ยอดส่งออกไทย 6 เดือนสอบผ่านภายใต้ขัดแย้งการเมืองต่างประเทศสูง

กรุงเทพฯ 6 ส.ค.- สรท.เผยยอดส่งออกไทยช่วง 6 เดือนแรกปี 67 ถือว่าสอบผ่านภายใต้ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศมาอย่างต่อเนื่องและอาจรุนแรงขึ้นได้ และเจอมรสุมเศรษฐกิจจีนและสหรัฐทรงตัวระดับต่ำการผลิตของโลกเบาบางส่งผลให้เศรษฐกิจไทยกระทบตาม แต่กังวลครึ่งหลังปีหลายปัจจัยกระทบมากพอควร โดยมั่นใจยอดส่งออกทัังปีเป็นบวกร้อยละ 1-2 หรือมีมูลค่าเกิน 10 ล้านล้านบาท เรียกร้องรัฐรื้อกฎหมายเก็บภาษีธุรกิจออนไลน์ใหม่ หลังแพลตฟอร์ม“Temu”จีนบุกไทย


ดร.ชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.)กล่าวถึงภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยเดือนมิถุนายน 2567 กับเดือนเดียวกันของปีก่อน พบว่า การส่งออกมีมูลค่า 24,796.6 หดตัวร้อยละ 0.3 และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 892,796 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5 (เมื่อหักทองคำ น้ำมัน และอาวุธยุทธปัจจัย พบว่าการส่งออกในเดือนมิถุนายนหดตัวร้อยละ 1.6) ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 24,5785 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 0.3 และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 895,256 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5.6 ส่งผลให้ดุลการค้าของประเทศไทยในเดือนมิถุนายน 2567 เกินดุลเท่ากับ 218 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และขาดดุลในรูปของเงินบาท -2,489 ล้านบาท

ทั้งนี้ ส่งผลให้ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของไทยในเดือนมกราคม – มิถุนายน ของปี 2567 เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน พบว่า ไทยส่งออกรวมมูลค่า 145,290 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 2 และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 5,191,014 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 7.4 (เมื่อหักทองคำ น้ำมัน และอาวุธยุทธปัจจัย พบว่าการส่งออกในช่วงมกราคม – มิถุนายน ขยายตัวร้อยละ
3.1) ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 150,532.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 3 และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 5,437,480 ล้านบาทขยายตัวร้อยละ 8.3 ส่งผลให้ดุลการค้าของประเทศไทยในเดือนมกราคม – มิถุนายน 2567 ขาดดุลเท่ากับ 5.242.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือคิดเป็นการขาดดุลในรูปเงินบาท 246,466 ล้านบาท


อย่างไรก็ตาม สรท. คงคาดการณ์การส่งออกปี 2567 เติบโตที่ร้อยละ 1-2 หรือมีมูลค่า 280,000-290,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเมื่อเทียบเป็นเงินบาทมากกว่า 10 ล้านล้านบาท (ณ เดือนสิงหาคม 2567) โดยมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังในครึ่งปีหลังที่สำคัญ ได้แก่ 1.ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ยึดเยื้อ และสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน ที่จะมีผลต่อการค้าและเศรษฐกิจโลกในภาพรวม โดยเฉพาะผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในเดือนพฤศจิกายนนี้ ซึ่งผู้สมัครทั้งสองฝ่ายมีนโยบายหาเสียงที่แตกต่างกันและอาจส่งผลต่อมาตรการทางการค้าและมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม 2.ปัญหาสหภาพแรงงานสหรัฐฯ ทั่วประเทศที่ยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลง อาจทำให้เกิดความขัดแย้งการหยุดการผลิตและกระทบต่อการนำเข้าสินค้าในภาคการผลิตกับประเทศอื่นๆ รวมถึงไทย 3.ต้นทุนค่าระวางเรือ ค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่ม (Surcharge) ยังคงทรงตัวในระดับสูง แต่เริ่มมีสัญญาณการปรับลดลงในหลายเส้นทาง จากการที่การส่งออกสินค้าของจีนไปยังสหรัฐฯ เริ่มเติบโตในอัตราเร่งลดลง จากมาตรการกำแพงภาษีที่มีผลใน 1 สิงหาคม ที่ผ่านมา ทว่าปัจจัยเฝ้าระวังจากสถานการณ์ในพื้นที่ทะเลแดงยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญและมีอิทธิพลต่อเส้นทางขนส่งสินค้าเข้าไปตะวันออกกลางและยุโรป 4.ปัญหาสินค้าล้นตลาดจากประเทศจีนที่ระบายออกสู่ตลาดโลก ส่งผลให้สินค้าต้นทุนต่ำเข้ามาทุ่มตลาดในประเทศไทยอีกนัยหนึ่งรวมถึงเข้าไปแย่งส่วนแบ่งการตลาดของสินค้าไทยในตลาดต่างประเทศ และ 5.การเข้าถึงสินเชื่อของภาคการผลิตมีปัญหาต่อเนื่องทำให้ขาดสภาพคล่องในการดำเนินการ

