ลอยเถ้าถ่านนกหัสดีลิงค์แม่น้ำโขงหนองคายตามพินัยกรรมหลวงพ่อคูณ

มหาวิทยาลัยขอนแก่นและศิษยานุศิษย์นำเถ้าถ่านนกหัสดีลิงค์ 64 กล่อง ประกอบพิธีลอยแม่น้ำโขงหนองคายตามพินัยกรรมหลวงพ่อคูณ

นางสีดาในพิธีนกหัสดีลิงค์เคลื่อนทัพร่วมงานพระราชทานเพลิง “หลวงพ่อคูณ”

นางสีดาชาวอุบลฯ และเครือญาติทำพิธีบวงสรวงตามประเพณีโบราณก่อนเดินทางเข้าร่วมพิธีฆ่านกหัสดีลิงค์ในงานพิธีพระราชทานเพลิงศพ “หลวงพ่อคูณ” ที่จังหวัดขอนแก่น

นำประติมากรรมหลวงพ่อคูณประดิษฐานหน้านกหัสดีลิงค์เทินบุษบก

คณะศิลปกรรมศาสตร์ ม.ขอนแก่น เชิญรูปหล่อหลวงพ่อคูณ มาประดิษฐานหน้าตัวนกหัสดีลิงค์เทินบุษบก เพื่อให้ประชาชนได้กราบไหว้

เบิกเนตรนกหัสดีลิงค์ ในงานพระราชทานเพลิงศพ “หลวงพ่อคูณ”

เจ้าหน้าที่จากคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประกอบพิธีกรรมโบราณ เบิกเนตรนกหัสดีลิงค์ ในงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงพ่อคูณ

เร่งประกอบนกหัสดีลิงค์เทินบุษบก ในพิธีพระราชทานเพลิงศพหลวงพ่อคูณ

ทีมสรรพช่างเร่งจัดเตรียมสถานที่ก่อสร้างเมรุชั่วคราว ในพิธีพระราชทานเพลิงศพ หลวงพ่อคูน ปริสุทโธ พร้อมตกแต่งอาคาร 3 หลังที่อยู่โดยรอบเพื่อให้ทันกำหนดงานพิธีที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 21-30 ม.ค.นี้

สร้างเมรุปราสาทนกหัสดีลิงค์พระราชทานเพลิงศพ “หลวงปู่จันทร์ศรี”

อุดรธานี 27 มี.ค.- “หลวงปู่จันทร์ศรี” เกจิดังอุดรธานีละสังขารครบ 100 วันแล้ว ศิษยานุศิษย์เริ่มสร้างเมรุปราสาทนกหัสดีลิงค์เตรียมใช้ประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพ คาดแล้วเสร็จ 10 เม.ย.นี้ บรรยากาศที่วัดโพธิสมภรณ์ พระอารามหลวง  เทศบาลนครอุดรธานี คณะกรรมการและศิษยานุศิษย์เริ่มตระเตรียมสถานที่เพื่อประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพพระอุดมญาณโมลี (จันทร์ศรี จันททีโป) หรือหลวงปู่จันทร์ศรี อดีตเจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 9 และอดีตที่ปรึกษามหาเถรสมาคม ในเดือนพฤษภาคมนี้ หลังจากหลวงปู่จันทร์ศรีละสังขารและตั้งบำเพ็ญกุศลครบ 100 วัน โดยจะมีการสร้างเมรุชั่วคราวแบบ 3 ระดับ เป็นฐานเหล็กกว้าง 18 เมตร  ยาว 27 เมตร ปูด้วยแผ่นพื้นวีว่าบอร์ด มีบันไดทางขึ้นทั้ง 4 ด้าน   สำหรับตรงกลางของฐานเมรุจะประดิษฐาน “เมรุปราสาทนกหัสดีลิงค์” ตามดำริหลวงปู่จันทร์ศรี ซึ่งเป็นไม้สักจัดหาไว้ล่วงหน้าที่จะนำสรีระสังขารบรรจุไว้ภายใน ส่วนตัวนกหัสดีลิงค์จะหันหน้าไปทางพระอุโบสถ ด้านบนหลังนกจะเป็นที่ตั้งของ “โกศ” และมี “ปราสาท” ทำด้วยไม้เนื้อแข็งครอบไว้ องค์ปราสาทเป็นศิลปะทางเหนือ ส่วนปลายยอดเป็นศิลปะอีสาน ยอดปราสาทสูงที่สุดจากพื้น 14.04 เมตร […]

...