แพทย์แนะคัดกรองไตวาย ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น
กรุงเทพฯ15ก.ย.-ผู้เชี่ยวชาญโรคไต ชี้ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังเพิ่มขึ้นทุกปี ต้องคัดกรองให้พบตั้งแต่ระยะเริ่มแรกเพื่อรักษาและชะลอการเสื่อมของไตให้นานขึ้น พร้อมเผยกำลังพัฒนาชุดตรวจคัดกรอง หวังกระจายใช้ตาม รพ.สต.เพื่อให้ตรวจคัดกรองได้ครอบคลุมมากขึ้น รศ.นพ.ณัฐชัย ศรีสวัสดิ์ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านโรคไตในภาวะวิกฤติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันโรคไตวายเรื้อรังเป็นปัญหาของประเทศไทย โดยมีผู้ป่วยโรคนี้ประมาณ 8 ล้านคนและเพิ่มขึ้นทุกปี แม้รัฐบาลจะสนับสนุนค่าฟอกไตให้คนไทยทุกคน แต่ค่าใช้จ่ายก็เพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้นถ้าสามารถตรวจคัดกรองได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นก็จะช่วยลดผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ต้องฟอกไตในอนาคตได้ “ปกติโรคไตในระยะแรกๆ จะยังไม่ค่อยมีอาการ ไม่บวม ปัสสาวะปกติออกดี จะมีอาการก็ต่อเมื่อเป็นเยอะแล้ว เช่น ไตทำงานลดลงจนต่ำกว่า 30% จนกระทั่งไตทำงานน้อยลงจนต้องฟอกไต แต่หากตรวจคัดกรองได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นและเข้าสู่กระบวนการรักษาได้เร็ว มีโอกาสชะลอการเสื่อม ของไตได้ดีขึ้น” รศ.นพ.ณัฐชัย รศ.นพ.ณัฐชัย กล่าวต่อไปว่า ด้วยเหตุนี้ จึงได้ร่วมกับ นพ.ไตรรักษ์ พิสิษฐ์กุล หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาเชิงระบบ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ รศ.ดร.กิตตินันท์ โกมลภิส สถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนาชุดตรวจระดับโปรตีนในปัสสาวะหรืออาจจะเรียกว่าเป็นแถบตรวจคัดกรองโรคไตเรื้อรัง คล้ายๆ แถบตรวจการตั้งครรภ์ เน้นการออกแบบให้ใช้งานง่าย กระจายไปตามชุมชนหรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลได้ เพื่อให้การคัดกรองมีความครอบคลุมมากขึ้น เจอผู้ป่วยในระยะเริ่มต้นเร็วขึ้น รศ.นพ.ณัฐชัย กล่าวด้วยว่า การทำงานของแถบตรวจคัดกรองโรคไตเรื้อรังจะเคลือบด้วยแอนตี้บอดีที่มีความจำเพาะต่อไข่ขาวในปัสสาวะ […]