ทั้งนี้ สรท.มีข้อเสนอแนะที่สำคัญ ประกอบด้วย 1.เร่งปรับโครงการสร้างการส่งออกของไทยเพื่อรองรับการแข่งขันและการเติบโตอย่างมั่นคงในระยะยาว โดยมุ่งเน้นให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็น Trading Nation 2.เร่งส่งเสริม กิจกรรมส่งเสริมการขายในต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะตลาดใหม่ๆ เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์และสร้างโอกาสให้สินค้าไทยในสายตา คู่ค้าและผู้บริโภคในต่างประเทศ 3.ผู้ส่งออกต้องวางแผนการขนส่งด้วยการจองระวางเรือล่วงหน้า รวมถึงการเจรจากับคู่ค้าเพื่อปรับ อัตราค่าขนส่งให้สอดคล้องกับค่าระวางในตลาดที่เพิ่มสูงขึ้นในทุกเส้นทาง รวมถึงต้องบริหารจัดการสต็อกสินค้าให้เหมาะสม 4.รัฐต้องกำกับดูแลสินค้าการเข้ามาลงทุนของนักลงทุนต่างชาติที่ต้องเอื้อประโยชน์ให้กับซัพพลายเขนในประเทศ รวมถึงกำกับดูแลสินค้า ต้นทุนต่ำที่ทะลักเข้ามาในประเทศก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้ผลิตในประเทศโดยเฉพาะ SMEs และปัญหาการจ้างงานลดลง และ 5.สนับสนุน ส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ให้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุน ให้เพียงพอต่อการหมุนเวียนกระแสเงินสดและการผลิตเพื่อการส่งออก

นอกจากนี้ สรท.มีจุดยืนที่ชัดเจนเกี่ยวกับโครงการแลนด์บริดจ์ เมกะโปรเจกต์รัฐบาลไทย ยังไม่เหมาะสมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศมากนัก แม้จะมีเม็ดเงินลงทุนมหาศาลและอำนวยความสะดวกด้านคมนาคมก็ตาม ดังนั้น สรท.ไม่ได้ขัดขวางโครงการนี้ แต่มองว่าไม่คุ้มค่าลงทุน หากจะเปลี่ยนเป็นการลงไปพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้แบบครบวงจรแทนการทำโครงการแลนด์บริดจ์จะเหมาะสมกว่า


พร้อมกันนี้ สิ่งที่น่ากังวลใจเกี่ยวกับแพลตฟอร์ม“Temu”จีนที่เข้ามาแข่งขันตลาดออนไลน์ในไทยแล้วนั้น หากภาครัฐไม่เร่งแนวทางป้องกันอาจทำให้สินค้าและอุตสาหกรรมที่ผลิตโดยเอสเอ็มอีไทยจะต้องแข่งขันลำบาก โดยจะเห็นได้ชัดใน 3 กลุ่มสินค้าไทย คือ ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและสิ่งทอไทยเป็นต้น

