้งแต่เริ่มเห็นกีฬาวิงสูท ฟลายอิง เข้ามาในจีน – […]

รู้จักสุดยอดช่างฝีมือผลิต “กระเป๋าม้า” ของทิเบต

าซา, 2 พ.ค. (ซินหัว) — สั่วหล่าง ฉุนเผย ช่างทำกระเป๋าม้า วัย 61 ปี ในอำเภอหล่าง เมืองหลินจือ เขตปกครองตนเองทิเบตของจีน สนใจการทำกระเป๋าม้ามาตั้งแต่วัยเด็ก และกลายเป็นผู้สืบทอดงานฝีมือชิ้นนี้ ซึ่งเป็นมรดกทางวัตนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของทิเบตตั้งแต่ปี 2018 สั่วหล่าง ฉุนเผยร่ำเรียนวิชาทำกระเป๋าม้าจากช่างฝีมือท้องถิ่นเมื่ออายุ 21 ปี และได้กลายเป็นผู้สืบทอดงานฝีมือชนิดนี้จนถึงปัจจบัน โดยทักษะการรังสรรค์กระเป๋าม้าที่ทำจากหนังวัว ซึ่งมีคุณสมบัติกันน้ำ เป็นหนึ่งในมรดกทางวัตนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของทิเบตตั้งแต่ปี 2018 กระบวนการทำกระเป๋าม้าอาศัยการทำงานหลายขั้นตอน จึงทำให้ใช้เวลานานและได้ผลผลิตไม่มากนัก ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาและการสืบทอดงานฝีมือประเภทดังกล่าว หน่วยงานรัฐบาลท้องถิ่นได้มอบเงินสนับสนุนการทำกระเป๋าม้าเมื่อปี 2015 เพื่อส่งเสริมการส่งต่อมรดกวัฒนธรรมนี้จากรุ่นสู่รุ่น ด้านสั่วหล่าง ฉุนเผยได้รับรางวัล “ช่างฝีมือแห่งทิเบต” (Tibetan Craftsman) ในปี 2022 – สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230501/6c97a6c46b4646608c23a62bcc8a1b92/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/355253_20230502ขอบคุณภาพจาก Xinhua

จีนผลิต ‘ลำไย’ ป้อนตลาด ส่งออกยุโรป-สหรัฐฯ

ตงฟาง, 2 พ.ค. (ซินหัว) — เกษตรกรในเมืองตงฟาง มณฑลไห่หนานของจีน เก็บเกี่ยวผลผลิตลำไย เพื่อป้อนตลาดภายในประเทศและส่งออกไปยังยุโรปและสหรัฐ เกษตรกรเก็บเกี่ยวและคัดแยกผลผลิตลำไยที่ฐานเพาะปลูกผักและผลไม้เสียงหลิน เมืองตงฟาง มณฑลไห่หนาน (ไหหลำ) ทางตอนใต้ของจีน ฐานเพาะปลูกฯ ซึ่งมีพื้นที่ใหญ่ราว 1,666 ไร่ ได้เข้าสู่ฤดูเก็บเกี่ยวลำไยเมื่อไม่นานนี้ โดยผลผลิตจะถูกป้อนตลาดภายในประเทศ รวมถึงถูกส่งออกสู่ยุโรปและสหรัฐฯ ด้วย – สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230501/c636341dbf4845b9b9b645c6c4fb6bd9/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/355229_20230502ขอบคุณภาพจาก Xinhua

