มท.สั่งด่วนตรวจเข้มชายแดนเมียนมา หลังระบาดระลอก 2 ในรัฐยะไข่

มหาดไทย 28 ส.ค.-  นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสั่งการ และประสานกับผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร  เปิดเผย ว่าได้เน้นย้ำและสั่งการผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนด้านเมียนมา จำนวน 10 จังหวัด ได้แก่  กาญจนบุรี  ชุมพร  เชียงราย  เชียงใหม่  ตาก ประจวบคีรีขันธ์  เพชรบุรี  แม่ฮ่องสอน  ระนอง และราชบุรี ให้กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ดำเนินการเพิ่มเติม หลังเมียนมาได้ล็อกดาวน์เมืองซิตตเว รัฐยะไข่  อย่างไม่มีกำหนดตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา เนื่องจากพบการระบาดของเชื้อโควิด-19 ระลอก 2 นายฉัตรชัย กล่าวว่า ได้เน้นย้ำให้ดำเนินการตามตามมาตรการ และแนวทางปฏิบัติของการป้องกันโรค ตามคำสั่งของ ศบค.อย่างเคร่งครัด สำหรับผู้ที่เดินทางเข้ามาในประเทศ ผ่านช่องทางการเข้าออก ด่าน จุดผ่านแดน หรือจุดผ่อนปรนในพื้นที่รับผิดชอบ และเพิ่มความเข้มงวด เฝ้าระวัง ป้องกันการเดินทางเข้าพื้นที่ ของบุคคลจากประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ให้มีการลักลอบเดินทางเข้ามาอย่างผิดกฎหมาย ผ่านช่องทางธรรมชาติบริเวณชายแดน  หากพบกรณีดังกล่าว […]

นิกเกอิพลิกมาปิดร่วงหลังสื่อลือนายกฯ จะแถลงลาออก

ดัชนีนิกเกอิของญี่ปุ่นปิดตลาดลดลงร้อยละ 1.41 ในวันนี้ ทั้งที่เคลื่อนไหวแดนบวกในช่วงเช้า หลังจากสื่อญี่ปุ่นรายงานว่า นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะเตรียมจะแถลงลาออกเพราะปัญหาเรื่องสุขภาพ

”พล.ต.อ.วัชรพล” ลั่นตรวจสอบทรัพย์สิน “ปารีณา” ชัดเจนเร็วๆนี้

ป.ป.ช. 28 ส.ค.-  พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ  ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวถึง ความคืบหน้าการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สิน ของ น.ส.ปารีณา ไกรคุปต์  ส.ส.ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ  ว่าเรื่องนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ ซึ่งผ่านขั้นตอนสำคัญมาพอสมควรแล้ว  เชื่อว่าน่าจะมีความชัดเจนได้ในไม่ช้า และหากเข้าที่ประชุมคณะกรรมการเมื่อไร  มีผลอย่างไรก็จะแถลงข่าวให้ทราบ   ซึ่งเป็นไปตามขั้นตอนกฎหมายที่ให้คณะกรรมการเผยแพร่แก่ประชาชนได้ “กระบวนการการพิจารณาคดี ขึ้นอยู่กับรายละเอียดของเนื้อหา และความรอบคอบความครบถ้วน   เรื่องนี้อาจจะเกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ของรัฐหลายหน่วย   เจ้าหน้าที่จึงต้องรวบรวมหลักฐานให้ชัดเจน และเป็นเรื่องสำคัญที่ประชาชนให้ความสนใจ ดังนั้น การดำเนินการของคณะกรรมการ จึงต้องรอบคอบและครบถ้วน ซึ่งเท่าที่ดูคิด ว่าดำเนินการได้อย่างรวดเร็วทีเดียว ในไม่ช้านี้ความชัดเจนจะเกิดขึ้น”    พล.ต.อ.วัชรพล กล่าว  .- สำนักข่าวไทย 

