ภาคการผลิตจีนลดลงมากที่สุดนับจากต้นปี 2563

ปักกิ่ง 31 ธ.ค.- ภาคการผลิตจีนในเดือนธันวาคมปีนี้หดตัวเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน และลดลงมากที่สุดนับจากต้นปี 2563 เพราะผลกระทบจากการที่มีผู้ติดโควิด-19 เพิ่มขึ้นมาก หลังจากทางการจีนผ่อนคลายมาตรการเข้มงวดอย่างกะทันหัน สำนักงานสถิติแห่งชาติเปิดเผยข้อมูลวันนี้ว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตในเดือนธันวาคมอยู่ที่ 47.0 ลดลงจาก 48.0 ในเดือนพฤศจิกายน และ 49.2 ในเดือนตุลาคม ถือว่าหดตัว 3 เดือนติดต่อกัน เนื่องจากดัชนีที่ต่ำกว่า 50.0 ถือว่าหดตัว และเป็นการหดตัวมากที่สุดนับจากเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ที่โควิดเริ่มต้นระบาด นอกจากนี้ดัชนีย่อยอื่น ๆ เช่น ดัชนีธุรกิจขนาดใหญ่ ดัชนีการผลิตและความต้องการในตลาดการผลิตก็ลดลงจากเดือนพฤศจิกายนเช่นเดียวกัน นักเศรษฐศาสตร์ของสำนักงานสถิติแห่งชาติจีนระบุว่า ผลการสำรวจบริษัทบางแห่งพบว่า กำลังคนด้านโลจิติกส์และขนส่งมีไม่เพียงพอ และระยะเวลาการขนส่งก็ล่าช้าออกไปเพราะคนทำงานติดโควิดเพิ่มขึ้น ส่วนดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อในภาคที่ไม่ใช่การผลิตในเดือนธันวาคมก็ลดลงเหลือ 41.6 จาก 46.7 ในเดือนพฤศจิกายน นักวิเคราะห์คาดว่า เศรษฐกิจจีนจะเติบโตไม่ถึงร้อยละ 5.5 ตามเป้าหมายที่จีนวางไว้ และได้ปรับลดประมาณการการเติบโตลงไปอยู่ที่ร้อยละ 3.-สำนักข่าวไทย

เศรษฐกิจญี่ปุ่นหดตัวครั้งแรกในปีนี้

โตเกียว 15 พ.ย.- เศรษฐกิจญี่ปุ่นไตรมาส 3 ของปีนี้หดตัวเป็นครั้งแรกของปี อันเป็นผลจากเศรษฐกิจโลกเสี่ยงถดถอย เงินเยนอ่อนค่า และสินค้านำเข้ามีราคาสูงขึ้นกระทบต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภคและกิจกรรมของภาคธุรกิจ ข้อมูลทางการญี่ปุ่นระบุว่า ไตรมาสเดือนกรกฎาคม-กันยายนปีนี้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพี (GDP) ลดลงร้อยละ 1.2 ต่อปี และลดลงร้อยละ 0.3 ต่อไตรมาส สวนทางกับที่นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.1 ต่อปี และขยายตัวร้อยละ 0.3 ต่อไตรมาส เศรษฐกิจญี่ปุ่นไตรมาส 3 หดตัวเป็นครั้งแรกของปีนี้ หลังจากขยายตัวมา 3 ไตรมาสติดต่อกัน นอกเหนือจากแรงกดดันเรื่องเศรษฐกิจโลกชะลอการเติบโตและเรื่องภาวะเงินเฟ้อสูงแล้ว ญี่ปุ่นยังเผชิญความท้าทายจากเงินเยนที่อ่อนค่าที่สุดในรอบ 32 ปีเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้นเพราะสินค้านำเข้าทุกอย่างตั้งแต่เชื้อเพลิงไปจนถึงอาหารมีราคาแพงขึ้น เดือนที่แล้วนายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะได้ประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 260,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 9.3 ล้านล้านบาท).-สำนักข่าวไทย

รัสเซียคาดเศรษฐกิจจะกลับมาโตเร็วกว่าที่คาด

รัสเซียคาดว่า เศรษฐกิจจะกลับมาขยายตัวต่อไตรมาสได้อย่างเร็วที่สุดภายในสิ้นปีนี้ และจะหดตัวต่อปีน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้

ประชากรฮ่องกงลดลงเป็นปีที่ 2 เพราะมาตรการคุมโควิด

รัฐบาลฮ่องกงกล่าวว่า ประชากรในฮ่องกงหดตัวลงเป็นปีที่ 2 เนื่องจากมาตการควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัสโรคโควิด-19 เป็นอุปสรรคต่อการเดินทางเข้ามาของแรงงานใหม่และอัตราการเกิดลดลง แต่รัฐบาลไม่ได้กล่าวถึงการที่ประชาชนพากันอพยพออกไปหลังจากมีการใช้กำลังกวาดล้างกลุ่มเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตย

เศรษฐกิจจีนหดตัวในไตรมาส 2 ระหว่างล็อกดาวน์คุมโควิด

เศรษฐกิจจีนเกิดการหดตัวในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสแรก หลังจากที่นครเซี่ยงไฮ้และเมืองอื่น ๆ ใช้มาตรการล็อกดาวน์เพื่อควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัสโรคโควิด-19 แต่รัฐบาลกล่าวว่า ขณะนี้จะเข้าสู่ช่วงการฟื้นตัวอย่างมีเสถียรภาพหลังจากธุรกิจเริ่มกลับมาเปิดตามปกติอีกครั้ง

โควิดฉุดส่งออกอาหารปี 63 หดตัวร้อยละ 4.1

3 องค์กรด้านอุตฯอาหารเผยปี 63 การส่งออกสินค้าอาหารของไทยมีมูลค่า 980,703 ล้านบาท หดตัวลงร้อยละ 4.1 จากผลกระทบโควิด-19 ค่าเงินแข็ง ขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ ย้ำปี 64 ปัจจัยเดิมเป็นตัวสำคัญแต่ยังเชื่อว่ามีโอกาสโตได้ร้อยละ 7.1 หรือมีมูลค่าส่งออก 1.05 ล้านล้านบาท

เศรษฐกิจสิงคโปร์ทรุดหนักที่สุดเพราะโควิด

เศรษฐกิจของสิงคโปร์ประสบภาวะถดถอยครั้งรุนแรงที่สุดเป็นประวัติการณ์ในปี 2020 เนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจการค้าและการท่องเที่ยวอย่างหนัก

ยอดขายรถยนต์อังกฤษหดตัวต่ำสุดรอบ 20 ปี

อังกฤษมียอดการจดทะเบียนรถยนต์ใหม่ในเดือนกันยายนที่ผ่านมาต่ำสุดในรอบกว่า 20 ปี เนื่องจากธุรกิจยานยนต์ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19

เศรษฐกิจมาเลเซียหดตัวมากที่สุดในรอบกว่า 20 ปี

ธนาคารกลางมาเลเซียเปิดเผยว่า เศรษฐกิจของมาเลเซียหดตัวมากที่สุดในรอบกว่า 20 ปี ในไตรมาสที่สอง หลังได้รับผลกระทบจากการล่มสลายของการค้าโลกและการควบคุมที่เข้มงวด

1 2 3 4
...