อย่างไรก็ตาม จึงอยากให้ภาครัฐเข้ามาดูโดยต้องให้มีการแข่งขันที่เท่าเทียบกัน โดยเฉพาะการจัดเก็บภาษีสินค้าที่นำเข้ามาขายในประเทศต้องไม่แตกต่างกับภาษีที่จัดเก็บในประเทศ พร้อมต้องมีการแก้ไขกฎหมายด้านการสนับสนุนพื้นที่ฟรีเทรดโซนใหม่ เพราะเดิมพื้นที่เหล่านี้จะยกเว้นไม่เก็บภาษีแต่ปัจจุบันการค้าออนไลน์เกิดขึ้นมามาก จึงอยากให้ภาครัฐแก้ไขกฎหมายและระเบียบในส่วนของฟรีเทรดโซนใหม่เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมของการแข่งขันในธุรกิจออนไลน์อีกด้วย.-514-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สะพานยกระดับกำลังก่อสร้าง ถล่มทับด่วนระดับที่ 1 ตายแล้ว 5

สะพานยกระดับโครงการทางพิเศษพระราม 3-ดาวคะนอง ที่กำลังก่อสร้าง พังถล่มทับด่วนระดับที่ 1 เบื้องต้นเสียชีวิตแล้ว 5 ราย บาดเจ็บ 27 คน เร่งคนหาผู้สูญหาย พร้อมปิดทางขึ้น-ลง ทางพิเศษเฉลิมมหานครชั่วคราว

รัฐบาลเตรียมแผนถวายความสะดวกในหลวง-ราชินี เตรียมเสด็จฯ เยือนต่างประเทศ

รัฐบาลเตรียมแผนถวายความสะดวกในหลวง-ราชินี เตรียมเสด็จฯ เยือนต่างประเทศอย่างเป็นทางการ

อากาศเย็นหลงฤดู

กรมอุตุฯ เตือนอากาศเย็นหลงฤดู 16-20 มี.ค.นี้

กรมอุตุฯ เตือนอากาศเย็นหลงฤดู 16-20 มี.ค.นี้ อีสานลดฮวบ 5-8 องศาฯ ภาคอื่นๆ ลดลง 2-4 องศาฯ ส่งผลให้มีพายุฝนฟ้าคะนอง ลูกเห็บตก และอาจมีฟ้าผ่าบางพื้นที่

ข่าวแนะนำ

“ปชน.” โหมโรงศึกซักฟอก ปล่อยโปสเตอร์ “ดีลแลกประเทศ”

พรรคประชาชนโหมโรง ศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจ​ ดีลแลกประเทศ หลัง ​”ณัฐพงษ์” ยื่นแก้ญัตติถอนชื่อ ” ทักษิณ” เปลี่ยนเป็น “บุคคลในครอบครัว” แทน

Vatican releases first photo of Pope Francis in hospital

เผยภาพแรกของโป๊ปฟรังซิสที่โรงพยาบาล

สำนักวาติกัน เผยแพร่พระรูปแรกของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส พระประมุขแห่งพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก หลังจากทรงเข้ารับการถวายการรักษาในโรงพยาบาลตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นมา

สั่งเอาผิดคานถล่ม

นายกฯ สั่งเอาผิดแพ่ง-อาญา คานก่อสร้างถล่ม

นายกฯ ถกมาตรการความปลอดภัย หลังคานก่อสร้างสะพานยกระดับถล่ม สั่งเอาผิดทางแพ่งผู้รับเหมา-เอาผิดอาญา พิจารณายึดใบอนุญาตที่ปรึกษาโครงการฯ ย้ำทุกส่วนต้องรับผิดชอบ ทุกชีวิตสำคัญ พร้อมสั่ง “ดีเอสไอ” ตรวจสอบสาเหตุ ด้าน “สุริยะ” รับเป็นปัญหาซ้ำซาก ยันไม่เคยปัดความรับผิดชอบ