เอ็ตด้าเผยอีคอมเมิร์ซไทยปี 62 มูลค่าแตะ 4.02 ล้านล้านบาท

กรุงเทพฯ 28 ส.ค. เอ็ตด้าเผยมูลค่าอีคอมเมิร์ซไทย ปี 62 โตพุ่ง 4.02 ล้านล้านบาท นายชาติชาย สุทธาเวศ รองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (เอ็ตด้า) กล่าวถึงผลสำรวจฯ โครงการการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย (Value of e-Commerce Survey in Thailand) ว่า ผลการสำรวจ พบว่า ภาพรวมมูลค่าอีคอมเมอร์ซแบบ B2C ในกลุ่มประเทศอาเซียน ปี 2561 ไทยครองแชมป์มูลค่า B2C สูงสุด 5 ปีซ้อน มูลค่ารวมกว่า46.51 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มจากปี 2560 ถึง ร้อยละ99.61 รองลงมา คือ มาเลเซีย 21.53 พันล้านเหรียญฯ  อินโดนีเซีย 9.50 พันล้านเหรียญฯ เวียดนาม 7.65 พันล้านเหรียญฯ และสิงคโปร์ 4.94  พันล้านเหรียญฯ คาดปี 2563 หลายประเทศมีแนมโน้มปรับตัวอย่างก้าวกระโดด อันดับมูลค่าอาจเปลี่ยนแปลง โดยปี 62 มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 4.02 ล้านล้านบาท หรือเติบโตขึ้นร้อยละ 6.91 มีมูลค่ารวมกว่า 3.76 ล้านล้านบาท ซึ่งเติบโตเพิ่มขึ้นจากปี 2560 ที่มีมูลค่า 2.76 ล้านล้านบาท ถึงร้อยละ 36.36 โดยรายได้ส่วนใหญ่มากจากการขายสินค้าและบริการทางออนไลน์ภายในประเทศถึงร้อยละ 91.29 ทั้งนี้ คาดว่าจะเติบโตอย่างก้าวกระโดดอีกครั้งในปี 2563 จากพฤติกรรม New Normal ที่คนไทยซื้อ-ขายของออนไลน์มากขึ้น ทั้งนี้มูลค่าอีคอมเมอร์ซจำแนกตามประเภทผู้ประกอบการ พบว่า ในปี 2561 ผู้ประกอบการ กลุ่ม B2B ยังคงครองแชมป์มูลค่าสูงสุดต่อเนื่อง 6 ปีซ้อน มีมูลค่าสูงถึง 1.80 ล้านล้านบาท รองลงมา คือ กลุ่มB2C 1.41 ล้านล้านบาท และกลุ่ม B2G 5.55 แสนล้านบาท โดยคาดการณ์ปี 2562 มูลค่าจะเพิ่มขึ้น โดยกลุ่ม B2G เพิ่มมากสุดถึงร้อยละ 11.53 เป็น 6.19 แสนล้านบาท ขณะที่ กลุ่ม B2B และ B2C เพิ่มร้อยละ 6.11 เป็น 1.91 ล้านล้านบาท และ 1.49 ล้านล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ ในปี 2563 มีหลายประเด็นน่าจับตา โดยเฉพาะการเติบโตของ กลุ่ม B2C ที่เป็นผลมาจากการปรับตัวของผู้บริโภครายย่อยช่วงกักตัวอยู่บ้านที่ทำให้การใช้จ่ายออนไลน์เพิ่มขึ้น ส่วน B2G อาจตกอันดับไม่เติบโตสูงสุดอีกต่อไป หากการเบิกจ่าย พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย ปี 2563 ล่าช้า การจัดซื้อจัดจ้างหยุดชะงักช่วงโควิด-19 สำหรับกลุ่มค้าปลีก–ค้าส่ง มูลค่านำอุตสาหกรรมอื่น โดยมีมูลค่าจำแนกตามประเภทอุตสาหกรรม พบว่า จากการคาดการณ์ปี 2562 อุตสาหกรรมที่มูลค่าสูงสุด ได้แก่ อุตสาหกรรมการค้าปลีกและการค้าส่ง มูลค่า 1.29 ล้านล้านบาท รองลงมา คืออุตสาหกรรมการให้บริการที่พัก 9.81 แสนล้านบาท และอุตสาหกรรมการผลิต 4.99 แสนล้านบาท อุตสาหกรรมข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร 4.34 แสนล้านบาท อุุตสาหกรรมการขนส่ง 1.55 แสนล้านบาท อุุตสาหกรรมการบริการอื่น ๆ 2.32 แสนล้านบาท อุตสาหกรรมศิลปะ ความบันเทิง และนันทนาการ 1.54 หมื่นล้านบาท และอุตสาหกรรมการประกันภัย 582 ล้านบาท ตามลำดับ โดยคาดปี 2563 อุตสาหกรรมค้าปลีกและค้าส่งจะมีมูลค่า e-Commerce พุ่งสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลจากยอดการเข้าถึงแพลตฟอร์มชอปปิงออนไลน์และภาพรวมคำสั่งซื้อในช่วงสถานการณ์การป้องกันการระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมา