“ไชยา” ลุยแก้ปัญหา“โครงการโคบาลชายแดนใต้”

ปัตตานี 29 ม.ค. – รมช. ไชยาลงพื้นที่จ. ปัตตานี ลุยแก้ปัญหา “โครงการโคบาลชายแดนใต้” พร้อมผลักดันให้เป็นพื้นที่ส่งออกสินค้าฮาลาล นายไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ติดตามโครงการ “โคบาลชายแดนใต้” จากกรณีเกษตรกร “ร้องส่งโคไม่ตรงปก” 2 จุด ได้แก่ กลุ่มผู้เลี้ยงโคตันหยงลุโละ หมู่ที่ 2 ตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี และเกษตรกรกลุ่มบ้านทุ่งใหญ่ หมู่ 1 ตำบลบ้านนอก อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี โดยมีผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นางพาตีเมาะ สะดียามู ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี และเจ้าหน้าที่หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง รอต้อนรับในพื้นที่ สำหรับวัตถุประสงค์ของโครงการโคบาลชายแดนใต้ เป็นโครงการระยะ 7 ปี (ปี 2565-2571) เพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้กับประชาชนในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนใต้  จากการสร้างแปลงอาหารสัตว์ สร้างโรงเรือน การจัดซื้อแม่โคพื้นเมือง และการจัดจ้างเจ้าหน้าที่ดูแลฟาร์ม เพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมส่งออกสินค้าฮาลาลที่มีศักยภาพไปยังตลาดโลกมุสลิม ตามนโยบายรัฐบาลที่ต้องการยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มขึ้น 3 เท่าในระยะ […]

“ธรรมนัส” สั่งลงดาบกลุ่มกินหัวคิว “โคบาลชายแดนใต้“

กรุงเทพฯ 26 ม.ค. – โฆษกกระทรวงเกษตรฯ เผย “รมว. ธรรมนัส“ สั่งลงดาบกลุ่มกินหัวคิว “โครงการโคบาลชายแดนใต้“ หากสอบพบข้าราชการทุจริตหรือผู้ประกอบการเอาเปรียบ จะดำเนินคดี ไม่มีละเว้น ด้าน “รมช. ไชยา“เร่งตรวจสอบและเยียวยาเกษตรกรผู้เลี้ยงโคที่เดือดร้อน นางสาวอัยรินทร์ พันธุ์ฤทธิ์ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ฝ่ายการเมือง) กล่าวถึงกรณี  “โครงการโคบาลชายแดนใต้” เรื่องการจัดหาแม่โคของกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดปัตตานี ไม่ตรงตามคุณลักษณะเฉพาะ (Specification) ของโครงการว่า ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างเร่งด่วน และมอบหมายให้นายไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่กำกับดูแลกรมปศุสัตว์เร่งหาข้อมูลเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย จากการตรวจสอบพบว่า กลุ่มเกษตรกรจังหวัดปัตตานีบางกลุ่มได้รับแม่โคพื้นเมืองที่มีลักษณะไม่ตรงตามเงื่อนไขของโครงการ แต่จังหวัดอื่นๆ ที่เข้าร่วมโครงการ ยังไม่พบปัญหานี้ สำหรับการดำเนินงาน “โครงการโคบาลชายแดนใต้” แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ปัจจุบันอยู่ในระยะนำร่อง เกษตรกร 60 กลุ่ม แม่โคพื้นเมือง 3,000 ตัว เงินกู้ยืม 93 ล้านบาท และเงินจ่ายขาด 1.20 […]

...