โรงงานน้ําตาลยันไม่ลดกำลังผลิต ผู้บริโภคไม่ต้องกักตุน

กรุงเทพฯ 15 พ.ย.-โรงงานน้ําตาลยืนยันผลิตน้ำตาลทรายตามปกติ ไม่มีการลดกําลังการผลิตหรือหยุดผลิต และยังจําหน่ายน้ําตาล ผ่านช่องทางต่าง ๆ ในสัดส่วนของแต่ละโรงงานตามปกติ อีกทั้งโรงงานยังมีน้ําตาลในสต๊อคสํารองไว้อีก 1 เดือน และในต้นเดือนธันวาคมนี้จะเข้าสู่การเปิดหีบอ้อยก็จะทําให้มีน้ําตาลเข้ามาในระบบตามปกติ แต่อย่างไรก็ตาม จําเป็นต้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาบริหารจัดอย่างเป็นระบบ และขอให้ผู้บริโภคสามารถมั่นใจได้ว่าน้ําตาล ในประเทศมีเพียงพออย่างแน่นอน (ไม่ต้องตื่นตระหนก ไม่จําเป็นต้องกักตุน)


การปรับขึ้นราคาน้ําตาล 2 บาทต่อกิโลกรัม จึงเป็นการปรับขึ้นตามโครงสร้างต้นทุนการผลิตที่เพิ่ม สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องของเกษตรกรซึ่งอยู่ที่ 12,000-13,000 บาท/ไร่ นอกจากจะเป็นการช่วยเหลือเกษตรกร ด้านต้นทุนการผลิตแล้วรายได้จากการขายน้ําตาลทุกตันจะถูกนํามาคํานวณเป็นราคารับซื้ออ้อยให้เกษตรกร ในแต่ละปี (70:30) ซึ่งจะเป็นปัจจัยด้านโครงสร้างที่สําคัญต่ออุตสาหกรรมอ้อยและน้ําตาลทรายไทย ซึ่งจะ ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอาชีพเกษตรกรชาวไร่อ้อยให้สามารถแข่งขันกับพืชเศรษกิจอื่นใน ระยะยาวได้

การขึ้นราคาน้ําตาล 2 บาท ส่งผลทําให้มีราคาจําหน่าย ณ หน้าโรงงานอยู่ที่ 21-22 บาท และราคา ปลีกอยู่ที่ 26-27 บาท ซึ่งยังต่ํากว่าราคาส่งออกและต่ํากว่าราคาจําหน่ายในประเทศเพื่อนบ้านอยู่มาก


อุตสาหกรรมอ้อยและน้ําตาลทราย สร้างรายได้ให้กับประเทศไทยปีละประมาณ 200,000 ล้านบาท สร้างงานสร้างอาชีพให้กับเกษตรกรและประชาชนที่เกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อมกว่า 2 ล้านคน โดยประเทศไทยเคยมีผลผลิตอ้อยมากที่สุดถึงกว่า 120 ล้านตัน ในปีพ.ศ. 2563

ย้อนกลับไปในอดีต ราคาน้ําตาลในประเทศไทย ณ หน้าโรงงานไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม กําหนดอยู่ที่ 15 บาทต่อกิโลกรัมมาเป็นระยะเวลานาน จนกระทั่งในปีพ.ศ.2551 ได้มีการประกาศขึ้นราคาเป็น 20 บาทต่อกิโลกรัม ต่อมาเมื่อประเทศไทยยกเลิกระบบโควต้าในปีพ.ศ.2561 และปล่อยให้ราคาน้ําตาลทรายเป็นไปตามกลไกตลาดโลก ราคาน้ําตาลในประเทศไทยได้ลดลงไปเหลือเพียง 15-16 บาทกิโลกรัม ในปีพ.ศ.2563 ประเทศไทยมี การกําหนดราคาจําหน่ายน้ําตาลโดยอ้างอิงตามต้นทุนการผลิตอ้อยและน้ําตาลทราย (Cost Plus) ราคาน้ําตาลจึง ประกาศอยู่ที่ 18.25 บาทต่อกิโลกรัม และปีพ.ศ.2566 ราคาน้ําตาลได้ปรับเป็น 20 บาทต่อกิโลกรัม 

จะเห็นได้ว่า ตลอดระยะเวลากว่า 15 ปี ราคาน้ําตาลในประเทศ ณ หน้าโรงงาน ไม่เคยได้ปรับขึ้นมากกว่า 20 บาทต่อกิโลกรัม แต่ยังต้องลดลงในบางช่วงเวลาเมื่อเทียบกับต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นกว่า 3 เท่า เช่น ปัจจัยการ ผลิต (ค่าปุ๋ย สารกําจัดวัชพืช) ค่าแรงงาน ค่าน้ํามัน รวมถึงต้นทุนการทําเกษตรที่ควบคู่กับการดูแล สิ่งแวดล้อม (ตัดอ้อยสด) ซึ่งเป็นแนวทางการดําเนินงานท่ีท่ัวโลกและหน่วยงานหลายภาคส่วนให้ความสําคัญ และกําหนดเป็นนโยบาย