สวนทางกับมูลค่าของอุตสาหกรรมการให้บริการที่พักที่คาดว่าจะมีมูลค่าลดลง เพราะจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลง ส่งผลให้อัตราการเข้าพักลดลง และโรงแรมในประเทศต่างต้องปิดตัวชั่วคราวหลายแห่ง มูลค่าอีคอมเมิร์ซในอุตสาหกรรมค้าปลีกและค้าส่ง จำแนกตามประเภทสินค้าและบริการ (ไม่รวมการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ) พบว่า จากการคาดการณ์ปี 2562 ประเภทสินค้าและบริการ 5 อันดับแรกที่มีมูลค่าสูงสุด ได้แก่ ธุรกิจห้างสรรพสินค้า 9.39 แสนล้านบาท เพิ่มจาก 9.11 แสนล้านบาทในปี 2561 รองลงมา คือ เครื่องสำอางและอาหารเสริม 1.54 แสนล้านบาท เพิ่มจาก1.45 แสนล้านบาทในปี 2561 แฟชั่น เครื่องแต่งการและเครื่องประดับ 9.68 หมื่นล้านบาท ลดลงจาก 1.01 แสนล้านบาทเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน 3.57 หมื่นล้านบาท ลดลงจาก 3.30 หมื่นล้านบาท และอาหาร เครื่องดื่ม ผลิตผลทางการเกษตรและประมง 3.51 หมื่นล้านบาท เพิ่มจาก 3.37 หมื่นล้านบาท โดยปี 2563 จากสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 จนนำมาสู่มาตรการ Lockdown ปิดห้างสรรพสินค้า การปรับตัวเข้าสู่ออนไลน์จึงอาจเป็นคำตอบของทางรอด ที่จะทำให้มูลค่า e-Commerce ในธุรกิจห้างสรรพสินค้าเพิ่มสูงขึ้น เช่นเดียวกับธุรกิจฟู้ดดีลิเวอรี่ ที่คาดการณ์ว่าปี 2563 ตลาดจะโตอย่างน้อยร้อยละ 30 อุตสาหกรรมไหน น่าจับตา เมื่อพิจารณาจากอัตราการเติบโตมูลค่า อีคอมเมิร์ชตามกลุ่มอุตสาหกรรม พบว่า ช่วงปี 2561-2562 อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าอีคอมเมิร์ซเติบโตสูงสุด 3 อันดับแรก คือ อุตสาหกรรมการประกันภัย เติบโตถึงร้อยละ 33.62 รองลงมา คือ อุตสาหกรรมการขนส่งร้อยละ 31.30 และอุตสาหกรรมศิลปะ ความบันเทิงและนันทนาการร้อยละ 21.63 โดยประเภทสินค้าและบริการ ในกลุ่มอุตสาหกรรมศิลปะ ความบันเทิง และนันทนาการ ที่มีมูลค่าเติบโตจากปี 2561 มากที่สุด คือธุรกิจการศึกษา บริการที่เกี่ยวข้องแอปพลิเคชัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.56 รองลงมา คือ ธุรกิจเพลง โรงภาพยนต์และ e-Movie เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.55 และ ธุรกิจเกมออนไลน์ เพิ่มร้อยละ 2.52 ทั้งนี้ ยังคาดการณ์ว่า ในปี 2563 การเติบโตมูลค่าอีคอมเมิร์ซในอุตสาหกรรมศิลปะ ความบันเทิง และนันทนาการอาจแนวโน้มลดลง เนื่องจากการเข้ามาของ Media Streaming Platform ของต่างชาติที่เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับสัดส่วนมูลค่าของ Digital Media เช่น Facebook YouTube LINE และ TikTok ที่เติบโตขึ้น  นอกจากนี้ยังคาดว่าในปี 2563 คาดมีทิศทางมูลค่าที่เพิ่มสูงขึ้น มูลค่าอีคอมเมอร์ซจำแนกตามขนาดธุรกิจ คาดการณ์ปี 2562 ผู้ประกอบการ Enterprises จะมีมูลค่า 2.20 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2561 ถึงร้อยละ 8.94 และผู้ประกอบการ เอสเอ็มอีมีมูลค่า 1.19 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.27 โดยภาพรวมของเอสเอ็มอีในปี 2563 คาดว่า อาจมีทิศทางมูลค่าที่เพิ่มสูงขึ้นสะท้อนจากจำนวนผู้ประกอบการรายย่อยที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับตัวของร้านค้าและประชาชนที่เข้าสู่ตลาดออนไลน์มากขึ้น