พิพิธภัณฑ์ “สุสานหลวงโจโฉ” เปิดรับแขกชมวัตถุโบราณนับร้อย

อันหยาง, 27 เม.ย. (ซินหัว) — เมืองอันหยาง มณฑลเหอหนานทางตอนกลางของจีน ได้เปิดพิพิธภัณฑ์สุสานหลวงโจโฉต้อนรับสาธารณชนเยี่ยมชมโบราณวัตถุทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าราว 400 ชิ้นหรือชุด ซึ่งขุดพบจาก “เฉาเชาเกาหลิง” หรือสุสานหลวงโจโฉ พิพิธภัณฑ์แห่งใหม่นี้ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านซีเกาเซวีย เขตอวินตูของเมืองอันหยาง มีพื้นที่ประมาณ 18,000 ตารางเมตร สร้างขึ้นบนสุสานหลวงโจโฉ ประกอบด้วยพื้นที่จัดแสดงตัวสุสาน พื้นที่จัดแสดงซากโบราณ และพื้นที่พิพิธภัณฑ์ อนึ่ง พิพิธภัณฑ์สุสานหลวงโจโฉจะเปิดให้ประชาชนเข้าเยี่ยมชมอย่างเป็นทางการในวันเสาร์ (29 เม.ย.) นี้ – สำนักข่าวซินหัว 点击浏览中文新闻 (คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาจีน) http://www.news.cn/shuhua/20230428/4d955e08df14420db521a030866faf6b/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/354603_20230427ขอบคุณภาพจาก Xinhua

จีนขึ้นทะเบียน “หมู่บ้านดั้งเดิม” อยู่ใต้การคุ้มครองของรัฐกว่า 8,100 แห่ง

ปักกิ่ง, 27 เม.ย. (ซินหัว) — กระทรวงการเคหะและการพัฒนาเมือง-ชนบทของจีน เปิดเผยว่าจีนได้ขึ้นทะเบียนหมู่บ้านดั้งเดิมเข้ารายการคุ้มครองของรัฐ จำนวน 8,155 แห่ง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามอนุรักษ์อารยธรรมการเกษตรที่มีอายุนับพันปีของประเทศ ตงหงเหม่ย เจ้าหน้าที่กระทรวงฯ กล่าวว่าจีนได้สร้างเครือข่ายคุ้มครองมรดกทางการเกษตรขนาดใหญ่ที่สุดของโลกภายใต้โครงการริเริ่มนี้ โดยหมู่บ้านดั้งเดิมหรือหมู่บ้านโบราณมักมีประวัติศาสตร์ยาวนานและทรัพยากรทางวัฒนธรรมและธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ปัจจุบันจีนได้จัดให้สิ่งปลูกสร้างทางประวัติศาสตร์และที่อยู่อาศัยดั้งเดิมอยู่ภายใต้การคุ้มครอง จำนวน 539,000 แห่ง และขุดพบมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ในพื้นที่ระดับมณฑลหรือสูงกว่า จำนวน 4,789 รายการ กระทรวงฯ ระบุแผนการดำเนินมาตรการเพิ่มเติมเพื่อปกป้องหมู่บ้านดั้งเดิมในอนาคต ซึ่งรวมถึงการลงรายละเอียดพื้นที่คุ้มครอง เป้าหมายและแผนการปกป้องพิเศษ และการประสานงานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน สถานบริการสาธารณะ และแผนงานของกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีลักษณะเฉพาะ-สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230427/cc0dd4feac3b43e68708923f60035f1a/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/354552_20230427ขอบคุณภาพจาก Xinhua

จีนปล่อย “โลมาหัวบาตรหลังเรียบ” สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ ลงแยงซีครั้งแรก

อู่ฮั่น, 26 เม.ย. (ซินหัว) — เมื่อวันอังคาร (25 เม.ย.) คณะเจ้าหน้าที่ทำการปล่อยโลมาหัวบาตรหลังเรียบแยงซีภายใต้โครงการอนุรักษ์นอกถิ่นที่อยู่อาศัย จำนวน 4 ตัวลงสู่แม่น้ำแยงซี ส่วนมณฑลหูเป่ยทางตอนกลางของจีน ซึ่งถือเป็นการปล่อยสัตว์ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่งชนิดนี้ลงแม่น้ำสายยาวที่สุดของจีนเป็นครั้งแรก โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มจำนวนประชากร รายงานระบุว่าโลมาหัวบาตรหลังเรียบที่ปล่อยทั้งหมด เกิดในเขตอนุรักษ์ธรรมชาติแห่งชาติเทียนเอ๋อโจวของหูเป่ย ซึ่งเป็นพื้นที่อนุรักษ์นอกถิ่นที่อยู่อาศัยสำหรับโลมาหัวบาตรหลังเรียบที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศ – สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230426/f1ec4c37ef5a4103aca8903ef82ed8ad/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/354195_20230426ขอบคุณภาพจาก Xinhua

