fbpx

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : การใช้เมลาโทนิน

19 พฤศจิกายน 2566 – เมลาโทนินคืออะไร ทำหน้าที่อย่างไร จำเป็นแค่ไหน และเราควรกินเมลาโทนินเสริมหรือไม่ ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พญ.ปุณฑริก ศรีสวาท ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สัมภาษณ์เมื่อ : 29 สิงหาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : รู้จักเมลาโทนิน

17 พฤศจิกายน 2566 – เมลาโทนินคืออะไร เป็นสารที่ร่างกายสร้างเองได้หรือไม่ หรือจำเป็นกับร่างกายมากแค่ไหน และเกี่ยวข้องกับการนอนหลับอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พญ.ปุณฑริก ศรีสวาท ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เมลาโทนินคืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับการนอนหลับ ? เมลาโทนิน คือ ฮอร์โมนที่ร่างกายสร้างขึ้น โดยจะหลั่งสารนี้ออกมาจากสมองในช่วงพระอาทิตย์ตก เมื่อตาไม่ได้รับแสง ก็เหมือนเป็นการบอกเวลาให้กับสมองและร่างกายของเราว่าถึงเวลาพักผ่อน เมลาโทนิน จะทำงานสัมพันธ์กับ “นาฬิกาชีวิต” ร่างกายของเราจะคอยบอกเวลาตื่นยามเช้า หลับในตอนกลางคืน สังเกตได้ว่าหากมีการทำกิจกรรมเหล่านี้สม่ำเสมอ เราจะรู้สึกง่วงเวลาเดิม ปกติในคนที่ไม่มีปัญหาการนอนหลับนั้น สารเมลาโทนินเริ่มหลั่งตั้งแต่ 2 ทุ่ม และมากที่สุดในช่วงเวลาประมาณ 4 ทุ่ม จากนั้นจะเริ่มลดลงเรื่อย ๆ ดังนั้นหากเราไม่หลับในช่วงดังกล่าว จะเริ่มนอนหลับยากขึ้น และเมื่อสายตาเราต้องเจอกับแสงสีฟ้าในเวลากลางคืน สมองจะหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนินออกมาได้ไม่เพียงพอ ทำให้นอนหลับยากและอาจถึงขั้น นอนไม่หลับ การใช้เมลาโทนิน เมลาโทนินบรรเทาปัญหาการนอนหลับได้หลายกลุ่มอาการก็จริง แต่ก็ไม่ควรซื้อเมลาโทนินมากินเอง ควรปรึกษาแพทย์และใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์จะดีกว่า สัมภาษณ์เมื่อ : 29 สิงหาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย […]

นอนไม่หลับปรึกษาแพทย์!!! อย.เตือน “เมลาโทนิน” ผิด กม.

อย.24ส.ค.-อย.แนะผู้มีปัญหานอนไม่หลับ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ย้ำยังไม่อนุญาตให้ “เมลาโทนิน”เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์อาหาร หลังพบการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ่านโซเชียลจำนวนมาก อ้างสรรพคุณมีส่วนช่วยในการนอนหลับ นพ.พูลลาภ ฉันทวิจิตรวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (รองเลขาธิการ อย.) เปิดเผยว่า ตามที่พบการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนผสมของเมลาโทนินผ่านทางโซเชียลมีเดียเป็นจำนวนมาก ซึ่งระบุสรรพคุณอ้างว่ามีส่วนช่วยในการนอนหลับนั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขอชี้แจงว่า ปัจจุบันยังไม่อนุญาตเมลาโทนินเป็นส่วนประกอบในอาหารหรือเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร เนื่องจากเป็นฮอร์โมนที่หากได้รับติดต่อกันในระยะยาวอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ ประกอบกับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของเมลาโทนินส่วนมากมีวัตถุประสงค์การจำหน่ายเพื่อช่วยในการนอนหลับ ซึ่งวัตถุประสงค์ดังกล่าวไม่จัดเป็น “อาหาร” ตามนิยามที่กำหนดใน พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 ปัจจุบันมีการขึ้นทะเบียนยาที่มีส่วนผสมของเมลาโทนินเป็นยาควบคุมพิเศษ อนุญาตให้ใช้เฉพาะในโรงพยาบาลหรือต้องควบคุมโดยการสั่งหรือภายใต้คำแนะนำของแพทย์เท่านั้น ทั้งนี้ เมลาโทนินเป็นฮอร์โมนที่ร่างกายสร้างขึ้นจากต่อมไพเนียลในสมอง ทำหน้าที่ควบคุมการหลับและการตื่นในรอบวัน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของช่วงฤดูกาล จึงนิยมนำมาใช้เพื่อรักษาความผิดปกติจากการนอนหลับ ขณะที่ข้อมูลงานวิจัยพบว่าผู้ที่มีอายุมากกว่า 55 ปี เมื่อใช้เมลาโทนินสามารถเพิ่มคุณภาพการนอนได้ แต่ในกลุ่มเด็กพบว่าการได้รับเมลาโทนินมีแนวโน้มให้เกิดความไม่ปลอดภัย เนื่องจากอาจกระทบกับฮอร์โมนอื่นๆ และอาจรบกวนพัฒนาการของร่างกายในช่วงที่เป็นวัยรุ่น นอกจากนี้เมลาโทนินอาจมีปฏิกิริยากับยาบางชนิด เช่นยาต้านการแข็งตัวของเลือด (anticoagulants) ยากันชัก (Anticonvulsants) ยารักษาโรค เบาหวาน เป็นต้น “ขอเตือนผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพ ควรพิจารณาถึงความปลอดภัยโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ผสมเมลาโทนิน ซึ่งมีงานวิจัยพบว่าหากบริโภคติดต่อกันระยะยาวอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น อาการง่วงนอนตอนกลางวัน ปวดหรือวิงเวียนศีรษะ มวนท้อง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : แสงสีฟ้าทำลายจอประสาทตาจริงหรือ?

ชัวร์ก่อนแชร์ : แสงสีฟ้าทำลายจอประสาทตาจริงหรือ?

เดี๋ยวนี้หลายคนไม่กล้ามองจอคอมพิวเตอร์และมือถือ เพราะกลัวแสงสีฟ้าทำลายดวงตา เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามใน ชัวร์ก่อนแชร์

...