โดยข้อมูลจาก ลาซาด้าแพลตฟอร์ม พบ ช่วงเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการเพิ่มขึ้นกว่า 26,000 รายและยังเกิดช่องทาง Social Commerce ใหม่ ช่องทางการตลาด ยอดนิยมในธุรกิจ อีคอมเมิอร์ซโดยปี 2561 พบว่า ช่องทางการตลาดออนไลน์ที่ ผู้ประกอบการ เลือกใช้มากสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ LINE ร้อยละ 32.1 รองลงมา คือ Facebook Ads ร้อยละ  30.27  Instagram Ads 26.83 ช่องทางอื่น เช่น การจ้าง Influencer ให้รีวิวสินค้าผ่าน TikTok ร้อยละ 5 และ Google Ads ร้อยละ 2.8 ขณะที่ ช่องทางที่ผู้ประกอบการ Enterprises เลือกใช้มากที่สุด ได้แก่ Facebook ถือเป็นช่องทางการตลาดออนไลน์ที่มี Return Of Investment (ROI) ดี และสร้างยอดขายได้มากที่สุดร้อยละ 95 รองลงมา คือ Google Ads ร้อยละ  75  LINE ร้อยละ 60 Instagram Ads ร้อยละ 35 และ YouTube ร้อยละ 30 ตามลำดับ โดยคาดการณ์ปี 2563 ช่องทางการตลาดดิจิทัลใหม่มาแรงคงหนีไม่พ้น  TikTok  เพราะจากข้อมูลในไตรมาสแรกปี 2563 TikTok มีจำนวน users ในไทยมากกว่า 10 ล้าน users และได้รับการดาวน์โหลดแล้ว 315 ล้านครั้ง นับเป็นยอดการดาวน์โหลดสูงสุดเท่าที่เคยมีมา สำหรับช่องทางการชำระเงิน โดยปี 2561 พบว่า ช่องทางที่ผู้บริโภคใช้ชำระเงินให้กับผู้ประกอบการมากที่สุด คือ ช่องทางเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันธนาคาร  46.37 รองลงมา คือ บัตรเครดิต/บัตรเดบิตร้อยละ  24.46 และบัตรพรีเพด ร้อยละ 19.4 ส่วนช่องทางที่ผู้บริโภคใช้ชำระเงินให้กับผู้ประกอบการ Enterprises มากสุด คือ ผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันธนาคาร ร้อยละ38.14 รองลงมา คือ บัตรเครดิต/บัตรเดบิตร้อยละ 31.4 และการสั่งจ่ายด้วยเช็ค (Cheque) /ใบสั่งของ (Purchase Order) ร้อยละ 16.76 ส่วนในปี 2563 จากวิกฤตโควิด-19 อาจนำไปสู่สังคมไร้เงินสดและคาดว่าความคุ้นชินนี้จะกลายเป็น New Normal ช่องทางการขนส่ง ปี 2561 พบว่า ช่องทางที่ผู้ประกอบการกลุ่ม SMEs ใช้ส่งสินค้าและบริการมากสุด คือ บริษัทไปรษณีย์ไทย ร้อยละ 94.55 รองลงมา คือ บริษัทจัดส่งสินค้า เช่น DHL, Nim Express, FedEx, Kerry ร้อยละ 26.14 ส่วนผู้ประกอบการ Enterprises ช่องทางที่ใช้มากสุด คือ บริษัทจัดส่งสินค้า ร้อยละ 50 รองลงมา คือ บริษัทไปรษณีย์ไทยร้อยละ  46.1 สำหรับ Hot Issue ด้าน Digital Workforce ที่ธุรกิจ อีคอมเมิอร์ซต้องการมากที่สุดคือ สาย Programmer & Developer/IT Support ทั้งใน SMEs และ Enterprises สูงสุด ร้อยละ 20.5 และร้อยละ 23.08 ขณะที่สายงานด้าน Social Media Administration ก็ติด Top 3 ที่ผู้ประกอบการต้องการเช่นกัน ซึ่งทุกปี ไทยกลับมีเด็กจบใหม่เข้าสู่ตลาดแรงงาน ประมาณ 4-5 แสนคน โดยร้อยละ63 จบปริญญาตรีในสายสามัญ ขณะที่ตลาดต้องการแรงงาน Digital Workforce และหลังวิกฤต โควิด-19 คาดการณ์ Online จะเข้ามาขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไทย รวมถึงภาคการศึกษา ก็ต้องปรับ ขยับวิธีการเรียนการสอน (e-Learning) และมีหลักสูตรผลิตแรงงานรองรับเทรนด์ของธุรกิจดิจิทัล และ New Normal ของสังคมไทยที่เปลี่ยนแปลงไป-สำนักข่าวไทย.