PowerChina เตรียมสร้างโรงไฟฟ้า “พลังงานลม” แห่งแรกในลาว

เวียงจันทน์, 26 เม.ย. (ซินหัว) — เมื่อวันอังคาร (25 เม.ย.) นครหลวงเวียงจันทน์ของลาว จัดพิธีวางศิลาฤกษ์โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมมอนสูน ขนาด 600 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นโครงการแรกในประเทศที่ทำสัญญากับบริษัท พาวเวอร์ คอนสตรักชัน คอร์เปอเรชัน ออฟ ไชน่า จำกัด หรือพาวเวอร์ไชน่า (PowerChina) พิธีดังกล่าวมีเจ้าหน้าที่ลาวและจีนเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก อาทิ สะเหลิมไซ กมมะสิด รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของลาว คำเจน วงโพสี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการวางแผนและการลงทุนของลาว และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอื่นๆ รวมถึงจ้าวเหวินอวี่ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจและพาณิชย์ของสถานเอกอัครราชทูตจีนประจำลาว และกลุ่มตัวแทนผู้พัฒนาและผู้รับเหมาโครงการฯ โพไซ ไซยะสอน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ของลาว กล่าวว่าโครงการโรงไฟฟ้าแห่งนี้จะปูทางสู่การพัฒนาพลังงานลม รวมถึงมอบแรงผลักดันใหม่แก่การพัฒนาเศรษฐกิจและภาคพลังงานของประเทศ พร้อมหวังว่าโครงการฯ จะก่อสร้างอย่างราบรื่นด้วยแรงสนับสนุนจากทางการลาวในทุกระดับ หยางเจี้ยน รองผู้จัดการทั่วไปของสำนักงานใหญ่พาวเวอร์ไชน่า สาขาภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่าบริษัทฯ จะใช้ข้อได้เปรียบด้านเทคโนโลยีและประสบการณ์อย่างเต็มที่เพื่อสร้างโครงการฯ เป็นเกณฑ์มาตรฐานของโครงการพลังงานใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดจนแบ่งปันความรู้และความแข็งแกร่งแก่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในลาว รวมถึงสร้างความสำเร็จครั้งใหม่แก่แผนริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (BRI) อนึ่ง โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมมอนสูนพัฒนาโดยบริษัท มอนสูน วินด์ พาวเวอร์ […]

กำลังผลิตติดตั้ง “โซลาร์เซลล์” ทั่วโลกพุ่งขึ้น 25% ในปี 2022

ฮิวสตัน, 24 เม.ย. (ซินหัว) — สถาบันเศรษฐศาสตร์พลังงานและการวิเคราะห์ทางการเงิน (IEEFA) รายงานกำลังการผลิตสะสมของเซลล์แสงอาทิตย์ (PV) แบบติดตั้งและแบบใช้งานแล้วทั่วโลกในปี 2022 เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 25 เนื่องด้วยการปรับขึ้นราคาในยุคหลังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) และการต่อสู้ทางภูมิรัฐศาสตร์ รายงานภาพรวมตลาดเซลล์แสงอาทิตย์ระดับโลก ปี 2023 ซึ่งออกโดยองค์การพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ระบุว่ากำลังการผลิตสะสมของเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตั้งและแบบใช้งานแล้วทั่วโลกอยู่ที่ราว 1.2 เทระวัตต์ (TW) เมื่อนับถึงสิ้นปี 2022 และจีนยังคงเป็นประเทศที่มีกำลังการผลิตติดตั้งมากที่สุด สถาบันฯ อ้างอิงข้อมูลจากพีวีเทค (PV Tech) แหล่งข่าวเทคโนโลยี รายงานว่าปี 2022 มีการติดตั้งและใช้งานเซลล์แสงอาทิตย์ทั่วโลก 240 กิกะวัตต์ ซึ่งส่งผลให้กำลังการผลิตสะสมสูงแตะ 1,185 กิกะวัตต์ และจีนยังคงครองตำแหน่งมีกำลังการผลิตสะสมและกำลังการผลิตใหม่สูงสุด โดยมีการเพิ่มกำลังการผลิต 106 กิกะวัตต์ หรือร้อยละ 44 ของกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกด้านสหภาพยุโรป (EU) มีกำลังการผลิตติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ใหม่ 38.7 กิกะวัตต์ในปี 2022 ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 27 […]