อย่างไรก็ตาม เนื่องด้วยสถานการณ์ภัยแล้งที่ส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรโดยตรง รวมถึงอุตสาหกรรมอ้อย และน้ําตาลมีผลผลิตลดลงอย่างเห็นได้ชัด ในปีการผลิต 2565/2566 ประเทศไทยมีผลผลิตอ้อยประมาณ 93 ล้านตัน และคาดการณ์ปีการผลิต 2566/2567 จะมีอ้อยเข้าหีบไม่ถึง 75 ล้านตัน ยิ่งทําให้ต้นทุนการปลูกอ้อย ต่อไร่เพ่ิมสูงขึ้นเกษตรกรชาวไร่อ้อยต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายมาเป็นเวลานานและได้รับผลกระทบเป็นอย่าง มาก ซึ่งจะส่งผลให้พืชอ้อยไม่สามารถแข่งขันกับพืชเศรษฐกิจอื่นได้ ในขณะเดียวกัน สถานการณ์ภัยแล้งดังกล่าว ส่งผลให้ปริมาณน้ําตาลในตลาดโลกลดลง จึงทําให้ราคาส่งออกน้ําตาลทรายขาวและน้ําตาลทรายขาวบริสุทธิ์ เพิ่มสูงขึ้นเป็น 27 บาท และ 28 บาทต่อกิโลกรัมตามลําดับ ซึ่งสูงกว่าราคาจําหน่าย ณ หน้าโรงงาน ทั้งน้ําตาล ทรายขาวและน้ําตาลทรายขาวบริสุทธิ์ซึ่งอยู่ที่ 21 บาท และ 22 บาทต่อกิโลกรัม ตามมติ ครม. วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สาวซิ่งรถหรูชน 3 แม่ลูกเสียชีวิต เข้ามอบตัว

สาวขับรถหรู ชน 3 แม่ลูกเสียชีวิตที่ชุมพร เข้ามอบตัวกับตำรวจแล้ว อ้างยืมรถเพื่อนมาขับ ศาลให้ประกันตัววงเงิน 1 แสนบาท

สงขลาประกาศเขตภัยพิบัติแล้วทุกอำเภอ เร่งช่วยน้ำท่วมวิกฤติ

ผู้ว่าฯ สงขลา ลงนามประกาศให้ทั้ง 16 อำเภอ เป็นเขตพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินอุทกภัยและวาตภัย เพื่อเร่งรัดให้ความช่วยเหลือประชาชน บรรเทาความเดือดร้อน โดย อ.จะนะ เทพา นาทวี และสะบ้าย้อย ยังมีระดับน้ำท่วมเพิ่มสูงขึ้น

ข่าวแนะนำ

นายกฯ สั่งระดมช่วยน้ำท่วมใต้-เร่งเยียวยา

นายกฯ สั่งระดมช่วยเหลือน้ำท่วมใต้-เร่งมาตรการเยียวยา เผย ครม.เห็นชอบ 39 โครงการฟื้นฟูพื้นที่อุทกภัย เชียงใหม่-เชียงราย 641 ล้านบาท

เตรียมรื้อถอนคานถล่ม ถ.พระราม 2-กู้ร่างผู้สูญหาย

ช่วงบ่ายนี้ (29 พ.ย.) จนท.กรมทางหลวง สภาวิศวกรรมสถาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เตรียมนำรถเครนรื้อถอนเหล็กถักที่ถล่มบน ถ.พระราม 2 โดย ปภ.สมุทรสาคร ไม่มั่นใจว่าการดำเนินการจะจบภายในวันเสาร์-อาทิตย์นี้หรือไม่

คานถล่มพระราม2

ตร.ทางหลวง แนะเลี่ยงถนนพระราม 2 หลังการจราจรเข้าขั้นวิกฤต

ตำรวจทางหลวง เผยการจราจรถนนพระราม 2 เข้าขั้นวิกฤต แนะเส้นทางเลี่ยงทั้งขาเข้าและขาออกกรุงเทพมหานคร ยังไม่ชัดเปิดการจราจรได้ตามปกติเมื่อใด

คานถล่มพระราม2

“สุริยะ” สั่งผู้รับเหมาหยุดก่อสร้าง ถ.พระราม 2 ตัดสิทธิรับงาน 2 ปี

“สุริยะ” รมว.คมนาคม เผยเย็นวันนี้เตรียมกลับไปตรวจสอบสาเหตุคานเหล็กก่อสร้างบนถนนพระราม 2 ถล่ม สั่งการผู้รับเหมาหยุดก่อสร้าง รวมทั้งตัดสิทธิรับงาน 2 ปี และขอให้เพิ่มความเข้มงวดมาตรการลดชั้นผู้รับเหมา เพื่อลดจำนวนอุบัติเหตุ