อินเตอร์โพลชี้แก๊งอาชญากรได้ประโยชน์หลังจีนห้ามนำเข้าขยะพลาสติก

อินเตอร์โพลเผยว่า เครือข่ายอาชญากรรมได้ลักลอบนำเข้าขยะพลาสติกจากทวีปอเมริกาเหนือและยุโรปตะวันตกมายังโรงงานรีไซเคิลผิดกฎหมายในทวีปเอเชีย หลังจีนประกาศห้ามนำเข้าขยะในปี 2561

คาดแหล่งระบาดโควิด-19 ในออสเตรเลียจะมีผู้ป่วยไม่ถึง 100 คนต่อวันในสัปดาห์หน้า

รัฐวิกตอเรียของออสเตรเลีย ซึ่งเป็นศูนย์กลางการระบาดของโรคโควิด-19 แห่งล่าสุด ประกาศว่าในไม่ช้านี้ ทางรัฐจะมีผู้ติดเชื้อใหม่รายวันเป็นตัวเลขแค่สองหลัก

ไทยพบผู้ป่วยใหม่ 6 ราย ป่วยสะสม 3,410 ราย

สถานการณ์การติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศไทย พบผู้ป่วยรายใหม่ 6 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสมอยู่ที่ 3,410 ราย หายป่วยแล้ว 3,237 ราย เสียชีวิตสะสม 58 ราย

ทรัมป์รับการเสนอชื่อเป็นตัวแทนรีพับลิกันลงเลือกตั้งอย่างเป็นทางการแล้ว

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐกล่าวสุนทรพจน์รับการเสนอชื่อเป็นตัวแทนพรรครีพับลิกันลงเลือกตั้งประธานาธิบดีสมัยที่สองอย่างเป็นทางการแล้วในคืนสุดท้ายของการประชุมใหญ่พรรคเมื่อวันพฤหัสบดีตามเวลาสหรัฐ