ชาวปักกิ่งหันมา “เดิน-ขี่จักรยาน” สูงสุดในรอบทศวรรษ

ปักกิ่ง, 24 เม.ย. (ซินหัว) — คณะกรรมาธิการการคมนาคมเทศบาลกรุงปักกิ่งของจีน พบว่าผู้อยู่อาศัยในเขตศูนย์กลาง 6 แห่งของปักกิ่งหันมาใช้การขนส่งที่ช้าลงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คณะกรรมาธิการฯ ระบุว่าผู้อยู่อาศัยเดินหรือขี่จักรยานถึงร้อยละ 49 ในปี 2022 ซึ่งถือเป็นอัตราส่วนสูงสุดในรอบทศวรรษ โดยการเดินครองสัดส่วนการเดินทางร้อยละ 31.7 ขณะการขี่จักรยานครองสัดส่วนร้อยละ 17.3 อนึ่ง หน่วยงานในปักกิ่งดำเนินสารพัดมาตรการเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนหันมาใช้การขนส่งที่ช้าลง ซึ่งมีส่วนช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จางหยาน เจ้าหน้าที่คณะกรรมาธิการฯ ในเขตไห่เตี้ยนของปักกิ่ง กล่าวว่าไห่เตี้ยนขยายเลนจักรยานยาว 319 กิโลเมตร และปรับปรุงทางเท้า 6 สาย ในปี 2022 – สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230424/550376d388734e59ad546ed964389c0b/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/353734_20230424ขอบคุณภาพจาก Xinhua

จีนเผยชุดภาพสี “ดาวอังคาร” ทั้งดวงครั้งแรก

เหอเฝย, 25 เม.ย. (ซินหัว) — เมื่อวันจันทร์ (24 เม.ย.) องค์การบริหารอวกาศแห่งชาติจีน และสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน ร่วมกันเผยแพร่ชุดภาพดาวอังคารทั้งดวงที่ได้จากภารกิจสำรวจดาวอังคารครั้งแรกของจีน ชุดภาพสีของดาวอังคารข้างต้นถูกเผยแพร่ ณ พิธีเปิดวันอวกาศจีน (Space Day of China) ในนครเหอเฝย เมืองเอกของมณฑลอันฮุยทางตะวันออกของจีน ภาพเหล่านี้ประกอบด้วยการฉายภาพซีกตะวันออกและตะวันตกของดาวอังคาร เส้นโครงแผนที่แบบโรบินสันของดาวอังคาร รวมถึงเส้นโครงแผนที่แบบเมอร์เคเตอร์และเส้นโครงแผนที่คงทิศทางของดาวอังคาร ซึ่งถูกประมวลผลตามมาตรฐานการจัดทำแผนที่ความละเอียดเชิงพื้นที่ 76 เมตร องค์การฯ ระบุว่าภาพเหล่านี้อ้างอิงจากข้อมูลภาพ 14,757 ภาพ ซึ่งได้มาจากกล้องบันทึกภาพการสำรวจระยะไกลบนยานโคจรเทียนเวิ่น-1 ระยะ 8 เดือน นับจากเดือนพฤศจิกายน 2021 จนถึงกรกฎาคม 2022 อนึ่ง ภารกิจเทียนเวิ่น-1 ประกอบด้วยยานโคจร ยานลงจอด และยานสำรวจพื้นผิว ถูกส่งขึ้นสู่ห้วงอวกาศวันที่ 23 ก.ค. 2020 และเข้าสู่วงโคจรของดาวอังคารหลังจากเดินทางนาน 202 วัน ยานลงจอดที่บรรทุกยานสำรวจพื้นผิวจู้หรงได้ลงจอดบนดาวอังคาร วันที่ 15 พ.ค. 2021 […]

1 9 10 11 12 13 31
...