ไอคอนสยาม 2 ธ.ค. – “จุรินทร์” เผย RCEPT สร้างบรรยากาศการค้าโลก จับตาสหรัฐหนุนนโยบาย “อินโดแปซิฟิก” เผยตลาดส่งออกปีหน้าฟื้นตัว เตรียมเจรจา Mini FTA กับหลายมณฑล เมืองหลักสำคัญของอินเดีย เกาหลีใต้
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวในงานสัมมนา “โควิดกับอนาคตเศรษฐกิจไทย 2021” การรวมกลุ่มของ RCEPT ได้ลงนามไปแล้ว 15 พฤศจิกายนที่ผ่านมา อย่างน้อย 9 ประเทศให้สัตยาบันจะเริ่มบังคับใช้กลางปีหน้า ทำให้ 1 ใน 3 ของเศรษฐกิจโลกเดินหน้าต่อไป เพื่อส่งเสริมเอสเอ็มอีและการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ เพราะยังไม่มีเคยอยู่ในข้อตกลง FTA ของสมาชิกประเทศใดมาก่อน
นอกจากนี้ ต้องติดตามนายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐ ในการดำเนินโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เช่น นโยบายอินโดแปซิฟิก เพราะสหรัฐไม่ได้เป็นสมาชิก RCEPT เมื่อสหรัฐให้ความสำคัญกับเรื่องแรงงาน สิทธิมนุษยชน ไทยน่าจะรองรับนโยบายดังกล่าวได้ และเมื่อสหรัฐหันใช้องค์การการค้าโลก ( WTO) มากขึ้น ระบบเศรษฐกิจจึงมีเสถียรภาพมากขึ้น จากเดิมมุ่งเน้นนโยบายสองประเทศ เพื่อเจรจากับคู่แทน แทนการเจรจาแบบพหุภาคี และการเจรจา GSP สิทธิพิเศษทางภาษี แม้ไทยถูกตัดไปแล้ว 2 รอบ ในการนำเข้าหมูเนื้อแดงจากสหรัฐ จึงเป็น 3-4 ปัจจัยที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด ที่อาจกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ไทยเตรียมเจรจา Mini FTA กับหลายมณฑล เช่น มณฑไหหลำ เพราะเป็นเขตเศรษฐกิจใหญ่แทนฮ่องกง มณฑลเตลังกานาของอินเดีย เตรียมลงนาม 18 มกราคม 2564 และไทย-ฮะยองกี เกาหลีใต้ เตรียมสรุปข้อตกลงร่วมกัน
ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยยังต้องพึ่งพาการลงทุนภาครัฐ การลงทุนภาคเอกชน การบริโภคเอกชน การนำรายได้เข้าประเทศ ยอมรับการท่องเที่ยวยังมีปัญหา คาดการทั้งปีหดตัวร้อยละ 7 ส่วนปี 2564 มีสัญญาณบวกหดตัวร้อยละ 4 ยอมรับตลาดสหรัฐช่วง 10 เดือนแรกของปีลบร้อยละ 7.2 ยุโรปหดตัวร้อยละ 14.3 ตลาดเอเชีย จีนขยายตัวร้อยละ 2.7 อินเดียจากเดิมติดลบ ขยายตัวในเดือนตุลาคมร้อยละ 13 นับว่าตลาดส่งออกหลักเริ่มฟื้นตัว ย่อมเป็นปัจจัยสำคัญในการทำรายได้เข้าประเทศ ส่วนการค้าชายแดนเพื่อนบ้านเริ่มฟื้นตัว เมื่อเจอโควิดรอบ 2 กระทบหนัก เช่น ตลาดเมียนมาติดลบร้อยละ 40 สปป.ลาว ติดลบร้อยละ 21 กัมพูชา ติดลบร้อยละ 17 เตรียมจับมือกับกระทรวงอุตสาหกรรม การท่าเรือฯ แก้ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ตลาดตลาด เพราะไทยส่งออกเกินดุลในช่วงที่ผ่านมา
สำหรับการดูแลเกษตรกรผ่านนโยบายประกันรายได้ เช่น การได้รับส่วนต่าง 2,000 บาท และรับเงินจากขายข้าวในตลาด 10,000 บาท ชาวนาจะได้รับเงิน 12,000 บาทต่อตัน เหมือนเดิมตามการประกันรายได้ โรงสีมีต้นทุนไม่สูงมากนักในการทำตลาดส่งออก ขณะที่ชาวนามีรายได้ตามราคาประกัน นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังเตรียมจัดเทศบาลกว่า 100 งานแสดงสินค้า ด้วยการนำสินค้าไทยไปแสดงในงานต่าง ๆ ทั่วโลกด้วยระบบออนไลน์ เพื่อให้เกิดการซื้อขายโดยไม่ต้องเดินทางไป เพื่อตกลงค้าขายผ่านออนไลน์ . – สำนักข่าวไทย