รมว.ดีอีเอสกำชับเอ็ตด้า เป็นองค์กรกำกับ เร่งทำ มาตรฐานดิจิทัล

กรุงเทพฯ 28 ส.ค. รมว.ดีอีเอส กำชับเอ็ตด้าเป็นองค์กรกำกับดูแลเร่งทำกฎหมาย สร้างมาตรฐานดิจิทัลพร้อมสร้างแพลตฟอร์มกลางรับเรื่องร้องเรียนประชาชน นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมกล่าวปาฐกถาพิเศษหัวข้อ Future of Digital Economy and Society ว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยยังไม่มีหน่วยงานที่จะคอยบอกว่าเรื่องราวใด เทคโนโลยีใด อุปกรณ์ใด ดีหรือไม่ดี สำหรับประเทศไทยหน่วยงานที่จะบอกได้ดีคือสำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์หรือเอ็ตด้า สิ่งที่ควรทำในการพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์มี 2-3 เรื่อง คือ การดูแลแก้ไขกฎหมายให้ไปข้างหน้าทันกับความเปลี่ยนแปลง เอ็ตด้าคงเป็นผู้คาดการณ์และทำกฎหมายเพื่อรองรับเทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้น ถัดมาคือการทำมาตรฐานของเทคโนโลยีที่เหมาะสมในให้บริการในธุรกิจ เมื่อมีมาตรฐานแล้วสิ่งที่ต้องทำต่อคือการตรวจสอบให้ผู้พัฒนาหรือผู้ให้บริการเทคโนโลยีนั้นดำเนืนการตามมาตรฐาน บทบาทของเอ็ตด้าที่ไม่เคยทำมาก่อนคือการเป็นผู้กำกับดูแลการทำธุรกรรมให้เกิดประโยชน์กับทุกฝ่าย มาตรฐานทางดิจิทัลและอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความจำเป็นต้องทำและต้องเกิดขึ้น “สิ่งที่ผมอยากเห็นจากเอ็ตด้าคือ ทำให้เรามีไทยแลนด์ซิงเกิ้ลแพลตฟอร์ม (Thailand Single Platform )หรือ การมีแพลตฟอร์มเดียว แพลตฟอร์มของไทยที่ใช้ในการร้องเรียนร้องทุกข์เป็นการเอาระบบดิจิทัลมาใช้ในการรับเรื่องร้องเรียนช่วยแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน เมื่อแพลตฟอร์มรับเนื่องแล้วส่งต่อให้หน่วยงานที่กำกับดูแล เพื่อแก้ปัญหาให้กับประชาชน ” นายพุทธิพงษ์ กล่าว รัฐมนตรีดิจิทัลฯ กล่าวอีกว่า การยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่จะต้องเร่งดำเนินการเพื่อให้ประชานได้รับความสะดวกในการใช้บริการภาครัฐหรือการทำธุรกรรม ถ้าเรายังยืนยันตัวตนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลไม่ได้จะกลายเป็นอุปสรรคในการทำธุรกิจ นอกจากนี้จากผบกระทบของการระบาดของโรคโควิด-19 อยากให้เอ็ตด้าการช่วยคิดและทำสิ่งที่เป็นวิถีชีวิตใหม่ทางดิจิทัลสำหรับประชาชน (New Normal) อาจจะเป็นระบบหรือแพลตฟอร์มสำหรับการประชุมทางไกลที่มีความปลอดภัยน่าเชื่อถือ หรือระบบการสั่งอาหาร การเรียกรถสำหรับประชาชนก็ขอให้ช่วยกันคิดและพัฒนา  -สำนักข่าวไทย.

เอ็ตด้าตั้งเป้าพาคนไทยโกดิจิทัล

กรุงเทพฯ 28 ส.ค. เอ็ตด้าโชว์ผลงานปี 63 พร้อมเผยก้าวต่อไปตั้งเป้าภายในปี 65 พาคนไทย Go Digital with ETDA ครอบคลุมบริการดิจิทัลที่สำคัญทุกคนเชื่อมั่นและเข้าถึงได้ นายชัยชนะ มิตรพันธ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (เอ็ตด้า) กล่าวว่า เอ็ตด้ามีเป้าหมายสำคัญคือ“ Go Digital with ETDA” หรือการเป็นองค์กรขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์โดยสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างเท่าทันกับสถานการณ์โลกภายใต้บทบาทหน้าที่หลักคือการส่งเสริมให้เกิดการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์สร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วนผลักดันการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างบูรณาการและสุดท้ายคือการกำกับดูแลธุรกิจบริการดิจิทัลสร้างความน่าเชื่อถือรองรับการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลด้วยงานสำคัญทั้งการกำกับดูแลธุรกิจบริการด้านดิจิทัลพัฒนามาตรฐานและกฎหมายด้านดิจิทัลการพัฒนาระบบนิเวศดิจิทัลไอดีการป้องกันการหลอกลวงทางออนไลน์และการพัฒนาความพร้อมของคนดิจิทัล ทั้งนี้ในปี 2563 เอ็ตด้าได้ส่งมอบงานสำคัญผ่าน 5 โครงการ ได้แก่ 1. โครงการ Digital Governance เพื่อให้ทุกภาคส่วนใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างมั่นใจมีกลไกกำกับดูแลที่น่าเชื่อถือผ่านกฎหมายและมาตรฐานสำคัญ ๆ เช่นร่างพระราชกฤษฎีกา(พ.ร.ฎ. Digital ID) รองรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลส่งเสริมธุรกิจเกี่ยวกับดิจิทัลไอดีเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่เชื่อถือได้สะดวกรวดเร็วและร่าง พ.ร.ฎ. ว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจการให้บริการออกใบรับรองเพื่อสนับสนุนลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (CA) รวมทั้งการออกข้อเสนอแนะฯ มาตรฐานแนวทางการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Signature) เกิดการใช้งานอย่างแพร่หลายลดความเสี่ยงรวมถึงผลักดันเรื่องระบบการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือ e-Meeting ทั้งการออกกฎหมายและมาตรฐานในช่วงโควิด -19 ที่ผ่านมาซึ่งช่วยปลดล็อกกฎหมายที่มีอยู่เดิมและช่วยรับรองผู้ให้บริการระบบประชุมเพื่อให้ผู้ใช้เกิดความเชื่อมั่นในระบบที่ใช้งานด้วยพร้อมเปิด Digital Service Sandbox เพื่อทดสอบการใช้นวัตกรรมหรือบริการดิจิทัลใหม่ ๆ ให้สอดคล้องข้อกฎหมายหรือมาตรฐานต่าง ๆ ก่อนการใช้งานจริง 2. โครงการ Speed-up e-Licensing เร่งเครื่องระบบดิจิทัลในบริการภาครัฐเพื่อลดค่าใช้จ่ายและให้ภาคธุรกิจและประชาชนได้รับบริการที่รวดเร็วโดยการพัฒนาบริการของรัฐให้เป็นบริการดิจิทัลผ่านโครงสร้างข้อมูล (Schema) การออกใบอนุญาตหรือเอกสารหลักฐานของภาครัฐให้เป็นระบบดิจิทัลพร้อมสร้างความน่าเชื่อถือให้เกิดขึ้นกับบริการดิจิทัลของด้วยการตรวจประเมินรับรองระบบสารสนเทศและการใช้บริการ e-Timestamping ประทับรับรองเวลาของ e-Document 606 3. โครงการ Digital Transformation ให้ภาครัฐมีระบบดิจิทัลที่มั่นคงปลอดภัยห่างไกลภัยไซเบอร์ด้วยโครงการ Government Threat Monitoring System (TM) เฝ้าระวังภัยไซเบอร์ให้กับหน่วยงานรัฐพร้อมเตรียมพัฒนาแพลตฟอร์ม Threat Watch ยกระดับการเฝ้าระวังให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 4. โครงการ Thailand -Commerce Sustainability ลดเหลื่อมล้ำเพิ่มรายได้ด้วยอีคอมเมิร์ชอย่างยั่งยืนผ่านความร่วมมือกับเครือข่ายลงพื้นที่พัฒนาศักยภาพอีคอมเมิร์ซชุมชนทั่วประเทศรวมถึงการพัฒนาหลักสูตรด้านอีคอมเมิร์ซปูทางความพร้อมให้กับนักเรียน (ทสรข.) นักศึกษา (มศว, เอแบค ฯลฯ ) เพื่อป้อนตลาดแรงงานยุคดิจิทัลเปิดหลักสูตรออนไลน์เพื่อให้คนไทยเรียนรู้ได้ผ่านแพลตฟอร์มของเอ็ตด้าและสำนักงาน ก.พ. พร้อมผลักดันแผนธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อกำหนดทิศทางพัฒนาให้ทุกภาคส่วนตลอดจนเดินหน้าสำรวจการใช้อินเทอร์เน็ตของคนไทยมูลค่าอีคอมเมิร์ชประเทศไทยและสถิติต่าง ๆอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับไปวางแผนการตลาดและสร้างโอกาสในการทำธุรกิจบนโลกออนไลน์ได้ 5. โครงการStop e-Commerce Fraud ทั้งคุ้มครองผู้บริโภคออนไลน์เชิงรุกผ่านการนำเครื่องมือ Social Listening วิเคราะห์ข้อมูลในโลกออนไลน์เพื่อนำมาแจ้งเตือนภัยก่อนเกิดเหตุหรือลุกลามและการจัดอบรมและเสริมสร้างความสามารถด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องและประชาชนที่สนใจเพื่อให้ประเทศไทยมีกำลังคนด้านไซเบอร์เพิ่มขึ้น  นายชัยชนะกล่าวเพิ่มเติมว่า นโยบายและแผนการดำเนินงานก้าวต่อในปี 64 เอ็ตด้าจะเดินหน้าดำเนินงานผ่าน 3 โครงการที่จะยกระดับการขับเคลื่อนจากปี 63 ให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นดังนี้ 1. การนำการขับเคลื่อนธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วยการสร้างกลไกขับเคลื่อนธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของของประเทศผ่านแผนยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานด้านมาตรฐานพร้อมผลักดันแผนยุทธศาสตร์เกี่ยวกับธุรกรรมให้ทุกภาคส่วนนำไปกำหนดแนวทางการพัฒนาในทิศทางเดียวกันพร้อมจัดการสำรวจวิจัยที่ทำให้มองภาพอนาคต (Foresight) ชัดเจนขึ้นสู่การกำหนดนโยบายทิศทางการดำเนินธุรกิจและการทำการตลาดรวมถึงเสริมสร้างทักษะด้านอีคอมเมิร์ซเพื่อพัฒนากำลังคนตอบโจทย์ความต้องการของตลาดยุคดิจิทัลไปพร้อม ๆ กับการคุ้มครองผู้บริโภคที่ยกระดับการคุ้มครองโดยการสร้างระบบเชื่อมโยงข้อมูลกับเครือข่ายทำให้การคุ้มครองมีความรวดเร็วขึ้น 2. การเร่งเครื่องกลไกดูแลธุรกิจดิจิทัลด้วยการจัดทำหลักเกณฑ์กฎหมายมาตรฐานรวมถึงแนวปฏิบัติในการดูแลธุรกิจดิจิทัลและบริการที่สำคัญพร้อมสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนในการใช้บริการธุรกิจบริการด้านดิจิทัลที่เปิดให้บริการไปแล้วและกำลังจะเปิดให้บริการเช่นบริการด้าน e-Meeting บริการด้าน Digital ID ด้วยระบบการตรวจประเมินที่มีมาตรฐาน 3. การเสริมฐานรากแพลตฟอร์มดิจิทัลของรัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลอย่างเป็นรูปธรรมผู้ประกอบการและประชาชนได้รับบริการที่สะดวกรวดเร็วมั่นใจปลอดภัยด้วยการพัฒนาแบบจำลองมาตรฐานและแบบจำลองข้อมูล (Data Model) แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานสนับสนุนศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกลางภาครัฐจัดทำมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์Digital ID และ e-Signature สร้างความพร้อมความตระหนักแก่บุคลากรภาครัฐผ่านการอบรมพร้อมให้บริการเฝ้าระวังตอบสนองและจัดการภัยคุกคามไซเบอร์ให้กับโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลและบริการออนไลน์ของหน่วยงานภาครัฐ“ จากการดำเนินงานข้างต้น เอ็ตด้าตั้งเป้าไว้ว่าภายในปี 65 ประเทศจะต้องมีภูมิทัศน์ด้านบริการดิจิทัลที่ได้มาตรฐานหรือ Digital Services Landscape ที่ครบถ้วนเพื่อเป็นทิศทางการพัฒนาประเทศรวมถึงเกิดระบบนิเวศ Digital ID หรือ Digital ID Ecosystem สำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องเพื่อจะนำไปสู่การใช้งาน Digital ID ในวงกว้างและหน่วยงานรัฐจะต้องมีระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์หรือ e-Service และระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์หรือ e-office ภายใต้มาตรฐานกฎเกณฑ์และการขับเคลื่อนให้เกิดขึ้นจริงของเอ็ตด้าที่จะพาทุกภาคส่วน Go Digital ไปพร้อมกัน-สำนักข่าวไทย.

ผู้นำออสเตรเลียเปิดกว้างเรื่องส่งตัวมือปืนยิงมัสยิดในนิวซีแลนด์กลับประเทศ

นายกรัฐมนตรีสกอตต์ มอร์ริสันของออสเตรเลียกล่าวว่า ออสเตรเลียเปิดกว้างสำหรับความคิดที่นิวซีแลนด์จะส่งตัวมือปืนที่เกิดในออสเตรเลีย ซึ่งอยู่เบื้องหลังการสังหารหมู่ที่มัสยิด ในเมืองไครสต์เชิร์ชกลับออสเตรเลีย เพื่อรับโทษจำคุกตลอดชีวิต

1 321 322 323 324 325 440